จุดเริ่มต้นการท่องเที่ยวไทย TOURISM AUTHORITY OF THAILAND
การท่องเที่ยวของประเทศไทย เป็นที่ยอมรับกันว่าติดอันดับต้น ๆ ของโลก หากวัดในเรื่องของจำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาโดยในช่วงปี 2562 ก่อน ที่โรคระบาดโควิด-19 จะเข้ามา มีนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้าประเทศไทยมีมากถึง 40 ล้านคน
โดยรวมแล้วประเทศไทยมีจุดเด่นมากมาย ตั้งแต่ เรื่องของธรรมชาติที่งดงาม มีป่าเขา ทะเล ชายหาด อากาศดี มีโบราณสถานประวัติความเป็นมาของผู้คน
รวมถึงเรื่องราวศาสนา ประเพณีและวัฒนธรรมที่ เป็นเอกลักษณ์ เป็นเรื่องที่น่าตื่นตาตื่นใจสำหรับชาว ต่างชาติที่เข้ามาสัมผัสประเทศไทยนั่นเอง
ส่วนการท่องเที่ยวในรูปแบบเมือง เรามีห้างสรรพสินค้าใหญ่มีสินค้าครบครัน ตลาดนัดที่ใหญ่ที่สุดในโลกอย่าง "ตลาดนัดจตุจักร” สตรีทฟูดที่สามารถหาของกินได้ตลอดเวลา มีภาคบริการที่เข้มแข็ง โรงแรม ที่พักราคาย่อมเยา ระบบคมนาคมภายในประเทศค่อนข้างทั่วถึง แต่เหนือสิ่งอื่นจากที่มีมาคือ คนไทยที่มีความเป็นมิตรต่อคนต่างชาติมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ตรงนี้เองทำให้นักท่องเที่ยวมักหวนกลับมาอีกครั้งหลายครั้ง
จากผลสำเร็จที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน จนมาถึงวันนี้ ความจริงแล้วเบื้องหลังนั้นมีผู้ที่ทํางานมาอย่างยาวนาน เริ่มจากเรื่องการส่งเสริมการท่องเที่ยวครั้งแรกเกิดขึ้นตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 6 โดยพระดําริของพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระกำแพงเพชร อัครโยธิน ทรงดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการรถไฟ มีการจัดตั้งแผนกโฆษณาของการรถไฟเพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามา และทําการโฆษณาประเทศไทยให้เป็นที่รู้จัก
พ.ศ. 2479 เริ่มมีการส่งเสริมการท่องเที่ยวโดย กระทรวงเศรษฐการเสนอโครงการบำรุงอุตสาหกรรม ท่องเที่ยวในประเทศสยามต่อคณะรัฐมนตรี พ.ศ. 2492 จัดตั้งสํานักงานส่งเสริมการท่องเที่ยว” ต่อมากรมโฆษณาเล็งเห็นว่าการท่องเที่ยวกําลังเติบโต จึงจัดตั้ง "สํานักงานท่องเที่ยว" ขึ้นมาอีกโดยพระราช กฤษฎีกาจัดวางระเบียบราชการกรมโฆษณาการ ในสํานักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2493
ปี พ.ศ. 2501 เมื่อจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ตัด “สํานักงานท่องเที่ยว" ออก แล้วตั้งองค์การอิสระ เรียกว่า "องค์การส่งเสริมการท่องเที่ยว แห่งประเทศไทย” มีชื่อย่อว่า "อ.ส.ท."
โดยพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การส่งเสริมการท่องเที่ยว พ.ศ. 2502 และต่อมา พระราชบัญญัติการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้ผ่านการพิจารณาประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่มที่ 96 ตอนที่ 72 วันที่ 5 พฤษภาคม 2522 จึงจัดตั้ง "การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย” ขึ้น มีชื่อย่อว่า "ททท. “ขึ้นมาโดย วัตถุประสงค์ของการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้คือ เพื่อจัดตั้งการ ท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย แทนองค์การส่งเสริมการท่องเที่ยว และให้การท่องเที่ยว แห่งประเทศไทยมีอํานาจหน้าที่ในการส่งเสริม และดําเนินกิจการเกี่ยวกับการ ท่องเที่ยวได้กว้างขวางยิ่งขึ้น ซึ่ง ททท.นั้นมีบทบาทสําคัญที่ส่งเสริมการท่องเที่ยว แห่งประเทศไทยเป็นอย่างมาก
บทบาทและหน้าที่ของ ททท. นั้นถือว่าเป็นหน่วยงานของรัฐที่ทําหน้าที่ ได้ดีที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย เพราะที่ผ่านมามีการวางแผนการตลาด และประชาสัมพันธ์ประเทศไทยในรูปแบบต่าง ๆ จนเป็นผลสําเร็จในแง่ของจํานวนนักท่องเที่ยว และรายได้ที่เข้ามาในประเทศไทยมาโดยตลอด
แต่ในช่วงที่เป็นจุดเริ่มต้นของการท่องเที่ยว ที่ทําให้ประเทศไทยเป็นที่รู้จัก แบบพรุแตก คือในปี พ.ศ.2541 ซึ่งก่อนหน้านี้ประเทศไทยประสบกับสภาวะ เศรษฐกิจตกต่ำ ทําให้ต้องหาวิธีช่วยเหลือประเทศไทย โดยการดึงนักท่องเที่ยวเข้ามาให้มากที่สุด ซึ่งการท่องเที่ยวคือหนึ่งในแผนของรัฐบาลไทยในตอนนั้นมีการ กําหนดให้ปี พ.ศ.2541- 2542 เป็นปีท่องเที่ยวไทยโดยใช้ชื่อโครงการว่า Amazing Thailand 1998-1999 เรียกว่ามีการโปรโมทซื้อโฆษณากันข้ามปี ทั้งในไทยและต่างประเทศ ใครที่ผ่านยุคนั้นจะจำขึ้นใจว่า Amazing Thailand เป็นโครงการที่สร้างชื่อเสียงให้กับไทยอย่างมาก
จากการทํางานในโครงการนี้เอง แม้ว่าจํานวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่รายได้ต่ำกว่าที่คาดการณ์ในช่วงแรกอยู่พอสมควร ถึงอย่างไรก็ตาม โครงการ Amazing Thailand ก็ค่อย ๆ กระตุ้นเศรษฐกิจที่เคยตกต่ำให้ฟื้นคืนกลับมาได้ ส่งผลให้ภาคอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเติบโตอย่างไม่เคยมีมาก่อน และในเวลาต่อมา ก็ได้ยอมรับว่าเป็นหนึ่งในจุดหมายของนักท่องเที่ยวทั่วโลก
เมืองรองสวยไม่เป็นรอง POINT OF INTEREST
นับตั้งแต่ประเทศไทยมีองค์กรหลายภาคส่วนทั้งภาครัฐและเอกชนคอยช่วยเหลือสนับสนุนการท่องเที่ยว ทําให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลายเป็นเครื่องจักร สําคัญในการพัฒนาประเทศ ตั้งแต่การจ้างงานของภาคบริการ รายได้ในช่องทางต่าง ๆ ซึ่งก่อนโควิด-19 จะแพร่ระบาดเข้ามา แม้เศรษฐกิจไม่ดีมากนัก แต่การท่องเที่ยวของประเทศไทยยังพอสร้างรายได้ให้กับประเทศพอสมควรโดยตัวเลขในปี 2560 ผลิตภัณฑ์มวลรวมด้านการท่องเที่ยวของไทยมีมูลค่ารวม 2.73 ล้านล้านบาทเป็นสัดส่วน 17.65% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ซึ่งถือว่าเป็นเครื่องจักรตัวสําคัญที่สร้างรายได้ให้กับภาคประชาชนที่อยู่ในระบบ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมาโดยตลอด
แต่เมื่อกลับมาดูตัวเลขที่นักท่องเที่ยว ค่าใช้จ่ายไปอยู่ในจังหวัดใหญ่เท่านั้น เช่นจังหวัดกรุงเทพมหานคร ภูเก็ต ชลบุรี เชียงใหม่ ฯลฯ โดยในช่วงปี 2560 - 2562 มีการประเมินสัดส่วนรายได้จากการท่องเที่ยวของเมืองหลัก และเมืองรอง อยู่ที่ 90 :10 ซึ่งถือว่าห่างกันมาก แม้ในปี 2563 เมืองรองจะเพิ่มสัดส่วนเข้ามาเป็น 84 : 16 ในปี 2563 แต่ก็ถือว่าน้อยอยู่ดี และไม่ใช่แค่เรื่องของการกระจุกตัวของรายได้นักท่องเที่ยวในเมืองหลักอย่างเดียว แต่งบประมาณภาครัฐยังเทไปให้จังหวัดใหญ่มากกว่าเมืองรองหลายเท่าตัว
เห็นได้จากกรุงเทพมหานครเป็นจังหวัดที่ติดอันดับ 1 ใน 6 ที่มีงบประมาณ “ลงพื้นที่สูงสุดทุกปี โดยจังหวัดที่งบลงไปต่ำมากคือต่อเนื่องเป็นเวลา 5 ปี ได้แก่สมุทรปราการ ตาก ยะลา ปัตตานี ชัยนาท สิงห์บุรี ยโสธร อํานาจเจริญ และหนองบัวลําภู ความจริงการเที่ยวเมืองรองไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะรัฐบาลมีการ สนับสนุนการเที่ยวเมืองรองมาตั้งแต่ปี 2558 ใน 12 จังหวัด และมีการเพิ่มขึ้น 55 จังหวัด ในปี 2561 จนมาถึงปัจจุบันก็ยังมีการสนับสนุนกันอย่างต่อเนื่อง
ในช่วงวิกฤตโรคระบาดโควิด -19 ที่ผ่านมา การท่องเที่ยวของประเทศไทย ถือว่าซบเซาเป็นอย่างมาก จากมาตรการล็อกดาวน์ รวมถึงการเว้นระยะห่าง ทางสังคม ชาวต่างชาติไม่สามารถเดินทางเข้ามาได้ แม้จะมีการผ่อนปรนใน ภายหลังให้เปิดประเทศแบบปกติ ซึ่งระหว่างนั้นเองมีการเชิญชวนให้เที่ยวภายใน ประเทศโดยเฉพาะเมืองรอง ร่วมกับโครงการ เราเที่ยวด้วยกัน และมาตรการ เชิญชวนอื่นทั้งทางตรงและทางอ้อม