เมื่อก้านกิ่งวรรณกรรม เริ่มทำหน้าที่ ในงานมหกรรมหนังสือ

เมื่อก้านกิ่งวรรณกรรม เริ่มทำหน้าที่ ในงานมหกรรมหนังสือ

ถ้าเปรียบวรรณกรรมเป็นต้นไม้  บัดนี้ วรรณกรรมไทยต้นนี้เริ่มได้รับน้ำท่าบำรุงราก และบำรุงใบ บ้างแล้ว กิ่ง ก้าน ใบ จึงเริ่มขยายไม่แคระแกรนอยู่กับที่  ในงานมหกรรมหนังสือที่เพิ่งผ่านมาเมื่อต้นเดือนตุลาคม 62 แม้จะไปจัดในสถานที่ใหม่ ก็ยังมีแฟน ๆ  นักอ่าน หนอนหนังสือทั้งหลายหลั่งไหลไปกระทบใหล่นักเขียน สำนักพิมพ์ กันไม่เว้นแต่ละวัน 
 

ซึ่งทางชมรมวรรณศิลป์ประภัสสร เสวิกุล ก็มีโอกาสสานปณิธานของประภัสสร เสวิกุล ศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์ นวนิยาย กวีนิพนธ์ ประจำปี 2554 ด้วยการจัดมุมสนทนา บนเวทีทั่วไป ได้รับเกียรติจากนักคิด นักเขียน นักการทูตต่างประเทศ บรรณาธิการผู้มาก ความสามารถ มาช่วยกันสานปณิธานในครั้งนี้กันอย่างอบอุ่น  

ทั้งนี้เป็นการต่อเนื่องจากการที่เราได้ไปร่วมงานนักเขียนที่ได้รับเชิญจากสมาพันธุ์นักเขียนแห่งคาซัคสถานนั่นเอง  ความสำคัญของประเทศนี้ถ้ามองเผิน ๆ อาจจะนึกแค่ว่าเคยเป็นหนึ่งในกลุ่มของประเทศรัสเซีย แต่ถ้ามองลงไปให้ลึก ๆ  จะพบว่า หลังจากที่คาซัคสถานได้ประกาศเป็นประเทศอิสระได้ไม่นาน คาซัคสถานก็ได้ต้อนรับผู้นำคนใหม่ของจีน ซึ่งก้าวขึ้นสู่อำนาจในปี 2556 นั่นก็คือประธานาธิบดีสีจิ้นผิง  ผู้นำรุ่นที่ 5 ของจีนที่ได้รับการเสนอชื่อขึ้นมาเป็นผู้สืบอำนาจต่อจาก ท่านเหมาเจ๋อตุง เติ้งเสี่ยวผิง เจียงเจ๋อหมิน และ หูจิ่นเทา ทำให้เขากลายเป็นผู้นำประเทศมหาอำนาจที่มีความสำคัญยิ่งประเทศหนึ่งของโลก  
 

และในปีแรกที่เขาเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดี เขาเลือกที่จะเดินทางไปเยือนประเทศในแถบเอเชียกลางที่มีชายแดนติดต่อกัน หนึ่งในประเทศเหล่านั้นก็คือ คาซัคสถาน และสิ่งที่ประธานาธิบดีสีจิ้นผิง กล่าวไว้ในการเยือนครั้งนี้ ก็คือการนำโครงการ One Belt One Road มาฟื้นฟูขึ้นใหม่  พูดง่าย ๆ ก็คือการฟื้นฟูเส้นทางสายไหมทางบกในอดีต ให้กลับมาใช้ได้จริงในยุคปัจจุบันนั่นเอง จากปี 2556 มาจนถึง  2562 ในปีนี้ เส้นทางสายไหมทางบกยุคปัจจุบันกลายเป็นเรื่องที่มีความชัดเจนและมีเส้นทางเชื่อมต่อกันอย่างแท้จริงมิใช่แค่คำพูดในฝันอีกต่อไป เพราะประเทศที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้มีมากถึง70 ประเทศ ไม่ว่าจะเป็นเส้นทางทางถนน เส้นทางรถไฟ เราก็ได้เห็นเป็นรูปธรรมกันแล้ว  

สำหรับคาซัคสถานเองนั้น ความเปลี่ยนแปลงก็มีให้เห็นมากมายเช่นกัน เริ่มจากความเจริญที่ดาหน้ากันเข้ามา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสถาปัตยกรรมที่แต่ละแห่งสร้างอย่างใหญ่โตโอฬาร และรูปแบบส่วนใหญ่ตามสถาปัตยกรรมของโซเวียต วิถีชีวิตของผู้คนในเมืองใหญ่ ๆ ที่มีความทันสมัย จนถึงการย้ายเมืองหลวง และเปลี่ยนชื่อเมืองหลวง  
 

เมืองหลวงเก่าคือ อัลมาเตอ (Almaty)  เมืองหลวงใหม่  คือ แอสตาน่า ( Astana )  และเพิ่งเปลี่ยนชื่อใหม่มาเป็น นูร์-ซุลตัน (Nursultan) เมื่อเดือนมิถุนายน 2541 เพื่อให้เป็นเกียรติให้กับท่านอดีตประธานาธิบดีคนแรกที่ปกครองคาซัคสถานมาตั้งแต่ประเทศคาซัคสถานประกาศเป็นประเทศอิสระจากสหภาพโชเวียตเป็นประเทศสุดท้าย เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2534 นั่นเอง ด้วยความใหญ่โตของพื้นที่ประเทศที่อยู่ในเอเชียกลาง มีขนาด 2.7 ล้านตารางกิโลเมตร จึงเป็นประเทศที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 9 ของโลก และผู้คนได้ครองสถิติการอยู่อาศัยที่สบายมากนั่นคือในหนึ่งตารางเมตรมีผู้คนอาศัยอยู่เพียง 6 คนเท่านั้น เพราะผู้คนทั้งประเทศมีประมาณ 17 ล้านคนเท่านั้น และแน่นอนที่วรรณกรรมของไทยและคาซัคสถานจะได้รับการสืบสานและเผยแพร่ในประเทศทั้งสองให้มากขึ้นนับแต่นี้ไป  

และนั่นคือความเป็นมาหลังภาพที่นำมาฝากกัน ในฉบับนี้ค่ะ 

 

ผู้เขียน : ชุติมา เสวิกุล

ถ้าเปรียบวรรณกรรมเป็นต้นไม้ บัดนี้ วรรณกรรมไทยต้นนี้เริ่มได้รับน้ำท่าบำรุงราก และบำรุงใบ บ้างแล้ว กิ่ง ก้าน ใบ