ซุนยัตเซน
ครั้งเมื่อ ดร.ซุนยัตเซน อายุ 34 ปี (ค.ศ.1900) จีนอยู่ในยุคราชวงศ์ชิงอำนาจกษัตริย์ยังครองเมือง ยังมีการซื้อขายทาส ในช่วงนั้นซุนยัตเซนมาเคลื่อนไหวปฏิวัติโค่นล้มราชวงศ์ชิงในหลายประเทศในภูมิภาคเอเซียอาคเนย์โดยเฉพาะที่ประเทศไทย ดร.ซุนยัตเซนเคยมายืนกล่าวปาฐกถาที่ย่านเยาวราช สำเพ็ง มีซุ้มป้าย “ซอยปาฐกถา” ซึ่งสร้างขึ้นในยุคปัจจุบันตั้งเป็นอนุสรณ์
ที่เมืองปีนัง ประเทศมาเลเซีย มีบ้านพักที่ซุนยัตเซนเคยพำนักอาศัยเก็บรักษาไว้อย่างสมบูรณ์ทำเป็นพิพิธภัณฑ์อย่างเป็นทางการ
ซุนยัตเซนเกิดปี ค.ศ.1866 เรียนหนังสือในโรงเรียนบ้านแบบสมัยเก่าในปี ค.ศ.1875 ต่อมาปี 1879 เดินทางไปเรียนหนังสือที่ฮอนโนลูลู ปี 1886 เข้าศึกษาการแพทย์แผนตะวันตกที่โรงพยาบาลป๋อจี้อีย่วนเมืองกว่างโจว 廣鹵꺽濟醫牘 ปี 1887 ย้ายมาเรียนที่วิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันตกฮ่องกง 窮멍鮫醫書牘 ในปี 1890 เขียนจดหมายถึงเจิ้งจ่าวหรู 鄭荳흔 เสนอแนวความคิดปฏิรูปหมู่บ้าน
จุดที่เกี่ยวกับการเมืองเริ่มต้น ในปี 1890 ซุนยัตเซน หรือซุนเหวิน 孫匡 ร่วมกับ หยางเฮ่อหลิง 楊鶴齡, เฉินส้าวไป๋ 陳겜, วางเลี่ย 四죗 ชูความคิดปฏิวัติ ทั้ง 4 รวมตัวกันเป็น 4 จอมโจร 愷댕외 จะเห็นได้ชัดเจนว่าปี 1890 ซุนยัตเซนก็มีแนวความคิดปฏิวัติสังคมและลงมือกระทำการแล้ว การเขียนจดหมายแสดงความคิดเห็นด้านการเมืองในยุคกษัตริย์เสี่ยงที่จะถูกตั้งข้อหาขบถและไม่ภักดีต่อราชสำนักได้ง่ายมาก
ในปี 1890 ซุนยัตเซนอายุ 24 ปี ได้รับการศึกษาแบบใหม่มาพอสมควร น่าจะมีความรู้ภาษาอังกฤษระดับใช้การได้ดีแล้ว (เขาไปเรียนหนังสือที่ฮอนโนลูลูปี 1879 ซึ่งต้องใช้ภาษาอังกฤษในห้องเรียน)
ในปี 1892 สำเร็จการศึกษาการแพทย์แผนตะวันตกจากวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันตกฮ่องกง ทำงานเป็นแพทย์ที่มาเก๊า, กว่างโจว จากนั้นในปี 1895 การลุกขึ้นก่อการที่กว่างโจว 廣鹵폅義 ความลับรั่วไหล ต้องหลบหนีผ่านมาเก๊า 걜門 ฮ่องกง 窮멍 ปลายทางคือญี่ปุ่น
ต่อมาในปี 1896 หลังจากถูกลวงไปขังในที่ทำการทางการฑูตราชวงศ์ชิงในประเทศอังกฤษ ได้รับการช่วยเหลือจากการเคลื่อนไหวของ James Cantlie อาจารย์ของเขาจนถูกกระแสสังคมโลกกดดันให้ปล่อยตัวออกมาจากนั้นใช้ชีวิตอยู่ที่ลอนดอนต่อ เพื่อศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับการเมืองของประเทศตะวันตก
ตั้งแต่ช่วงปี 1900 ดร.ซุนยัตเซนและชาวคณะของเขาลุกขึ้นก่อการปฏิวัติด้วยกำลังอาวุธหลายครั้ง แต่ประสบกับความล้มเหลว ดร.ซุนยัตเซนกลายเป็นศัตรูที่ราชสำนักชิงต้องการเอาตัวไปลงโทษ และพลพรรคนักปฏิวัติของซุนยัตเซนต่างก็มีชีวิตเสี่ยงอันตรายอย่างยิ่งตั้งแต่ราวปี ค.ศ.1890
พระราชบัญญัติเลิกทาสของไทย ประกาศใช้เมื่อวันที่ 1 เมษายน ร.ศ.124 ตรงกับ พ.ศ.2448 ตรงกับ ค.ศ.1905 ดังนั้น วันเวลาที่ดร.ซุนยัตเซนยืนกล่าวปาฐกถาโฆษณาความคิดให้สนับสนุนการปฏิวัติโค่นล้มราชวงศ์ชิงเพื่อสถาปนาประเทศสาธารณะขึ้นในประเทศจีนที่ตรอกปาฐกถา ย่านเยาวราชในปี 1900 จึงยังอยู่ในสมัยรัชการที่ 5 ก่อนการประกาศพรบ.เลิกทาส
น่าสนใจว่าช่วงก่อนปี 1903 ในสยามมีโรงเรียนจีนและการพิมพ์สิ่งพิมพ์ภาษาจีนมากน้อยเพียงใด มีข้อมูลระบุว่า ค.ศ.1903 มีหนังสือพิมพ์ “ฮั่นจิ้งเญ่อป้าว” เริ่มตีพิมพ์เผยแพร่ในสยาม
ค.ศ.1907 มีหนังสือพิมพ์ภาษาจีน “ฉี่หนานเญ่อป้าว” 啓켓휑報 นสพ.ฮว๋า เสียนเญ่อป้าวฎ華馭휑報, ในปี ค.ศ.1909 สนพ. ถงเฉียวป้าว 谿僑곽 ก็ก่อตั้งขึ้นตามมา
โรงพิมพ์ของหมอสมิท และหมอบลัดเลย์พิมพ์หนังสือภาษาไทยจำหน่ายในสยามในช่วงเวลาคาบเกี่ยวนั้นด้วย “หนังสือน่าวัดเกาะ” มีหนังสือ “สุภาษิตจีน” และ “สูตรลูกคิดจีน” พิมพ์จำหน่ายด้วย หนังสือวัดเกาะนี้ ทำให้มีหลักฐานยืนยันชี้ชัดว่าปี พ.ศ.242 (ค.ศ.1879) มีการพิมพ์หนังสือจำหน่ายในสยามในฐานะสินค้าแล้ว
รศ.119 (พ.ศ.2443/ค.ศ.1900) โรงพิมพ์ศิริเจริญ ตำบลสะพานหัน ได้พิมพ์ข้อความบนปกหน้าหนังสือจำปาทอง เล่ม 24 เป็นร่องรอยบันทึกหลักฐานเวลา (โรงพิมพ์ศิริเจริญ ตำบลสะพานหัน รัตนโกสินทร์ศก 119) จากข้อมูลเหล่านี้ จะพบว่าช่วงเวลาที่ ดร.ซุนยัตเซน มาเคลื่อนไหวความคิดปฏิวัติในย่านเอเซียอาคเนย์นั้น สยามได้ก้าวสู่สังคมการอ่านเขียนระดับหนึ่งแล้ว ภาษาที่พิมพ์ในสิ่งพิมพ์ในแผ่นดินสยาม มีทั้งภาษาไทย/จีน/อังกฤษ สิ่งพิมพ์ทุกภาษามีความมุ่งหมายทั้งเชิงธุรกิจและเชิงเผยแพร่ความคิด
ดร.ซุนยัตเซน มาเคลื่อนไหวความคิด ปฏิวัติโค่นล้มราชวงศ์ชิงที่สยาม คลื่นความคิดปฏิวัตินี้ย่อมแพร่ออกไปในกลุ่มชาวจีนในสยามอย่างแน่นอน และน่าสนใจว่าแนวความคิดปฏิวัติของดร.ซุนยัตเซน ได้แผ่ออกมาสู่ชาวสยามที่มิได้เป็นจีนสยามมากน้อยเพียงใด
จีนอพยพมีทุกประเทศในเอเซียอาคเนย์ หนังสือพิมพ์ภาษาจีนมีในทุกประเทศที่มีจีนอพยพ น่าสนใจว่าหนังสือพิมพ์เหล่านี้จะรายงานข่าวการเคลื่อนไหวปฏิวัติของ ดร.ซุนยัตเซนอย่างไรบ้าง และเนื่องจากการลุงทุนในกิจการหนังสือพิมพ์นั้นใช้เงินก้อนใหญ่ ดังนั้นหนังสือพิมพ์จีนในประเทศต่าง ๆ บางเล่มจึงน่าจะมีผู้ร่วมทุนเป็นเครือข่ายหนังสือพิมพ์ภาษาจีนอยู่ที่สิงคโปร์ด้วย และเรื่องราวที่เกิดขึ้นในสยามจึงย่อมต้องถูกส่งไปยังเครือข่ายหนังสือพิมพ์ที่เป็นของกลุ่มทุนเดียวกันนอกสยามด้วย
ดร.ซุนยัตเซน ปฏิวัติโค่นราชวงศ์ชิงลงได้ในวันที่ 1 เมษายน ค.ศ.1911 สยามในยุคปี พ.ศ.2454 ยังเป็นยุคสมัยราชานิยม ก่อนการอภิวัฒน์ 2475 (ค.ศ.1932) เรายังไม่มีการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับตัวดร.ซุนยัตเซนในสยามอย่างจริงจังเลย