16 Days of Activism  Zonta Says No

16 Days of Activism Zonta Says No

“กิจกรรม STOP! เป็นกิจกรรมประทับมือลงบนแผ่นกระดาษ เพื่อแสดงการสนับสนุนการยุติการกระทำรุนแรงต่อสตรี โดยมีผู้ร่วมกิจกรรมทั้งหญิง (ประทับมือสีขาว) และชาย (ประทับมือสีแดง)”

ทุก ๆ ปี ระหว่างวันที่ 25 พฤศจิกายน (วันรณรงค์ยุติการกระทำรุนแรงต่อสตรี) ถึงวันที่ 10 ธันวาคม (วันสิทธิมนุษยชน) เป็น 16 วันแห่งการรณรงค์ยุติการกระทำรุนแรงต่อสตรี 16 Days of Activism Aginst Gender-Based Violence

ซึ่งกิจกรรมนี้ได้ถูกริเริ่มขึ้นในปีค.ศ.1991 โดย Women’s Global Leadership Institute ณ มหาวิทยาลัย RUTGERS ประเทศสหรัฐอเมริกา และได้จัดกิจกรรมต่อเนื่องโดยองค์กรต่าง ๆ ทั่วโลก

ทำให้ตระหนักถึงปัญหาความรุนแรง การแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ด้วยริบบิ้นสีขาวและการสร้างโลกสีส้ม ความรุนแรงในผู้หญิงและเด็ก ถือเป็นปัญหาเรื้อรังที่หยั่งรากลึกในทุกสังคม ในปี พ.ศ.2542 องค์การสหประชาชาติได้รับรองให้ วันที่ 25 พ.ย. เป็นวันรณรงค์ยุติการกระทำรุนแรงต่อสตรี ต่อมาในทุก ๆ ปี เราจึงเห็นกลุ่มคนออกมาเคลื่อนไหวรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อสตรี มีแคมเปญต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมายเนื่องในวันยุติความรุนแรงต่อสตรีสากล (International Day for the Elimination of Violence Against Women)

ซึ่งทางสโมสรซอนต้าสากล ในประเทศต่าง ๆ รวมถึงประเทศไทยของเราก็มีการรณรงค์กระตุ้นเตือนสังคมในเรื่องนี้ด้วยเช่นกัน

และนี่คือประมวลภาพกิจกรรมในปีที่แล้วซึ่งได้มีกิจกรรมมากมายเช่นเดียวกับในปีนี้ 16 Days of Activism Zonta Says No to Violence Against Women

สหประชาชาติ ได้ให้ข้อมูลว่า ความรุนแรงต่อผู้หญิงคือการละเมิดสิทธิมนุษยชน นอกจากนี้ยังเป็นผลมาจากการเลือกปฏิบัติต่อสตรีทั้งการปรากฏในข้อกฎหมาย และความเหลื่อมล้ำ ทางสังคมในความเท่าเทียมกันทั้งผู้ชายและ ผู้หญิง ทั้งยังส่งผลกระทบรุนแรงและเกี่ยวเนื่องไปถึงการต่อสู้กับความยากจน, HIV รวมไปถึงสันติภาพและความมั่นคง ซึ่งความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็กผู้หญิงยังคงมีอยู่ทั่วทุกมุมโลก

White Ribbon

White Ribbon
ริบบิ้นขาว (White Ribbon) นำมาสู่วันยุติความรุนแรงต่อสตรีสากล

จุดเริ่มต้นของวันยุติความรุนแรงต่อสตรีสากล มาจากการตระหนักถึงความรุนแรงต่อสตรี หลังเหตุการณ์สังหาร นักเคลื่อนไหวทางการเมืองสตรีชาวโดมินิกัน 3 คน คือ แพทริเซีย, มาเรีย และมิเนอร์วา ในคืนวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ.2504 ซึ่งสาเหตุมาจากเหตุผลทางการเมือง

ต่อมาในปี พ.ศ.2534 ได้เกิดเหตุสังหารหมู่นักศึกษาหญิง ของมหาวิทยาลัยมอนทรีออล ประเทศแคนาดา จำนวน 14 คน

หลังจากเหตุการณ์นั้นส่งผลให้กลุ่มผู้ชายกว่า 1,000,000 คน ตระหนักถึงความสำคัญต่อปัญหาความรุนแรงต่อสตรี และต้องการยุติปัญหา ดังกล่าว จึงรณรงค์ให้ผู้ชายทั่วโลกร่วมรับผิดชอบต่อปัญหาความรุนแรงต่อสตรี และแสดงตนว่าจะไม่เป็นผู้กระทำความรุนแรงต่อสตรี

โดยการติดสัญลักษณ์ริบบิ้นสีขาวที่ปกเสื้อ หมายถึง การยอมรับว่าจะไม่ทำร้ายหรือนิ่งเฉยต่อการใช้ความรุนแรงต่อสตรีในทุกรูปแบบ

กิจกรรม STOP! เป็นกิจกรรมประทับมือลงบนแผ่นกระดาษ เพื่อแสดงการสนับสนุนการยุติการกระทำรุนแรงต่อสตรี