ทิศทางเศรษฐกิจ AEC

ทิศทางเศรษฐกิจ AEC

บรูไนซึ่งมีขนาดเศรษฐกิจ 371,000 ล้านบาทใหญ่เป็นอันดับที่ 134 ของโลก ในปี 2559 ที่ผ่านไปเศรษฐกิจกลับมาเติบโตได้ 1 เปอร์เซ็นต์ หลังจากที่ในช่วง 2554 ถึง 2558 เศรษฐกิจหดตัวเฉลี่ยปีละ 0.2 เปอร์เซ็นต์ ส่วนปีนี้คาดว่าจะโตต่อเนื่องอีกราว 2.5 เปอร์เซ็นต์ ค่าเฉลี่ยการเจริญเติบโตในช่วงปี 2559 ถึง 2563 ของบรูไนคาดว่าจะอยู่ที่ 1.8 เปอร์เซ็นต์ 

ส่วนสิงคโปร์ที่ในช่วงปี 2554 ถึง 2558 เติบโตเฉลี่ย3.5 เปอร์เซ็นต์ซึ่งต้องถือว่าดีสำหรับประเทศพัฒนาแล้วเช่นสิงคโปร์ แต่ในปีที่แล้วกลับทำได้ไม่ค่อยดีนักคือเติบโตได้แค่1.8 เปอร์เซ็นต์ ส่วนปีนี้น่าจะโตได้ราว 2.0 เปอร์เซ็นต์ ส่วนค่าเฉลี่ย การเติบโตในช่วงปี 2559 ถึง 2563 คาดว่าจะอยู่ที่ 2.6 เปอร์เซ็นต์ต่ำกว่ามาตรฐานที่เคยทำเอาไว้ในอดีต

อินโดนีเซียประเทศที่มีคนมากถึง 263 ล้านคนเศษเยอะที่สุดใน AEC และมากเป็นอันดับ 4 ของโลกตามหลังจีน อินเดีย และสหรัฐฯ นั้นปี 2559 เติบโตได้แค่ 5.0 เปอร์เซ็นต์ลดลงจากช่วงปี 2554 ถึง 2558 ซึ่งเศรษฐกิจเติบโตเฉลี่ยค่อนข้างดีที่5.7 เปอร์เซ็นต์ ส่วนปีนี้คาดว่าอินโดนีเซียจะโตต่อเนื่องในอัตราใกล้เคียงปีที่แล้วที่ 5.1 เปอร์เซ็นต์ และคาดว่าในช่วงปี 2559 ถึง 2563 อินโดนีเซียจะเติบโตเฉลี่ยราว 5.5 เปอร์เซ็นต์

มาเลเซียซึ่งในช่วง 2554 ถึง 2558 เติบโตเฉลี่ย 5.2 เปอร์เซ็นต์ สูงเป็น 2 เท่าของเมืองไทยพอดีในช่วงเดียวกัน พอมาถึงปี2559 ซึ่งการเมืองวุ่นวาย ราคาน้ำมันตก เศรษฐกิจมาเลเซียเลยโตได้แค่ 4.1 เปอร์เซ็นต์และคาดว่าจะโตได้แค่ 4.4 เปอร์เซ็นต์ในปีนี้ การเติบโตโดยเฉลี่ยในช่วงปี 2559 ถึง 2563 คาดว่าจะ
อยู่ที่ 5.0 เปอร์เซ็นต์

ฟิลิปปินส์ซึ่งเคยเป็นคนป่วยของเอเชียนั้นฟื้นไข้กลับมาเติบโตเฉลี่ยได้สูงถึง 5.9 เปอร์เซ็นต์ในช่วงปี 2554 ถึง 2558สูงที่ สุดใน AEC ที่ไม่ใช่กลุ่ม CLMV ปีที่แล้วฟิลิปปินส์ก็ยังเติบโตต่อเนื่องได้สูงถึง 6.4 เปอร์เซ็นต์และจะเติบโตต่อเนื่องอีก ราว 6.2 เปอร์เซ็นต์ ในปีนี้ แต่อาจจะแผ่วลงไปบ้างในช่วงต่อไปจนทำให้คาดว่าในช่วง 2559 ถึง 2563 เศรษฐกิจฟิลิปปินส์จะโตเฉลี่ยราว ๆ 5.7 เปอร์เซ็นต์

สปป.ลาว ซึ่งในช่วงปี 2554 ถึง 2558 เศรษฐกิจเติบโตได้สูงสุดในกลุ่มที่อัตราเฉลี่ย 7.7 เปอร์เซ็นต์ และแม้ว่าในช่วง 2559 จนถึง 2563 เศรษฐกิจสปป.ลาวจะชะลอการเติบโตลงเหลือ 7.3 เปอร์เซ็นต์แต่ก็ยังจะเป็นการเติบโตที่สูงมาก และสูงเป็นที่ สองของเออีซี เติบโตพอๆกับกัมพูชาแต่เป็นรองเมียนมา ทำเอา
หลายคนที่เคยมองว่าจุดอ่อนของสปป.ลาวที่มีขนาดตลาดเล็ก เพราะมีประชากรน้อยเพียง 7 ล้านคนต้องหันกลับมามองใหม่ ที่เศรษฐกิจสปป.ลาวเติบโตได้ต่อเนื่องนั้นเป็นเพราะ รัฐบาลมีแนวทางชัดเจนในการขับเคลื่อนประเทศไม่ว่าการจะเป็นแบตเตอรี่ของเอเชียการใช้เขตเศรษฐกิจพิเศษซึ่งทำได้ดี และแซงหน้าไทยไปแล้ว คาดกันว่าภายในปี 2563 สปป.ลาวน่าจะหลุดพ้นจากความเป็นประเทศยากจน

แต่ที่น่าสนใจก็คือแม้ว่าประเทศนี้จะบริหารด้วยพรรคประชาชนปฏิวัติลาวซึ่งเป็นองค์กรที่มีอำนาจสูงสุดเบ็ดเสร็จเด็ดขาดในรูปแบบของพรรคคอมมิวนิสต์ แต่เมื่อถึงเรื่องทุจริต การมียุทธศาสตร์ในการพัฒนาประเทศที่ชัดเจน การส่งเสริมการลงทุนที่ชาญฉลาดที่เลือกเฉพาะอุตสาหกรรมไฮเทคที่โลกต้องการ และอุตสาหกรรมสีเขียว ความสำเร็จของการปฏิรูปการศึกษาที่ทำให้เด็กเวียดนาม ฉลาดติดท็อปเทนของโลก รวมถึงขนาดของตลาดที่มีประชากร 95 ล้านคน ทำให้เวียดนามเจริญไล่ตามไทยเรามาได้ติด ๆ

ทั้งสปป.ลาวและเวียดนามยังปกครองด้วยพรรคคอมมิวนิสต์เหมือน ๆ กับจีน ทำให้พรรคคอมมิวนิสต์ทั้งสามประเทศมีการประสานงานกันอย่างแนบแน่น เท่ากับว่าสองประเทศนี้มีจีนซึ่งมีพลังมากมายมหาศาลเป็นพี่เลี้ยงใหญ่ช่วยเอาเงินมา ลงทุนและช่วยคัดท้ายหางเสือประเทศอย่างน่าสนใจ

กัมพูชาซึ่งในช่วงปี 2554 ถึง 2558 นั้นเติบโตเฉลี่ยสูงเป็นอันดับ 3 ของเออีซี โดยเติบโตเฉลี่ย 7.2 เปอร์เซ็นต์ และในปีที่ผ่านมาก็ยังเติบโตได้ต่อเนื่องที่ 7.0 เปอร์เซ็นต์ และปีนี้คาดว่าจะโตต่อเนื่องอีกที่ราว ๆ 7.1 เปอร์เซ็นต์ คาดว่าในช่วงปี 2559 ถึง 2563 กัมพูชาจะเติบโตต่อเนื่องเฉลี่ยที่ 7.3 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งนั่นหมายความว่าในช่วงสามปีท้ายช่วง 2561ถึง 2563 กัมพูชาจะเติบโตเฉลี่ยมากกว่า 7.3 เปอร์เซ็นต์ ผมซึ่งเดินทางไปกัมพูชาปีละหลายครั้งยังต้องยอมรับเลยว่าทุกครั้งที่ไปจะเห็นการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นตลอดเวลา

ความเสี่ยงของกัมพูชาคือการเลือกตั้งทั่วไปในปี 2561 เพราะทุกครั้งที่มีการเลือกตั้ง ความร้อนแรงของการเมืองก็จะพุ่งสูงขึ้นอย่างมากแม้หลายฝ่ายจะคาดว่านายกฯ ฮุนเซ็นคงจะคว้าชัยชนะและได้เป็นนายกฯ ต่ออีกหนึ่งสมัยสร้างสถิติการเป็นนายกฯ ที่ยาวนานที่สุดในโลกต่อไปอีก ซึ่งต้องจับตาดูว่าการเลือกตั้งครั้งนี้จะสร้างความวุ่นวายจนส่งผลกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจหรือไม่? ส่วนเรื่องที่เป็นจุดด้อยที่สุดของประเทศก็คือการคอร์รัปชั่นนั้นสถานการณ์ยังไม่ค่อยดีนัก เพราะคะแนนดัชนีภาพลักษณ์คอร์รัปชั่นของ กัมพูชานั้นสองปีที่ผ่านมาได้เท่าเดิมคือได้เพียง 21 คะแนนต่ำที่สุดในเออีซี และอยู่ในกลุ่มท้าย ๆ ของโลกเลยทีเดียว

เมียนมาซึ่งในช่วงปี 2554 ถึง 2558 เติบโตเฉลี่ยสูงเป็นอันดับ 2 ของเออีซีที่ 7.3 เปอร์เซ็นต์นั้นก็ว่าทำได้ดียอดเยี่ยมอยู่แล้ว แต่ในช่วงปี 2559 จนถึงปี 2563 นั้นเศรษฐกิจเมียนมาจะเติบโตต่อเนื่องดียิ่งขึ้นไปอีกจนทะลุไปอยู่ที่ระดับ 8.3 เปอร์เซ็นต์ สูงสุดในเออีซีและสูงติดอันดับโลกเลยทีเดียว ทั้งนี้ต้องขอบคุณอดีตประธานาธิบดี อูเต็งเส่ง ที่วางรากฐาน เศรษฐกิจไว้ให้อย่างดี รวมถึงการวางรากฐานประชาธิปไตยส่งไม้ต่อไปยังด่อว์อองซานซูจิประธานาธิบดีตัวจริงได้เป็นอย่างดี เซอร์ไพรส์คนทั้งโลก ดังนั้นเมียนมาที่มีทรัพยากรธรรมชาติมากมายรวมถึงก๊าซธรรมชาติและจำนวนประชากรที่มีอยู่เกือบ 55 ล้านคน จึงดึงดูดให้นักลงทุนต่างชาติหลั่งไหลมาลงทุนในเมียนมาจนทำให้เศรษฐกิจเติบโตต่อเนื่องได้อย่างโดดเด่น

อีกเรื่องที่น่าจับตาก็คือจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เข้ามาเที่ยวเมียนมานั้นเติบโตขึ้นมากที่สุดในภูมิภาค ในปี 2555 เมียนมามีนักท่องเที่ยวต่างชาติไปเที่ยวเพียง 1 ล้าน 1 แสนคนน้อยกว่าสปป.ลาวและกัมพูชาที่มีนักท่องเที่ยวต่างชาติ สามล้านต้น ๆ และสามล้านกลาง ๆ ตามลำดับ แต่พอมาถึงปี 2559 เมียนมากลับแซงหน้ากัมพูชาซึ่งมีนักท่องเที่ยวต่างชาติ 4 ล้าน 4 แสนคนคนและสปป.ลาวที่มีนักท่องเที่ยวราว 5 ล้านคนไปแล้วด้วยจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติราว 6 ล้านคน

จุดอ่อนของเมียนมาที่เด่นชัดที่สุดก็คือการขาดความชัดเจนของนโยบายเศรษฐกิจ การบริหารประเทศแบบรวมศูนย์ อำนาจเอาไว้ที่ด่อว์อองซานซูจิซึ่งการตัดสินใจแทบจะทุกเรื่องต้องให้เธอเป็นคนเคาะเพียงคนเดียว ทำให้งานทั้งหลาย รวมถึงนโยบายด้านเศรษฐกิจจึงไปกระจุกเป็นคอขวดที่เธอ ทำให้ยังไม่มีอะไรที่ชัดเจนออกมาจนกระทั่งบัดนี้ความไม่ชัดเจนด้านนโยบายเศรษฐกิจนี้ทำให้ตัวเลขการลงทุนจากต่างชาติในเมียนมาชะลอตัวลงอย่างชัดเจนในปี 2559 ซึ่งถ้าหากยังไม่สามารถแก้ปัญหาการรวมศูนย์อำนาจนี้ให้ได้ เมียนมาอาจจะเติบโตน้อยลงกว่าที่หลายฝ่ายคาดการณ์เอาไว้

ทั้ง 9 ประเทศที่เขียนถึงไปแล้วนั้นน่าจะรอดและไปได้ดีในปีนี้ มีเพียงประเทศเดียวซึ่งไม่ได้เขียนถึงที่น่าเป็นห่วง 

เศรษฐกิจใน AEC