Scoop : Recycle / Upcycle / Zero Waste | Issue 158

Scoop : Recycle / Upcycle / Zero Waste | Issue 158

Recycle Upcycle Zero Waste

ปัจจุบันกระบวนการรีไซเคิล (Recycle) ที่เราคุ้นเคยกันดี ไม่ว่าจะเป็นการคัดแยกขยะในแต่ละประเภท อาทิ แก้ว พลาสติก กระดาษ เพื่อนำไปขายตามสถานที่รับซื้อต่าง ๆ แล้วเข้าสู่กระบวนการแปรสภาพแล้วนำกลับมาใช้ใหม่อีกครั้ง แน่นอนว่าขั้นตอนการแปรสภาพเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่นั้นย่อมมีค่าใช้จ่ายที่สูง รวมไปถึงสารเคมีที่ใช้ในกระบวนการก็อาจจะมีราคาสูงและไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 

Upcycle จึงเป็นอีกหนึ่งวิธีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการแปรสภาพ ที่ยกระดับมาแทนกระบวนการรีไซเคิล ยกตัวอย่างเช่น การเปลี่ยนเสื้อผ้าที่ไม่ใช้แล้วให้กลายเป็นกระเป๋าสุดเก๋ หรือการ DIY ขวดแก้ว ขวดพลาสติก ให้เป็นข้าวของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน

หากมองในสโคปที่ใหญ่ขึ้นมากกว่าการ Upcycle กันในครัวเรือนแล้ว มีศิลปิน-นักออกแบบ อยู่หลายท่าน ขยะเหล่านั้นมาสร้างสรรค์เป็นผลงาน ยกตัวอย่างเช่น ศิลปิน Wishulada ผลงานของเธอที่นำขยะพลาสติก และ E-Waste (ขยะอิเล็กทรอนิกส์) กว่า 100 กิโลกรัม มาสร้างสรรค์ผลงานเป็นต้นคริสต์มาสที่มีขนาดสูงกว่า 6.5 เมตร  หรือจะเป็นของเหลือจากอุตสาหกรรมสิ่งทอ อย่างเช่นซิป เธอก็นำมาสร้างสรรค์ ใส่ไอเดีย รวมถึงการออกแบบในสไตล์ของเธอเอง เป็นการเพิ่มมูลค่าให้กลายเป็นกระเป๋าสุดเก๋ ที่สำคัญยังสามารถใช้งานได้จริง ๆ (คลิกอ่านบทสัมภาษณ์เพิ่มเติมได้ที่)

นอกจากอัพไซเคิลแล้วยังมีแนวคิดของ Zero Waste ที่หลาย ๆ บริษัท หลาย ๆ ประเทศกำลังให้ความสนใจ โดย Zero Waste เป็นวิธีที่การนำหมุนเวียนทรัพยากรมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อลดการสร้างขยะให้เท่ากับศูนย์ โดยหลักการของ Zero Waste ประกอบด้วย 1A3R

Advoid เป็นการลดการก่อขยะเพิ่ม เช่น การนำแก้วกาแฟ และหลอดน้ำสแตนเลส ใช้แทนแก้วกาแฟ

Reduce คือการใช้วัสดุที่ก่อให้เกิดขยะน้อยลง เช่น การนำปิ่นโตไปใส่อาหาร แทนการใช้ถุงร้อน

Reuse การนำกลับมาใช้ใหม่ เช่น การกระดาษโพสอิท โดยสามารถใช้ได้ทั้งสองด้าน

Recycle การนำกลับมาใช้ใหม่ เช่น การนำเอาเศษอาหารไปเป็นปุ๋ยในการบำรุงดิน แล้วผักที่ได้ก็นำมาบริโภค

“ฟังดูแล้วอาจจะดูยาก แต่ไม่ยากเลย หากลองเปิดใจ แรก ๆ อาจจะยากหน่อย” เป็นคำพูดที่คุณลินเจ้าของร้าน Less Plastic Able (การดำรงอยู่ด้วยการใช้พลาสติกให้น้อยที่สุด) ที่เธอได้ให้สัมภาษณ์กับเราในคอลัมน์ Someone ในฉบับที่ 158 นี้ (คลิกอ่านบทสัมภาษณ์เพิ่มเติมได้ที่และภายในร้านเธอก็ได้นำแนวคิดเหล่านี้ไปปรับใช้ จนกลายเป็น Refill Station แห่งแรกในย่านฝั่งธนบุรี เธอยังเชื่อว่าพลาสติกไม่ใช่ตัวร้าย พฤติกรรมการบริโภคที่มากจนเกินไปแบบไม่ตระหนักของมนุษย์ต่างหากที่กำลังกลายเป็นปัญหา

วิธีการกำจัดของต่างประเทศที่ประสบความสำเร็จ

ไต้หวัน

ไต้หวันเป็นอีกหนึ่งประเทศที่เป็นต้นแบบในการจัดการขยะ เปลี่ยนจากการเก็บขยะโดยรถเก็บขยะหรือการเอาขยะไปทิ้งในจุดต่างๆแบบบ้านเรา เปลี่ยนมาเป็นให้ประชาชนนำขยะมาทิ้งที่รถขยะด้วยตัวเอง โดยเวลาที่รถขยะผ่านมารับขยะในแต่ละวัน จะขึ้นอยู่กับในแต่ละเส้นทาง และตรงเวลา ถ้าทิ้งขยะไม่ทันขยะอาจจะล้นบ้านก็ได้ ฉะนั้นต้องตื่นให้ทันเพื่อนำขยะมาทิ้ง

รถขยะสีขาวเป็นรถขยะที่สามารถรีไซเคิลได้ ที่ใต้หวันจะแยกขยะที่สามารถรีไซเคิ้ลได้ถึง 13 ชนิดเลยทีเดียว ส่วนรถขยะสีเหลืองเป็นรถขยะที่ไม่สามารถรีไซเคิลได้ นั่นแสดงว่าประชาชนต้องคัดแยกขยะมาจากภายในบ้านก่อนนำมาทิ้ง ไม่ใช่นำมาทิ้งปนเปกันไปหมด

ถุงขยะของที่นี่ต้องซื้อจากทางภาครัฐเท่านั้น ซึ่งจะมีบาร์โค้ดกำกับในแต่ละถุงด้วย นั่นแสดงว่าถ้าประชาชนมีขยะเยอะ ก็จะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการซื้อถุงขยะจากทางรัฐอีกด้วย

ฝรั่งเศส

เป็นอีกหนึ่งประเทศที่มีการจัดการกับขยะอาหารอย่างจริงจัง จนประสบความสำเร็จ หลังจากมีกฎหมายห้ามซูเปอร์มาร์เก็ตทิ้ง หรือทำลายอาหารที่ขายไม่ได้ ทำให้ห้างสรรพสินค้าหลายแห่งทั่วประเทศนำเอาอาหารที่กำลังจะหมดอายุไปบริจาคให้กับองค์การกุศล โดยจะมีอาสาสมัครนำไปแจกจ่ายให้คนยากไร้ คนไร้บ้านต่อไป

หากมองย้อนกลับมาที่บ้านเราปัญหาแท้จริงที่เราประสบอยู่ตอนนี้ก็คือจิตสำนึกในการคัดแยกขยะอย่างจริงจัง ซึ่งหากแก้ไขปัญหาการคัดแยกขยะให้ถูกประเภทแล้ว นั่นหมายถึงขั้นตอนการส่งไปยังโรงแยกขยะในแต่ละประเภทโดยตรงก็จะมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะถ้าหากการคัดแยกไม่มีประสิทธิภาพแล้ว หรือไม่มีการคัดแยกแล้ว สุดท้ายขยะทุกอย่างก็จะส่งไปที่บ่อทับถมขยะ สุดท้ายขยะก็ล้นบ่อกองเป็นภูเขา ยากต่อการจัดการ


อ่าน Scoop : CLEAN YOUR MIND by MERIGIN เพิ่มเติม 

- CLEAN YOUR MIND by MERIGIN : ขยะ/สังคม ถุงพลาสติกภัยร้าย หรือเป็นเพราะเราเอง - Intro
- อกลาพลาสติก เทรนใหม่ที่ใครได้ประโยชน์? / หรือปัญหาเเท้จริงคือมนุษย์?
- How To ทิ้ง! เริ่มต้นที่มือ จบลงที่ไหน / การแยกขยะก่อนทิ้ง และความเข้าใจแบบผิด ๆ กับปัญหาที่ตามมา 
- ดูเเลสิ่งเเวดล้อมเริ่มต้นง่าย ๆ ในบ้านมาแยกขยะกันเถอะ
- สิงคโปร์ต้นแบบการพัฒนาสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน

Scoop : Recycle Upcycle Zero Waste | Issue 158