ธุรกิจขนส่งสินค้า ที่มีจำนวนสาขามากที่สุดในประเทศไทย
10.FedEx Express สัญชาติอเมริกา จำนวน 13 สาขา
FedEx Express ส่งสินค้าเป็นเจ้าแรกของประเทศไทยมาตั้งแต่ พ.ศ. 2542 บริการของ FedEx เน้นไปที่การส่งพัสดุระหว่างประเทศ ทั้งส่งด่วน และส่งแบบประหยัด ซึ่งถือว่าเป็นบริษัทที่มีมาตรฐานระดับโลก ให้บริการรับ/ส่ง พัสดุในจุดหมายปลายทาง 220 ประเทศและเขตปกครองทั่วโลกมาตลอดหลายปีที่ผ่านมา
9.Nim Express สัญชาติไทย จำนวน 31 สาขา ถือเป็นความภูมิใจของไทยเพราะ Nim Express เป็นกิจการของคนไทย ก่อตั้งโดย 3 พี่น้องตระกูลสุวิทย์ศักดานนท์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2514 แรกเริ่มให้บริการด้านขนส่งที่ภาคเหนือก่อนจะขยับขยายไปทั่วประเทศ ปัจจุบันธุรกิจของพวกเขาสามารถสู้บริษัทยักษ์ใหญ่จาก ต่างประเทศได้สบาย จุดเด่นคือ Nim Express เข้าใจความเป็นคนไทยส่งสินค้าหนัก ๆ ใหญ่ ๆ ในขณะเจ้าอื่นสู้ราคาไม่ได้
8.CJ Logistics สัญชาติเกาหลี จำนวน 86 สาขาเป็นบริษัทชื่อดังที่รับงานส่งสินค้าออนไลน์แบบรับจากมือผู้ส่ง และส่งถึงมือผู้รับ (Door to Door) ระดับโลก เดิมที CJ Group เป็นธุรกิจสาขาของ Samsung (ซัมซุง) แต่แยกออกมาภายหลัง การบริการส่งสินค้าของ CJ Logistics อาจไม่ได้หวือหวามากนักแต่ถือว่าอยู่ในระดับดีพอสมควร
7.J&T express สัญชาติอินโดนีเซีย จำนวน 300 สาขานับได้ว่าเป็นบริษัทส่งสินค้าที่ได้ใจลูกค้าอย่างสูง เพราะพวกเขามีราคาถูกกว่าเจ้าอื่น แถมวันเสาร์-อาทิตย์ยังทำงานพูดง่าย ๆ คือให้บริการ 365 วัน เท่านั้นยังไม่พอพวกเขามีระบบชดเชยความเสียหายอย่างเร่งด่วน โดยกรณีที่ลูกค้าไม่ได้ซื้อประกันคุ้มครองทำให้ครองใจลูกค้าไปเต็ม ๆ
6.BEST EXPRESS สัญชาติจีน จำนวน 500 สาขาBest Express ดำเนินกิจการแบ่งเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ คือ ให้บริการแบบ เอ็กซ์เพรส (Express) สำหรับลูกค้าที่เป็นธุรกิจอีคอมเมิร์ซ (E-Commerce) ธุรกิจขนาดย่อม หรือคนทั่วไปกับซัพพลายเชน (Supply Chain) สำหรับอุตสาหกรรมการผลิต ที่ต้องการจัดการคลังสินค้า และการกระจายสินค้า Best Express ถือเป็นบริษัทข้ามชาติที่เข้ามาทำธุรกิจขนส่งสินค้าที่เริ่มเติบโตเช่นกัน
5.Lazada eLogistics สัญชาติสิงคโปร์ จำนวน 800 สาขาหลังจากที่ Lazada เปิดเว็บไซต์ขายสินค้าออนไลน์จึงตั้งบริษัทส่งสินค้าของตัวเองขึ้นมาในชื่อว่า Lazada Elogistics ด้วยความที่เป็นบริษัทในเครือของ Lazada ทำให้ระบบการส่งสามารถทำโปรโมชั่นสามารถส่งสินค้าราคาประหยัดได้ในตัวที่ไม่เน้นความรวดเร็ว นอกจากนี้ยังจัดส่งฟรี เมื่อซื้อสินค้าครบมูลค่าที่กำหนดอีกด้วย
4.SCG EXPRESS สัญชาติญี่ปุ่น จำนวน 1,141 สาขาเป็นการร่วมทุนระหว่างบริษัทยักษ์ใหญ่คือบริษัท เอสซีจี ซิเมนต์ - ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง จำกัด และ บริษัท
ยามาโตะ เอเซีย จำกัด SCG EXPRESS ให้บริการหลากหลายตั้งแต่ให้บริการทั้งในรูปแบบ B2B (ธุรกิจ ส่งถึง ธุรกิจ) B2C (ธุรกิจ ส่งถึง ลูกค้า) C2C (ลูกค้าทั่วไป ส่งถึง ลูกค้าทั่วไป) นอกจากนี้ยัง บริการรับพัสดุถึงบ้านลูกค้า (TA-Q-BIN) รวมถึงบริการ COOL TA-Q-BIN การขนส่งสินค้าแบบแช่เย็นหรือแช่แข็งอีกด้วย
3.FLASH Express สัญชาติไทย จำนวน 3,500 สาขาถือว่าเป็นน้องใหม่มาแรงของวงการโลจิสติกส์ ที่สำคัญเป็นของคนไทย แม้จะมีจีนเข้ามาเอี่ยวบ้างก็ตาม FLASH Express เพิ่งก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2560 นี่เอง พวกเขามีสโลแกน “คิดถึง ส่งถึง” ที่เข้าใจคนส่ง และรับสินค้า ความพิเศษของ Flash Express คือมีบริการรับสินค้าที่บ้านโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น ที่สำคัญราคาถูกมาก
2.ไปรษณีย์ไทย สัญชาติไทย จำนวน 1,276 สาขา ที่ทำการไปรษณีย์อนุญาต 3,383 สาขาเป็นองค์กรขนส่งสินค้าให้กับประเทศไทยที่เก่าแก่ที่สุด เพราะเริ่มมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2426 ในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยมีชื่อเดิมว่า “ไปรษณียาคาร” ปัจจุบันเป็นรัฐวิสาหกิจที่ทำธุรกิจโลจิสติกส์ มีกำไรมากที่สุดแห่งหนึ่งในจำนวนรัฐวิสาหกิจของประเทศไทย จุดเด่นของไปรษณีย์ไทยคือสามารถส่งเข้าถึงได้ทุกบ้านรู้ทุกซอกทุกมุม ในพื้นที่ของประเทศไทยในขณะที่เจ้าอื่นยังทำไม่ได้
1.Kerry Express สัญชาติฮ่องกง จำนวน 5,500 สาขาถือว่าเป็นบริษัทที่ให้บริการรับส่งสินค้าที่เปิดตัวมาแรงมากในยุคปัจจุบัน ซึ่งเปิดตัวมาตั้งแต่ พ.ศ. 2549 โดยนายโรเบิร์ต กัวะ (Robert Kuok) ด้วยจำนวนสาขาที่มากที่สุดในประเทศไทยทำให้มีจำนวนสินค้าที่ผ่านเข้ามาให้ เคอรี่ เอ็กซ์เพรส ส่งเป็นจำนวนกว่า
1 ล้านชิ้นต่อวัน แต่อีกด้านหนึ่งก็ทำให้คุณภาพการให้บริการรวมถึงราคาที่แพงขึ้น ทำให้มีการร้องเรียนมากมายซึ่งต้องแก้ไขกันต่อไป