ตำนาน สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
หนังไทยจะสู้ฝรั่งได้หรือ ... เป็นคำถามที่ผมเคยได้ยินได้ฟังมาบ่อยครับ เคยคิดเล่นๆ ว่าจะสู้ได้อย่างไร ทุนสร้างก็ต่างกัน เทคโนโลยีก็ห่างกันลิบลับ แต่ตอนนี้ผมตอบคนเหล่านี้
ได้แล้วครับ เพราะเรามีหนังทำเงินทั่วโลกอย่าง “พี่มาก..พระโขนง” และมีหนังฟอร์มยักษ์อย่าง “ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช” ให้คนไทยได้ดู สิบกว่าปีที่ผมโตมากับหนังของท่านมุ้ยเรื่องนี้ ผมพูดได้เต็มปากเต็มคำว่า หนังไทยสู้ฝรั่งได้ ... และสู้ได้สบายครับ ภาคที่แล้วทิ้งระยะห่างนานถึง 2 ปี กว่าจะได้ดูตอนยุทธหัตถี
หนังไทยจะสู้ฝรั่งได้หรือ ... เป็นคำถามที่ผมเคยได้ยินได้ฟังมาบ่อยครับ เคยคิดเล่นๆ ว่าจะสู้ได้อย่างไร ทุนสร้างก็ต่างกัน เทคโนโลยีก็ห่างกันลิบลับ แต่ตอนนี้ผมตอบคนเหล่านี้ได้แล้วครับ เพราะเรามีหนังทำเงินทั่วโลกอย่าง “พี่มาก..พระโขนง” และมีหนังฟอร์มยักษ์อย่าง “ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช” ให้คนไทยได้ดู สิบกว่าปีที่ผมโตมากับหนังของท่านมุ้ยเรื่องนี้ ผมพูดได้เต็มปากเต็มคำว่า หนังไทยสู้ฝรั่งได้ ... และสู้ได้สบายครับ ภาคที่แล้วทิ้งระยะห่างนานถึง 2 ปี กว่าจะได้ดูตอนยุทธหัตถี
ซึ่งหนังถูกเลื่อนแล้วเลื่อนอีกอันเนื่องมาจากอุบัติเหตุเพลิงไหม้ทำให้ฟิล์มบางส่วนเสียหาย บวกกับความประณีตของผู้กำกับ จนแล้วจนรอดภาพยนตร์เรื่องนี้ก็มาถึงบทสรุปแล้วครับ ...
ภาค 4 ศึกนันทบุเรง ศึกคราวนั้นองค์ดำเกือบจะต้องเสียทหารเอกคนสำคัญพระราชมนูหรือว่าบุญทิ้ง ซึ่งถึงแม้จะรอดมาได้ แต่พระราชมนูก็ต้องกลายเป็นเชลยศึกอยู่ในค่ายทหารของพม่ารามัน ... ก่อนมาเล่าเรื่องย่อภาค 5 เรามาย้อนความทรงจำกันหน่อยครับ ภายหลังจากที่สมเด็จพระนเรศวร (พันโทวันชนะ สวัสดี) ทรงประกาศเอกราชที่เมืองแครง (ภาค 2 ประกาศอิสรภาพ) ทำให้พระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรง (จักรกฤษณ์ อำมะรัตน์) ก็ให้จัดทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาเป็นหลายทัพ แต่ไม่สามารถเอาชนะพระนเรศวรได้ พระเจ้านันทบุเรงจึงยกทัพใหญ่เป็นทัพกษัตริย์ไพร่พลกว่า 2 แสน ช้างศึกกว่า 700 เชือก เข้าตีกรุงศรีอยุธยา เรื่องราวของภาค 5 มาเริ่มต้นตรงนี้ล่ะครับ (ผมขออนุญาตสปอยเล็กๆ นะครับ แต่เชื่อว่าหลายท่านคงเคยอ่านประวัติศาสตร์มาแล้ว) ศึกในช่วงต้นสมเด็จพระนเรศทรงใช้พระนครเป็นยุทธภูมิรับศึก และวางยุทธศาสตร์ตั้งรับในเชิงรุก สวนกลับด้วยกองทัพเรือ ทรงนำเรือปืนขึ้นไปยิงถล่มค่ายหลวงพระเจ้านันทบุเรง จนพม่าแตกระส่ำระสาย พระเจ้านันทบุเรงบาดเจ็บสาหัสถึงกับเสียพระสิริโฉมและทุพพลภาพ
หลังพ่ายศึกพระเจ้านันทบุเรงยกทัพกลับหงสา เพื่อรักษาพระอาการบาดเจ็บสาหัส เมื่อทรงพระอาการทุเลาลง จึงโปรดให้มังสามเกียด (นภัสกร มิตรเอม) อุปราชเจ้าวังหน้า (ลูกชาย) กรีฑาทัพไปตีกรุงศรีอยุธยาอีกคำรบ จึงเป็นที่มาของสมรภูมิสุดท้าย ... ศึกยุทธหัตถี
ทุกบท ทุกตัวละคร ทุกการแสดงโดยเฉพาะพี่นก ฉัตรชัย เปล่งพานิช ในบทสมเด็จพระมหาธรรมราชา ทำให้ผมรักภาพยนตร์เรื่องนี้
ผมชอบซีนที่พระนเรศเข้าเฝ้าสมเด็จพระมหาธรรมราชามากครับ ดูซึ้งกินใจรักชาติขึ้นเป็นกอง และฉากทำศึกยุทธหัตถีระหว่างมังสามเกียดกับสมเด็จพระนเรศ เป็นฉากรบที่เราสร้างได้ชนะหนังสงครามของฝรั่งแบบสบายๆ เลยครับ คุ้มค่ากับการติดตามยาวนานกว่าสิบปี ซึ่งทุกครั้งที่ได้ดูแต่ละภาคแต่ละตอนผมไม่เคยผิดหวังเลยครับ แต่ภาคสุดท้ายนี้กลับทำให้ผมรู้สึกยังไม่เต็มอิ่ม ... โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงท้ายของเรื่องจบได้ใจร้ายมาก ‘สั้นกระชับจนไม่ทันตั้งตัว อยู่ๆ หนังก็จบลงไปดื้อๆ’ จนทำให้หลายคนอดคิดไม่ได้ว่า เอ๊ะ ... หรือนี่ยังไม่ใช่ภาคสุดท้ายกันแน่ ผมพยายามหาคำตอบเกี่ยวกับคำถามนี้อยู่หลายวัน สืบได้ความว่าอย่างนี้ครับ มีแหล่งข่าวบอกว่าจะมีภาค 6 จริงๆ ครับ โดยเนื้อหาจะเป็นช่วงหลังศึกสงคราม แต่ผมยังไม่เชื่อเต็มร้อยนะครับเพราะยังไม่ได้ยินจากผู้ที่เกี่ยวข้องกับหนังโดยตรง แต่ก็แอบหวังในใจเล็กๆ ให้มีภาคต่อครับ ...