RUN2GETHER - ฉัตรชัย อภิบาลพูนผล

RUN2GETHER - ฉัตรชัย อภิบาลพูนผล

วิ่งด้วยกัน

ผู้พิการในสังคมมักถูกจำกัดและลดทอน “โอกาส” แถมยังถูกมองว่าด้อยค่าน่าสงสาร แท้ที่จริงเขาเหล่านั้นก็เป็นเหมือนคนปกติทั่วไปที่เป็นส่วนประกอบของสังคม โครงการ “วิ่งด้วยกัน” จึงเป็น “โอกาส” ที่คนในสังคมได้หยิบยื่นให้เขาเหล่านั้น ได้ออกมาใช้ชีวิตอย่างปรกติเหมือนคนทั่วไปในสังคม โดยไม่ถูกแบ่งแยกและมองว่าต่างไปจากคนในสังคม

“เราทำงานด้านคนพิการครับ สิ่งที่เราต้องการคือ การสร้างสังคมที่ทุกคนสามารถอยู่ร่วมกันได้ การทำงานของเราตอนนี้ แบ่งออกเป็น 3 ด้าน ทั้งเรื่องการศึกษา การสร้างอาชีพ และการสร้างความตระหนักกับผู้พิการในสังคม เมื่อ 4 ปีที่แล้วเราทำเกี่ยวกับเรื่องสื่อการศึกษาอย่างเดียว ตอนนั้นทำชุดวาดเขียนเล่นเส้น เป็นชุดวาดเขียนสำหรับเด็กผู้พิการทางสายตา เลยเป็นที่มาของคำว่า“กล่องดินสอ” การที่เด็กได้วาดรูปมันก็โอเคนะ แต่ว่าคุณภาพชีวิตเขาไม่ได้ดีขึ้นเท่าไหร่ เราก็เลยรู้สึกว่าต้องช่วยเหลือในด้านอื่นด้วย เพื่อที่จะให้เขามีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

“โปรเจค วิ่งด้วยกัน เป็นโปรเจคที่ชวนคนพิการมาวิ่งด้วยกัน เริ่มมา 3-4 ปีแล้ว ครั้งแรกเราก็เชิญผู้พิการทางสายตามาร่วมโปรเจ็กต์นี้ด้วย ต่อเนื่องมาจากเราได้ทำเรื่องชุดวาดเขียนเล่นเส้น ทำให้เราได้เจอผู้พิการทางด้านสายตาเยอะ เราก็เลยรู้สึกว่าสุขภาพของเขาไม่ค่อยแข็งแรงเท่าไหร่ ลำพังว่าการเดินเหินของเขามันก็ลำบากแล้ว จะให้เขาออกกำลังกายมันก็อันตรายทั้งยังลำบากมากครับ ก็เลยนึกถึงการวิ่งเพราะว่าการวิ่งมันไม่ต้องใช้อุปกรณ์อะไรเยอะ

“แต่ผู้พิการทางสายตาเขาไม่สามารถวิ่งได้คนเดียว ก็เลยเกิดเป็นโปรเจ็กต์ วิ่งด้วยกัน เราก็จะมีอาสาสมัคร (Guide Runner) กับผู้พิการทางสายตาวิ่งไปพร้อม ๆ กัน นอกจากจะได้ออกกำลังกายแล้ว ยังทำให้เขาได้มีโอกาสในการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน และยังเข้าใจถึงความเป็นเพื่อน รวมถึงการอยู่ร่วมกัน เรามองว่าโปรเจ็กต์นี้เป็นสิ่งที่ดี ที่ทำให้สังคมมีความเข้าใจและเท่าเทียมกันมากขึ้น

“โปรเจ็กต์นี้จัดขึ้นในทุก ๆ เดือน แต่ละปีจะมีงานใหญ่อยู่ 1 ครั้ง ตอนนี้ก็มีขยายออกไปในต่างจังหวัด ทั้งเชียงใหม่ อุดรธานี ชลบุรี สุราษฎรธานี งานวิ่งที่จัดขึ้นในแต่ละเดือนจะไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ แต่ถ้าเป็นงานใหญ่ในแต่ละปีก็จะมีค่าใช้จ่ายในส่วนของ Guide Runner ค่าสมัคร 300 บาท ส่วนผู้พิการทางสายตาสามารถจ่ายเท่าไหร่ก็ได้ โดยมีข้อแม้ว่าไม่เกินเกิน 300 บาท ถ้าอยากจะจ่าย 20 บาท ก็สามารถจ่ายได้ แต่ก็มีผู้พิการบางท่านยินดีจ่ายเต็มราคา

“ผมเคยไปจัด Workshop ที่เกาหลีเมื่อปีที่แล้ว จึงได้นำเสนอโปรเจ็กต์ วิ่งด้วยกัน หลายประเทศจึงสนใจ เราก็ให้วิธีการ Know How กับเขาไป เรียกได้ว่าเป็นงานใหญ่ระดับประเทศของเขาครับ นั่นจึงเป็นสาเหตุที่เราสามารถขยาย Model ไปต่างประเทศได้

“ณ ปัจจุบันนี้ มีผู้พิการทางด้านอื่นๆเข้ามาร่วมโครงการนี้เยอะ ตอนนี้ก็มีขยายโมเดลนี้ไปต่างประเทศด้วยอย่างเช่น บัลแกเรีย ในวันที่ 19 พฤษภาคมนี้ก็จะจัดงาน วิ่งด้วยกัน อีกอย่างก็น่าจะมีจัดที่อัมสเตอร์ดัมรวมถึงนิวยอร์กด้วย การขยายไปในต่างประเทศก็คิดว่าเป็นเรื่องที่ดี เพราะจะมีการเชื่อมโยงกันในโครงการให้เป็นเครือข่ายโครงการเดียวกัน แน่นอนว่าเราก็จะนำผู้พิการของเราไปร่วมงานที่นั่นด้วย

“งานวิ่งด้วยกันที่เราจัดมา 3-4 ปีนี้ ผลตอบรับดีนะครับ เป็นกลุ่มที่ผู้พิการมาร่วมงานกลุ่มใหญ่ที่สุด ถ้าเป็นงานวิ่งด้วยกัน ที่จัดใหญ่เมื่อปีที่แล้ว เรามีผู้พิการ 500 กว่าคน เข้าร่วมงาน เฉพาะในกรุงเทพฯนะครับ ถ้าเป็นต่างจังหวัดก็ประมาณ 200 คน

“ความยากก็คือการทำให้สังคมเข้าใจว่าการที่คนพิการเขามาทำกิจกรรมนี้เป็นเรื่องปกตินะ อย่างเวลาเราทำกิจกรรมเราก็จะมีอาสาสมัครเข้ามาร่วมกิจกรรมเยอะแต่เขาก็มักจะคิดว่าเขามาทำบุญ มาช่วยคนพิการทำกิจกรรม เราก็จะสื่อสารกับอาสาสมัครเหล่านั้นว่าไม่ใช่การมาทำบุญนะ แต่เป็นการพาเพื่อนมาทำกิจกรรม การมองว่ามาทำบุญกับการมองว่ามาเป็นเพื่อน ความคิดมันต่างกัน

“ปัญหาคือระบบสาธารณูปโภคของบ้านเรายังไม่รองรับคนพิการมากเท่าไหร่ ดังนั้นเวลาเราจัดกิจกรรมในแต่ละครั้งเราก็จะคำนึงถึงว่าผู้พิการเขาสามารถเดินทางมาได้ไหมอย่างวิลล์แชร์ก็จะมีปัญหาในด้านของการเดินทางเยอะ บางสถานีรถไฟฟ้ามีลิฟท์ แต่บางครั้งก็ใช้งานไม่ได้ ฉะนั้นเราจึงเลือกสวนลุมในการจัดงานเพราะเดินทางมาง่าย มีทั้งรถไฟฟ้าใต้ดินและรถไฟฟ้า BTS รองรับ

“เราคิดเสมอว่าปัญหาของผู้พิการไม่ได้อยู่ที่ผู้พิการ ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวยต่อคนพิการต่างหาก ดังนั้น ถ้าเราสามารถที่จะปรับสภาพแวดล้อมให้เข้ากับคนพิการได ้ คนพิการก็จะไมมี่อยูจ่ ริง หนา้ ที่ของเราก็คือออกแบบอุปกรณ ์ กิจกรรม Know How ที่สามารถทำให้คนพิการอยู่ร่วมกับเราได้เหมือนเป็นส่วนหนึ่งของสังคม”

More Information
• ตอนนี้เขาได้พัฒนาแอพพลิเคชั่น Pannana เป็นแอพพลิเคชั่นเล่นเสียงบรรยายภาพสำหรับผูพิ้การทางสายตา
• เขากำลังดีไซน์โปรเจ็กต์ “เล่นเส้น” เวอร์ชั่นใหม่ซึ่งสามารถใช้งานได้ง่ายกว่าเดิม
• และยังมีโครงการอื่น ๆ อาทิ โครงการดูหนังด้วยกัน, โครงการสอนผู้พิการทางสายตาทำอาหาร, โครงการสอนการแสดงคนพิการ ฯลฯ

TEXT : Phattaranit Suphason
PHOTO : Nutchanun Chotiphan

people