Scoop : ประวัติศาสตร์ การกินของมนุษย์ | Issue 163

Scoop : ประวัติศาสตร์ การกินของมนุษย์ | Issue 163

นักมนุษยวิทยาชื่อดัง Stephen Le ได้เล่าเรื่องของวิวัฒนาการ การกินของมนุษยชาติ เมื่อ 100 ล้านปีเอาไว้ว่า มนุษย์ถือกำเนิดมาจากป่าร้อนชื้นดำรงชีวิตอยู่บนต้นไม้และกินแมลงเป็นอาหาร จนกระทั่ง 60 ล้านปีที่แล้วเริ่มพ้นผ่านยุคน้ำแข็งพืชเริ่มทำการเจริญเติบโต มนุษย์เราจึงหันมากินพืชในช่วงเวลานี้ จากนั้น 3 ล้านปีก่อน มีปรากฏการณ์อุกกาบาตยักษ์ชนโลก (ทฤษฏีที่ยอมรับกันทั่ว) เป็นผลให้แกนโลกเอียงเล็กน้อยเมื่อหมุนรอบดวงอาทิตย์กลายเป็นจุดเริ่มต้นของฤดูกาลนั่นเอง

2 ล้านปีก่อน มนุษย์ลงมาจากต้นไม้ เปลี่ยนวิถีการกิน ออกมาใช้ชีวิตบนพื้นทุ่งโล่งกินพืชและล่าสัตว์ ด้วยวิวัฒนาการของร่างกายมนุษย์ จากการกินเนื้อสัตว์ทำให้สมองมีขนาดใหญ่ขึ้นโดยโตเป็น 2 เท่าภายในช่วงเวลา 1 ล้านปี ตรงนี้เองทำให้มนุษย์เริ่มมีความฉลาดมากขึ้น แต่เมื่อสมองใหญ่ก็ต้องการใช้พลังงานมากขึ้น เพราะสมองต้องใช้พลังงานมากถึง 20% ของร่างกาย

ถัดมาเมื่อราว 10,000 ปี มนุษย์เริ่มมีพัฒนาการเริ่มรู้จักทำการเกษตรและเลี้ยงสัตว์ ในยุคนี้มนุษย์สามารถเลี้ยงสัตว์ อย่างวัว แพะ หรือแกะ เพื่อนำนมวัวมาดื่มแทนนมแม่อีกด้วย 

แต่สิ่งที่ทำให้วิถีชีวิตมนุษย์เปลี่ยนไป คือระบบทุนนิยมที่มีการปฏิวัติในยุคอุตสาหกรรมประมาณ 200 กว่าปี จุดนี้ทำให้การผลิตอาหารมีมากเกินความจำเป็น อาหารมีสารเคมีปนเปื้อนและทำลายสุขภาพออกมากมาย จากที่สมัยก่อนแต่ละประเทศ มีการกินแบบท้องถิ่นที่ต่างกันไป จึงไม่ค่อยพบกับปัญหาอาหารมีโทษต่อร่างกาย แต่เมื่อวัฒนธรรมการกินอาหารแบบชาวตะวันตกเข้ามาทุกอย่างจึงเปลี่ยนไป เพราะอาหารของชาวตะวันตกมักมีคาโบไฮเดรต และน้ำตาลเป็นหลัก เราจึงพบผู้ป่วยมีอาการความดัน เบาหวาน โรคหัวใจ โรคไต ฯลฯ ได้มากขึ้น

ปัจจุบันอาหารของแต่ละประเทศจึงเหมือนกันหมดคือมีคาโบไฮเดรต และน้ำตาลสูงเกินกว่ามาตรฐาน มีสารเคมีปนเปื้อนมากมาย เมื่อกินไปหลายปีจึงค่อย ๆ เกิดผลเสียต่อร่างกาย คนส่วนหนึ่งจึงคิดค้นหาวิธีที่จะเอาชนะอาหารขยะ มีการคิดค้นวิจัยทฤษฎีการกินการอยู่แบบใหม่ ๆ เพื่อให้รู้ว่าอะไรบ้างที่เป็น
ผลเสีบต่อมนุษย์

อย่างในปี ในช่วงปี 1980 มีโครงการชื่อว่า China Study เป็นการศึกษาของรัฐบาลจีนร่วมมือกับนักวิจัยจาก Cornell University และ University of Oxford เพื่อทำวิจัยเกี่ยวกับสุขภาพ ซึ่งงานวิจัยได้พูดถึงความเชื่องโยงระหว่างการกินโปรตีนจากเนื้อสัตว์กับโรคมะเร็ง การกินอาหารที่มีโปรตีนต่ำ จะทำให้การทำงานของเอนไซม์ในร่างกายต่ำด้วย การโปรตีนต่ำ โอกาสที่เซลล์ในร่างกายจะเปลี่ยนไปเป็นเซลล์มะเร็งก็จะน้อยลง แต่บางทฤษฎีก็บอกว่าการที่กินโปรตีนจำพวกเนื้อสัตว์ ไม่ได้ทำให้เกิดมะเร็งถ้ากินอย่างถูกวิธี

ร่างกายของมนุษย์ของเราขณะนี้ยังไม่สามารถศึกษาได้อย่างตายตัว ว่าเมื่อทำสิ่งนี้แล้วจะถูกต้องที่สุด สิ่งที่คนส่วนใหญ่ทำตามกันมาอาจไม่ได้บอกได้ว่าถูกต้อง หรือสิ่งที่คนส่วนน้อยทำก็ไม่ใช่ว่าจะผิดทั้งหมด มีเพียงแนวทางที่นำไปสู่ความเหมาะสมของแต่ละบุคคลว่าจะเลือกกินวิธีใดให้สุขภาพแข็งแรงมากกว่า

ปัจจุบันเป็นยุคที่ข้อมูลด้านสุขภาพล้นเอ่อ มีกูรู นักวิชาและโค้ช ด้านสุขภาพออกมาให้ความรู้มากมาย บางคนยึดหลักแนวทางการกินพืชผักอย่างเดียว หรือบางกลุ่มกินโปรตีนเป็นหลัก ซึ่งอาจไม่มีอาหารที่ดีที่สุดสำคัญทุกคน แต่เราเลือกที่จะปรับสมดุลให้ร่างกายของตัวเองได้ด้วยวิธีที่ร่างกายต้องการ ซึ่งต้องทดลองด้วยตัวเอง จึงนำไปสู่การมีสุขภาพดีได้นั่นเอง


อ่าน Scoop : Healthy Eating เพิ่มเติม 

- Healthy Eating สุขภาพดีอยู่ที่การกิน

- หลากเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ อาหารเพื่อ สุขภาพ

- Vegetarian กินมังกันไหม

- เมนูชีวจิตยอดฮิต ที่สามารถทำตามได้ง่าย ๆ

- บทสัมภาษณ์ อาจารย์ ปริวรรต องค์ศุลี วิถีอยู่เกินร้อย

Scoop : ประวัติศาสตร์ การกินของมนุษย์ | Issue 163