แฟชั่น Hip Hop ที่จะช่วยปลุกความเป็น เบรกกิ้ง  (Breaking) ในตัวคุณ

แฟชั่น Hip Hop ที่จะช่วยปลุกความเป็น เบรกกิ้ง (Breaking) ในตัวคุณ

แฟชั่นฮิปฮอป ( Hip-hop fashion) เป็นลักษณะเด่นของการแต่งตัว มีที่มาจากวัยรุ่นชาวแอฟริกัน-อเมริกัน และวัยรุ่นละตินในย่านบร็องซ์ (นิวยอร์ก) และต่อมากระจายอิทธิพลสู่ฮิปฮอปในแถบอื่นอย่าง ลอสแอนเจลิส ชิคาโก้ ฟิลาเดลเฟีย พิตต์เบิร์จ อีสต์เบย์ (บริเวณอ่าวซานฟรานซิสโก) และ ทางตอนใต้ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งในแต่ละเมือง มีสไตล์ที่ส่งผลต่อกระแสแฟชั่นโลกในปัจจุบัน และยังได้รับความนิยมก้าวสู่กระแสหลักของแฟชั่นโลกซึ่งมีลักษณะที่คล้ายคลึงกัน สไตล์ก็จะอยู่ในขอบเขตของแต่ละเมือง แต่ละฝั่ง และแต่ละซีน แตกต่างกันไป คู่มือของเราสนใจเทรนด์ฮิปฮอปที่โดดเด่นที่ยังไม่หายไป และยังคงอยู่ถึงปัจจุบัน ซึ่งแฟชั่นฮิปฮอปนั้นมีหลายยุคโดยแบ่งคราว ๆ ดังนี้ 

ต้นทศวรรษที่ 1980 ถึงกลางทศวรรษที่ 1980

ต้นทศวรรษที่ 1980 มีการเกิดขึ้นของสปอร์ตแวร์ เครื่องแต่งกายกีฬา และแบรนด์แฟชั่น อย่างเช่น Le Coq Sportif, Kangol, อาดิดาส และ ไนกี้ ซึ่งเกิดมาพร้อมกับฮิปฮอป ตั้งแต่ทศวรรษที่ 1980 ดาราฮิปฮอปในสมัยนั้นใส่เสื้อผ้าลักษณะอย่าง เสื้อวิ่งสีสว่างมียี่ห้อ เสื้อหนังแกะ เสื้อร่มรองเท้า C&J Clark, รองเท้าบู้ต Dr. Martens และรองเท้าแตะ (ส่วนใหญ่ยี่ห้ออาดิดาส) ทรงผมที่นิยมในช่วงนั้นคือ Jheri curl ฮิตจนปลายทศวรรษ 1980 จน hi-top ที่สร้างความนิยมโดย วิลล์ สมิธ (The Fresh Prince) และ คริสโตเฟอร์ "คิด" รีด จาก คิด แอนด์ เพลย์

เครื่องประดับที่ได้รับความนิยม อย่างเช่น แว่นตาใหญ่ ๆ (Cazals หรือ Gazelles), หมวกแบบ bucket hat ยี่ห้อ Kangol, ป้ายชื่อ , เข็มขัดชื่อ, แหวนเยอะๆ ส่วนทองและอัญมณีก็ได้รับความนิยมในช่วงทศวรรษที่ 1980 ถือเป็นองค์ประกอบหนึ่งของแฟชั่นฮิปฮอปจนถึงปัจจุบัน โดยทั่วไปแล้วเครื่องประดับผู้ชายจะเน้นโซ่ทองชิ้นใหญ่ ๆ ส่วนผู้หญิงจะเน้นตุ้มหูทอง Kurtis Blow และ Big Daddy เป็นผู้นำกระแสสร้อยคอทองคำ ส่วนผู้หญิง Roxanne Shanté จากวง Salt-N-Pepa นำกระแสตุ้มหูวงแหวนทองขนาดใหญ่ เครื่องประดับเหล่านี้แสดงถึงชื่อเสียงและฐานะ และบางครั้งก็มีแนวทางสื่อถึงดินแดนแอฟริกา

 

 

 

 

ปลายทศวรรษที่ 1980 ถึงต้นทศวรรษที่ 1990

กระแสความนิยมของคนดำเพิ่มมากขึ้นจากอิทธิพลของแร็ปตั้งแต่ปลายทศวรรษที่ 1980 แฟชั่นและทรงผมแสดงถึงอิทธิพลชาวแอฟริกัน กางเกงเบลาซีได้รับความนิยมโดยเฉพาะแร็ปเปอร์แนวเต้นรำอย่าง เอ็มซี แฮมเมอร์ ,Fezzes หมวก kufi แบบอียิปต์ , ชุดแบบ Kente ,โซ่แบบแอฟริกัน, ทรงผมเดรดล็อก, เสื้อผ้าในสีแดง ดำ เขียว ได้รับความนิยมในช่วงนั้น ศิลปินผู้นำอย่างเช่น Queen Latifah, KRS-One, Public Enemy, และ X-Clan ในช่วงต้นทศวรรษที่ 1990 ศิลปินป็อปแร็ปอย่างเช่น The Fresh Prince, Kid 'n Play และ เล็ฟต์อาย แห่งวงทีแอลซี นำแฟชั่นหมวกแค็ปเบสบอล และเสื้อผ้าสีสะท้อนแสง คริสครอสนำแฟชั่นใส่เสื้อผ้ากลับหลัง Kwamé จุดประกายแฟชั่นเสื้อผ้าลายจุดในช่วงสั้น ๆ ขณะที่ศิลปินคนอื่นแต่งตัวแบบเสื้อผ้าช่วงกลางยุคทศวรรษ 1980

ไนกี้ได้ร่วมงานกับนักบาสเกตบอลชื่อดัง ไมเคิล จอร์แดน ตั้งแต่ปี 1984 เป็นต้นมา ถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญจุดหนึ่ง ไนกี้ได้บุกตลาดรองเท้าผ้าใบแนวสตรีทแวร์สำหรับคนเมืองในช่วงปลายทศวรรษที่ 1980 และต้นทศวรรษที่ 1990 ส่วนแบรนด์เสื้อผ้าอื่นอย่าง Champion, Carhartt และ Timberland ก็มีส่วนครองตลาด ในฝั่งตะวันออกของฮิปฮอปอเมริกัน อย่าง วู-แทง แคลน และ Gangstarr ที่มีแนวการแต่งกายดูแบบกีฬา

N.W.A. ศิลปินรุ่นบุกเบิกแนวแก๊งก์สตา ได้รับความนิยมในเพลงแนวแก๊งก์สตาในช่วงปลายทศวรรษ 1980 ใส่เสื้อผ้า กางเกงยี่ห้อ Dickies ,เสื้อและแจ็กเก็ตลายตาราง, รองเท้าผ้าใบ Chuck Taylors และหมวกแก๊ปเบสบอลสีดำ แจ็กเก็ต Raiders Starter นอกจากนี้แฟชั่น แจ็กเก็ตรูปแบบนี้เป็นภาพลักษณ์ของแก๊งก์โจรกรรมสำหรับสื่อมวลชน

แฟชั่นฮิปฮอปในยุคนั้นยังมีอิทธิพลต่อแฟชั่นระดับสูง ในช่วงปลายทศวรรษที่ 1980 Isaac Mizrahi ได้รับอิทธิพลจากช่างลิฟท์ของเขาที่ใส่โซ่ทองชิ้นใหญ่ คอลเลกชั่นนี้ของเขาได้รับอิทธิพลอย่างสูงจากแฟชั่นฮิปฮอป นางแบบใส่เสื้อรัดรูปสีดำ โซ่ทอง เข็มขัดชื่อสีทอง แจ็กเก็ตสีดำกับหมวกเฟอร์ ในต้นยุค 1990 แชนเนลมีการโชว์แฟชั่นที่รับอิทธิพลจากฮิปฮอปอยู่หลายโชว์ หนึ่งในนั้น นางแบบใส่เสื้อแจ็กเก็ตหนังสีดำและมีโซ่ทอง อีกชุด ใส่ชุดยาวสีดำ มีเครื่องประดับหนัก ๆ อย่าง โซ่กุญแจสีเงิน 

 

 

 

กลางทศวรรษที่ 1990 ถึงปลายทศวรรษที่ 1990

แก๊งก์สตาสไตล์ แก็งก์สตาสไตล์ หรือที่คนไทยรู้จักกันในชื่อว่า "แนวแก๊งก์" แฟชั่นแบบแก็งก์สตาเป็นสิ่งที่พบเห็นได้บ่อยในแฟชั่นฮิปฮอป ในช่วงกลางทศวรรษที่ 1990 แฟชั่นฮิปฮอป ได้รับอิทธิพลจากการแต่งกายของอันธพาลข้างถนน และนักโทษ

แร็ปเปอร์ฝั่งเวสต์โคสต์ นำเอาสไตล์ของพวกเม็กซิกัน-อเมริกันมา อย่างเช่น การใส่กางเกงหลวม ๆ , รอยสักสีดำ, มีการสักบนร่างกายเป็นสัญลักษณ์แก็งก์ หรือมีการโผกผ้า Banadas สีต่างๆนาๆเพื่อบ่งบอกแก๊งก์ เช่นผ้าสีแดงเป็นแก็งก์ Bloods หรือสีฟ้าเป็นแก็งก์ Crips เป็นต้น , การเอาเสื้อเชิร์ตหลุดออกจากนอกกางเกงหนึ่งข้าง ยีนส์สีเข้มแบบนักโทษก็ได้รับความนิยม และสไตล์การใส่กางเกงหลุดตูด เอวต่ำโดยไม่มีเข็มขัด ก็เป็นสไตล์ที่มาจากในคุก รวมถึงกิริยา สัญลักษณ์ทางมือ ก็มาจากวัยรุ่นชาวแอฟริกัน-อเมริกันแถบลอสแอนเจลิสก่อน แล้วจึงขยับขยายโดยสังคมฮิปฮอปในทางกว้าง

แฟชั่นฮิปฮอปในหมู่คนรวย ฮิปฮอปทางฝั่งเวสต์โคสต์ สังคมฮิปฮอปได้หวนสู่แฟชั่นแก๊งก์สเตอร์ในยุค 1930-1940 มาเป็นแรงบันดาลใจ อิทธิพลมาเฟีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งได้แรงบันดาลใจจากภาพยนตร์เรื่อง Scarface ในปี 1983 ที่ได้รับความนิยมในหมู่ชาวฮิปฮอป

มีแร็ปเปอร์หลายคนแต่งตัวเหมือนพวกแก๊งก์เตอร์ในยุคนั้น อย่างเช่น มีหมวกแบบ bowler, ใส่สูทเสื้อในสองชั้น, เสื้อเชิร์ตผ้าไหม, รองเท้าหนังจระเข้ และในบางแห่งในมิดเวสต์ รวมถึงดีทรอยต์ เป็นสไตล์สำคัญ สไตล์หนึ่งของฮิปฮอปที่นั่น

ในฝั่งอีสต์โคสต์ คำว่าแฟชั่น "ghetto fabulous" คิดคำโดย ฌอน โคมบส์ ก็ได้รับความนิยม มีผู้แต่งกายอย่าง โคมบส์ ,โนทอเรียส บีไอจี, เฟธ อีแวนส์ และรัซเซลล์ ซิมมอนส์

 

วัฒนธรรมเครื่องประดับ

ในช่วงกลางถึงปลายยุคทศวรรษ 1990 แพล็ตตินัมได้มาแทนที่ทองคำ สำหรับแฟชั่นฮิปฮอป ศิลปินและแฟนเพลงสวมใส่เครื่องประดับจากแพล็ตตินัม (หรือเงิน) และมักประดับไปด้วยเพชร เจย์-ซี ,จูวีไนล์ และ เดอะฮ็อตบอยส์ ตอบรับกระแสนี้อย่างมาก

การใช้แพล็ตตินัมได้รับความนิยมในที่สุด ไบรอัน วิลเลียม แร็ปเปอร์จากค่าย แคชมันนีเรคคอร์ด ประดับเพชรที่ฟันอย่างถาวร รวมถึงมีแฟชั่นติดเครื่องประดับลงที่ฟันที่สามารถถอดได้ จนมาถึงการมาถึงของแฟชั่นเครื่องประดับ ในการเปลี่ยนศตวรรษใหม่ เกิดแบรนด์หรูหราได้ก้าวสู่ตลาดแฟชั่นฮิปฮอป รวมไปถึงแบรนด์หรูหราอย่าง Gucci และ Louis Vuitton ที่มีแฟชั่นฮิปฮอปปรากฏในมิวสิกวิดีโอและ

แฟชั่นฮิปฮอปสมัยใหม่

ในช่วงทศวรรษที่ 1990 และในยุคถัดไป ศิลปินฮิปฮอปหลายคนเริ่มมีแบรนด์ ไลน์แฟชั่นของตัวเองอย่างเช่น วู-แทง แคลน (กับ วู-แวร์), รัซเซลล์ ซิมมอนส์ (กับ แฟต ฟาร์ม), คิโมรา ลี ซิมมอนส์ (กับ เบบี้ แฟต), ดิดดี้ (กับ ฌอน จอห์น) ,เดมอน แดช กับ เจย์-ซี (กับ Rocawear), 50 เซ็นต์ (กับ G-Unit Clothing) ,เอ็มมิเน็ม (กับ Shady Limited) ,ทูแพ็ก (กับ Makaveli) และ เอาท์แคสต์ (กับ OutKast Clothing) ส่วนบริษัทที่ผลิตสินค้าแฟชั่นฮิปฮอปเช่น Karl Kani and FUBU, Ecko, Dickies,Girbaud, Enyce, Famous Stars and Straps, Bape, LRG, Timberland Boots, และ Akademiks

เนื่องจากกระแสในปัจจุบันคือการ ย้อนไปยังยุค โอลด์สคูล เสื้อผ้า การแต่งกายก็ย้อนไปในยุคต้นทศวรรษที่ 1980 เครื่องแต่งกายสู่ความทันสมัย (หรือเรียกว่า เปร็ป-ฮ็อป) ที่อาจมีไอเท็มอย่าง เสื้อเชิร์ตโปโล เสื้อสปอร์ตโค้ต เสื้อเชิร์ตทอ หัวเข็มขัดใหญ่ ๆ คัฟฟ์ลิงก์ สิ่งประดับตกแต่งรูปกะโหลกหรือกระดูก ฮูดี้แบบซิป เสื้อเชิร์ตลายสก็อต แฟชั่นได้รับแรงบันดาลใจจากหิมะ ยีนส์ฟิต ๆ

เสื้อทีเชิร์ต ที่สั้นลงก็เป็นกระแสที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน เพื่อจะได้โชว์เข็มขัดหรือหัวเข็มขัด หรือโซ่ แต่สไตล์การใส่เสื้อผ้าแบบหลวม ๆ ก็ยังคงความสำคัญอยู่ ศิลปินฮิปฮอปหัวก้าวหน้าก็ใส่ในสไตล์ เปร็ป-ฮ็อป และที่ดูล้ำหน้า อย่าง คอนเย เวสต์ ,คอมมอน ,วิลล์.ไอ.แอม และ อังเดร 3000 เช่นเดียวกับแฟชั่นที่ได้รับอิทธิพลจากนักสเกต ชุดฟิต ๆ อย่าง ฟาร์เรลล์ วิลเลียมส์ และกระแสยุค 1980 ก็เกิดใหม่ อย่าง แบรนด์เสื้อผ้า Members Only, โซ่ใหญ่ ๆ และแว่นตากันแดดขนาดใหญ่

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : https://th.wikipedia.org/

แฟชั่นฮิปฮอป ( Hip-hop fashion) เป็นลักษณะเด่นของการแต่งตัว มีที่มาจากวัยรุ่นชาวแอฟริกัน-อเมริกัน