ชลดา อนันต์นาวีนุสรณ์

ชลดา อนันต์นาวีนุสรณ์

ถ้าใครสักคนกำลังคิดแบบนี้อยู่ บอกได้เลยว่าไม่ใช่ เพราะเบื้องหลังการทำงานนั้นไม่ง่ายอย่างที่คิดและต้องใช้ศิลปะใช้การจัดวางอาหารอย่างผู้ชำนาญการ หรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Food Stylist

 

คุณผึ้ง ชลดา อนันต์นาวีนุสรณ์ ได้อธิบายความมายของคำคำนี้ไว้อย่างน่าสนใจว่า เป็นคนที่จัดหน้าตาอาหาร ที่นอกเหนือจากในจานที่เชฟทำมาให้ โดยจะจัดภาพรวมของอาหารในช็อตหรือในฉากนั้นๆ รวมถึงบรรยากาศรอบๆ จาน ซึ่งต้องมีพร็อพอื่นๆ เป็นส่วนประกอบเช่น แก้วน้ำ ผ้า ช้อนส้อม ฯลฯ เพื่อให้เหมาะกับอาหารจานที่นำมาถ่าย

 

“Food Stylist จะเป็นคนกลางคอยประสานงานระหว่างช่างภาพกับคนทำอาหาร เราจะทำยังไงให้ภาพที่ออกมานั้น Prefaceในรูปภาพของช็อตนั้นๆ อาจต้องบอกช่างภาพว่าต้องการมุมนี้ หรือให้คร็อปซีกใดซีกหนึ่ง เหมือนกับว่าเราจะต้องเป็นอาร์ตไปในตัว เรากับช่างภาพต่างช่วยกันทำงานให้ภาพที่ออกมาดีที่สุด

 

“ตอนเด็กๆ เป็นคนที่ชอบขายของ ชอบเล่นหม้อข้าวหม้อแกง ชอบปั้นดินน้ำมัน แต่ก็ไม่รู้หรอกว่าโตขึ้นมาจะได้มาทำด้านนี้ เราชอบทำอะไรที่เป็นเวลา ไม่ชอบทำอะไรที่มันยืดเยื้อ เราเป็นคนชอบที่ให้คนมาจำกัดเวลาให้เรา แล้วเราก็สามารถทำงานตามระยะเวลาที่กำหนดได้ พอมาทำงานแม็กกาซีน เราก็รู้สึกชอบ ก็ทำแบบนี้ยาวเลย จัดอาหารแทบทุกวัน

 

“อย่างพออยู่บ้าน ก็เอาเมนูง่ายๆ อย่างไข่เจียวธรรมดา ทำยังไงให้เป็นไข่เจียวระดับภัตตาคารห้าดาว ถ้าไม่ถูกใจก็เปลี่ยนใหม่ไข่เจียวจานนั้นจาก 5 บาทก็กลายเป็น 50 บาทได้ คือเราต้องสามารถเพิ่มมูลค่าจากสินค้าให้กลายเป็นระดับโรงแรมให้ได้”

 

สไตล์อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวคุณผึ้งก็คือการทำให้อาหารเรียบง่ายที่สุด แต่ก็ต้องมาสวยงามด้วยเช่นกัน จึงต้องใช้พื้นฐานทางศิลปะเข้ามาช่วย โดยมีองค์ประกอบเรื่องศิลป์ สี แสง หรือวัตถุนำมาประกอบกันเพื่อให้งานออกมาดูสวยงามและน่ารับประทาน

 

“เราจะต้องจัดในรูปใหม่ๆ ได้ตลอดเวลา คือต้องคิดตลอด แต่การคิดของเราเป็นความคิดที่สนุก ไม่ได้เครียด ถึงแม้จะเป็นงานที่ลูกค้าคาดหวังเยอะก็ตาม ลูกค้าทุกคนคาดหวังว่าสินค้าของเขาต้องสวย ต้องแข่งกับคู่แข่งได้ ก็เหมือนเป็นการพัฒนาตัวเองเรื่อยๆ ต้องหาข้อมูลตลอด

 

“ถ้าเราไปที่ซูเปอร์มาร์เก็ตจะรู้เลยว่าผลิตภัณฑ์ไหนที่ใช้หรือไม่ใช้ Food Stylist ภาพไหนใช้ช่างภาพธรรมดาเราจะดูรู้ สินบางค้าตัวเหมือนเมืองนอกมากๆ แต่กลับเป็นของไทย”

 

ส่วนงานที่คุณผึ้งยกให้เป็นมาสเตอร์พีชก็คืองานที่ทำให้กับผลิตภัณฑ์ไวไวควิก เจ้าตัวเองบอกว่าประทับใจกับงานนี้เพราะได้ออกไปสู่สาธารณะชนมากที่สุด

 

“บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปหน้าตาก็จะคล้ายๆ กัน เราจึงต้องจัดออกมาให้ดูแปลกกว่าใคร การถ่ายบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมันยากตรงที่เส้นจะอืดน้ำเร็ว แล้วช่างภาพ สไตลิสต์ต้องไว ถ่ายกันใช้เวลา 1 วัน แต่ 2 จาน จะจัดออกมาเป็น 4 แบบ ถ่ายแต่ละช็อตต้องเติมน้ำตลอด

 

“ลูกค้าเขาก็อยากจะดูหลายๆ แบบ เท่าที่เห็นก็มีบะหมี่ มีกุ้ง แต่เขาไม่รู้ว่าจะจัดกุ้งยังไงให้มีความหลากหลาย มันต้องแฝงความเป็นศิลปะให้ดูน่ากิน โดยมีองค์ประกอบศิลป์ด้วย ส่วนกุ้งเราก็เสียบไม้จิ้มฟันข้างใน เพราะว่ามันจะโค้งเวลาถูกน้ำร้อน แล้วกุ้งก็มีหลายแบบ ทั้งมีเปลือก ไม่มีเปลือก ผ่าหลังหรือไม่ผ่าจะวางมุมไหนให้มันเห็นชัด ถึงจะเห็นหางแพนเป็นพัด เราต้องดู 360 องศาของตัวกุ้ง”

 

ปัจจุบันอาหารไทยเป็นที่รู้จักในต่างประเทศเป็นอย่างดี วงการอาหารไทยจึงมีการเติบโตอยู่ตลอดเวลา ทำให้ช่องทางการทำงานในด้านที่เกี่ยวกับอาหารยังเปิดกว้างอยู่เสมอ

 

“เราต้องคงเอกลักษณ์ของเราให้ชัดเจน อย่าไปเปลี่ยนแปลงสูตร อาหารไทยมันยังเดินต่อไปเรื่อยๆ เพราะแพ็คเก็จสินค้ามีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดแทบทุกวัน แต่ละบริษัทมีการแข่งขันกัน ทำอย่างไรให้ดึงดูดใจลูกค้า เรื่องรูปแบบผลิตภัณฑ์จึงเป็นสิ่งสำคัญในการจูงใจให้ซื้อสินค้า”

 

ในตอนท้ายคุณผึ้งยังได้แนะนำคนที่อยากจะเข้ามาทำอาชีพนี้ว่า ต้องมีใจรักทางด้านนี้ และควรมีพื้นทางด้านศิลปะพร้อมๆ กับฝีมือทางด้านการทำอาหารอย่างละครึ่ง รวมทั้งต้องหมั่นศึกษาหาความรู้ มีข้อมูลที่แน่น รวมถึงการฝึกฝนการจัดอาหารให้มากๆ

 

“การเป็น Food Stylist มันต้องอาศัยระยะเวลาและประสบการณ์ ไม่มีใครเก่งได้ภายในปีเดียว เราต้องเรียนรู้ทุกอย่าง ต้องเรียนรู้วัตถุดิบต่างๆ เป็นยังไง เช่นผักชิ้นนี้จะต้องกินคู่กับเนื้อสัตว์ กินคู่กับเนื้อปลา เนื้อไก่อะไรอย่างนี้ ความยากง่ายมันก็น่าจะอยู่ที่ความขยันด้วย การมีประสบการณ์จะช่วยให้เราแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้”

ภาพถ่ายผลิตภัณฑ์อาหารในโฆษณาหรือติดอยู่ตามหีบห่อ