เตรียมตัวก่อนฟังผลการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 35

เตรียมตัวก่อนฟังผลการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 35

การประชุมสุดยอดอาเซียน จัดขึ้นโดยสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) ภายใต้หัวข้อเศรษฐกิจ, สังคม และวัฒนธรรมของประเทศสมาชิกต่าง ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินกิจกรรมความร่วมมือต่าง ๆ ของบรรดาประเทศสมาชิก  ซึ่งจะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพ การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งแรกจัดขึ้นที่บาหลี อินโดนีเซีย เมื่อกุมภาพันธ์ 2519 ส่วนไทยเป็นเจ้าภาพครั้งแรกเมื่อธันวาคม 2538 (การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 5) จัดที่กรุงเทพมหานคร ต่อด้วยครั้งที่ 14 และ 15 เมื่อปี 2552 จัดที่ชะอำ, หัวหิน และพัทยา หลังจากการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 34 เสร็จสิ้นลง ไทยจะเป็นเจ้าภาพอีกครั้งในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 35 ที่เกิดขึ้นในเดือนนี้

 

สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East Asian Nations) หรือ อาเซียน (ASEAN) เป็นองค์การทางภูมิรัฐศาสตร์และเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีประเทศสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ ได้แก่ กัมพูชา ไทย บรูไน พม่า ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย ลาว เวียดนาม สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย อาเซียนมีพื้นที่ราว 4,479,210 ตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 625 ล้านคน ในปี พ.ศ. 2553 จีดีพีของประเทศสมาชิกรวมกันคิดเป็นมูลค่าราว 1.8 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นลำดับที่ 9 ของโลกเรียงตามจีดีพี อาเซียนมีภาษาอังกฤษเป็นภาษาทางการ 
 

อาเซียนมีจุดเริ่มต้นจากสมาคมอาสา (ASA, Association of South East Asia) ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2504 โดยไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2510 ได้มีการลงนามในปฏิญญากรุงเทพฯ อาเซียนได้ถือกำเนิดขึ้นโดยมีรัฐสมาชิกเริ่มต้น 5 ประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อความร่วมมือในการเพิ่มอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ การพัฒนาสังคม วัฒนธรรมในกลุ่มประเทศสมาชิก และการธำรงรักษาสันติภาพและความมั่นคงในภูมิภาค และเปิดโอกาสให้คลายข้อพิพาทระหว่างประเทศสมาชิกอย่างสันติ  
 

หลังจาก พ.ศ. 2527 เป็นต้นมา อาเซียนมีรัฐสมาชิกเพิ่มขึ้นจนมี 10 ประเทศในปัจจุบัน กฎบัตรอาเซียนได้มีการลงนามเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2551 ซึ่งทำให้อาเซียนมีสถานะคล้ายกับสหภาพยุโรปมากยิ่งขึ้น เขตการค้าเสรีอาเซียนได้เริ่มประกาศใช้ตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2553 และกำลังก้าวสู่ความเป็นประชาคมอาเซียน ซึ่งจะประกอบด้วยสามด้าน คือ ประชาคมอาเซียนด้านการเมืองและความมั่นคง ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ในปี พ.ศ. 2558 
 

การประชุมสุดยอดอาเซียน (ASEAN Summit) เป็นการประชุมประจำปีที่จัดขึ้นโดยสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East Asian Nations) หรือ อาเซียน (ASEAN) ภายใต้หัวข้อ เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของประเทศสมาชิกต่าง ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้แนวทางในการดำเนินกิจกรรมความร่วมมือต่าง ๆ ของเหล่าสมาชิก 

ประเทศสมาชิกของอาเซียนได้ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพในการจัดการประชุม การประชุมสุดยอดอาเซียนจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2519 ที่จังหวัดบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย และประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพครั้งแรกในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 5 ที่กรุงเทพมหานคร 
 

การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 4 จัดขึ้นใน พ.ศ. 2535 การประชุมในครั้งนี้ได้เป็น จุดเริ่มต้นของการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area หรือ AFTA) ขึ้น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือและเพิ่มขีดความสามารถในการเป็นฐานการผลิตที่สำคัญของเหล่าประเทศสมาชิกในการป้อนหรือส่งออกสินค้าไปสู่ตลาดโลก โดยเปิดเสรีทางการค้าและลดภาษีซึ่งถือเป็นอุปสรรคสำคัญ รวมทั้งลดข้อกีดขวางทางการค้าต่าง ๆ ที่นอกเหนือจากภาษีด้วย 
 

การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 12 การประชุมในครั้งนี้จัดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2550 ณ ประเทศฟิลิปปินส์ โดยผู้นำอาเซียนได้เลื่อนการจัดตั้งสมาคมอาเซียนจากเดิมที่จะจัดตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2563 ให้มาเป็น พ.ศ. 2558 เร็วขึ้นจากเดิมห้าปี นอกจากนี้ ยังมีการตรากฎบัตรอาเซียนขึ้นเป็น กรอบทางสถาบันและกฎหมายอันมีผลใช้บังคับแก่ประเทศต่าง ๆ ที่เป็นสมาชิก 
 

การประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 35 และการประชุมสุดยอดที่เกี่ยวข้องจำนวน 22 ฉบับ เนื่องจากประเทศไทยในฐานะประธานอาเซียนปี 2562 จัดประชุมระหว่างวันที่ 2-4 พฤศจิกายน 2562 โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน 

ก่อนอื่นต้องย้อนไปในช่วงวันที่ 22-23 มิถุนายน 2562 ที่ผ่านมา ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดอาเซียน (ASEAN Summit) ครั้งที่ 34 ร่วมกับผู้นำอาเซียนอีก 9 ประเทศ นับเป็นการประชุมครั้งแรกภายใต้การดำรงตำแหน่งประธานอาเซียนของไทยต่อจากสิงคโปร์ โดยครั้งนี้ได้กำหนดแนวคิด Advancing Partnership for Sustainability หรือ “ร่วมมือ ร่วมใจ ก้าวไกล ยั่งยืน” หวังยึดโยงถึงยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และเตรียมความพร้อมอาเซียนรับมือการเปลี่ยนแปลงด้านดิจิทัลและนวัตกรรรมแห่งอนาคต    
 

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี  เป็นประธานการประชุมการประชุมสุดยอดอาเซียน (ASEAN Summit) ครั้งที่ 34 ที่กรุงเทพฯ ร่วมกับผู้นำอาเซียนอีก 9 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย, สิงคโปร์, มาเลเซีย, บรูไน ฟิลิปปินส์, กัมพูชา, เมียนมา, ลาว และเวียดนาม โดยแนวคิดหลัก (theme) ในฐานะที่ไทยดำรงตำแหน่งประธานอาเซียนคือ “ร่วมมือ ร่วมใจ ก้าวไกล ยั่งยืน” (Advancing Partnership for Sustainability) ซึ่งจะมีการหารือประเด็นที่เกี่ยวข้องกับ 3 เสาหลักของอาเซียน ทั้งด้านการเมือง สังคม และเศรษฐกิจ   
 

ไฮไลท์ของการประชุมคือการมุ่งขับเคลื่อน 13 ประเด็นเศรษฐกิจ ที่ประเทศไทยมีเป้าหมายขับเคลื่อนอาเซียนไปสู่อนาคต ท่ามกลางปัญหาเศรษฐกิจโลกชะลอตัวจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีน การกีดกันทางการค้าที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น และการเปลี่ยนแปลงของโลกจากเศรษฐกิจยุคดิจิทัลที่ชาติสมาชิกอาเซียนจำเป็นต้องปรับตัวเพื่อไม่ให้ตกขบวนการค้าโลก 
 

ผลสรุปในการประชุมครั้งนี้จะเป็นอย่างไร ต้องติดตามกันครับ

 

Text : Aumlove

ไทยเป็นเจ้าภาพอีกครั้งในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 35 ที่เกิดขึ้นในเดือนนี้