ย้อนอดีตกลับไปหา “เวลาในขวดแก้ว”

ย้อนอดีตกลับไปหา “เวลาในขวดแก้ว”

เมื่อตอนที่คุณประภัสสร ใกล้ครบวาระประจำการที่สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงอังการ่า ประเทศตุรกี อยู่ ๆ เราก็ ได้ข่าวว่าคุณประยูรวงษ์ชื่น สนใจ “เวลาในขวดแก้ว” อยากนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์ในตอนนั้นเรื่องของคุณประภัสสร ได้แต่ทำละครโทรทัศน์เริ่มด้วย ช่อปารีชาติ ที่คุณสถาพร นาควิลัย แสดงคู่กับ คุณฮันนี่ ภัสสร บุณยเกียรติ ถือเป็น เรื่องแรกนำร่อง แล้วจึงมีเรื่องอื่น ๆ ตามมา แต่กับภาพยนตร์ยังไม่เคยมีมาก่อน คุณประภัสสรเห็นความตั้งใจจริง ของคุณประยูร จึงไม่ขัดข้องที่จะมอบ “เวลาในขวดแก้ว” ไปสร้างเป็นภาพยนตร์ หลังจากนั้นไม่นาน เราก็เดินทางกลับมาเมืองไทย 

คุณประยูร เตรียมการสร้างเวลาในขวดแก้ว ไม่ว่าจะเป็นบท การแสดง โดยอาจารย์จี๋ อมรศรี เย็นสำราญ ที่นักเรียนการแสดง ช่อง 3 รู้จักกันดีแล้ว ทางด้านการกำกับการแสดงคุณประยูร ยังดึงอาจารย์จี๋ และคุณ อนุกูล จาโรทก มาร่วมกันกำกับด้วย แต่ที่สำคัญที่สุดก็คือการเฟ้นหาตัวนักแสดงเพื่อมารับบท นัต ตัวเอก ของเรื่องซึ่งตามบทประพันธ์ นัตเป็นเด็กที่มีร่างกายอ้วน และ ยังต้องคอยแบกภาระในการดูแลหนิง น้องสาว ที่แสดงโดย จิตโสภิณ ลิมปิสวัสดิ์ ตามที่พ่อสั่งเอาไว้ 

ในการหาตัวนักแสดงเพื่อมารับบทนัตนั้น คุณประยูรพยายาม อย่างมากที่อยากได้บุคลิกตรงตามในบทประพันธ์ แต่เมื่อมีทดสอบบทกันแล้ว ยอมรับกับคุณประภัสสรว่า ตั้งใจอยากหาให้ตรงตาม บทประพันธ์ แต่เมื่อลองหามา ปรากฏเล่นไม่ได้บ้าง อารมณ์ไม่ได้ ดังนั้นจึงตกลงใจเลือกให้ โก้ นฤเบศร์ จินปิ่นเพชร รับบทนัต และวาสนา พูลผล รับบทจ๋อม เพื่อนนักเรียนชั้นโต

กว่าทีนัตแอบชอบอยู่ และ ปวีณา ชารีฟสกุล รับบทป้อม ผู้แอบมีใจให้นัต ส่วนผู้มารับบทพ่อ แม่ ก็ได้ มยุรา ธนะบุตร และ จรัล มโนเพรช

ดารามากฝีมือ มาช่วยเติมเต็มให้ชีวิตชีวากับเรื่อง ขาดไม่ได้คือเพลงนำและ เพลงประกอบ ได้ทีมบัตเตอร์ฟลาย มาดูตรงนี้ให้จากนั้นก็เป็นการฝึกซ้อม ให้กับนักแสดงและการเตรียมความพร้อมเพื่อเริ่มการถ่ายทำหลังจากพวกเรากลับมาถึงกรุงเทพได้ไม่กี่วัน คุณประยูรก็เริ่มประเดิม การถ่ายทำ และเราก็ไม่พลาดในการไปร่วมชมและให้กำลังใจกับคุณประยูรและ ทีมงาน ฉากเพิงหมาแหนงอันเป็นฉากเปิดเรื่อง และเสียงเพลงจากแผ่นเสียง เพลงเวลาในขวดแก้ว ดังก้องกังวานขึ้น ตั้งแต่่นั้นมา วันเสาร์อาทิตย์ไหนที่มี การถ่ายทำถ้าเราไม่ติดอะไร เราก็จะแวะไปชมด้วยเสมอ อย่างฉากใหญ่น่าตื่นตาตื่นใจฉากหนึ่ง คือการแข่งฟุตบอลของโรงเรียนนัต และโรงเรียนคู่แข่ง ฉากนี้ถ่ายทำที่สนามกีฬาจริง ๆ เด็กนักเรียนถ้าจำไม่ผิดจากสวนสุนันทา นั่งเชียร์กันเต็มอัฒจันทร์ ก่อนทีจะถ่ายทำทางผู้กำกับประกาศ ให้เด็ก ๆ ฟังว่าเมื่อถึงเวลาต้องทำอย่างไรบ้าง แล้วการถ่ายทำก็เริ่มขึ้น โดยกลาง สนามมีการแข่งฟุุตบอลกันอย่างสมจริง จนถึงนาทีดุเดือดเมื่อฝ่ายตรงข้ามวิ่งรี่ เข้าชาร์จชัย ที่แสดงโดย วรสิทธิ์ชีพสาธิต จนบาดเจ็บขาหัก ทันทีนั้น ป้อมก็กระโจนลงไปในสนาม พร้อมกับนักเรียนที่นั่งเชียร์ ภาพช๊อตนี้เป็นหนึ่งในภาพ ประทับใจของคนดู เมื่อความรักเพื่อน พร้อมจะปกป้องเพื่อน พรั่งพรูออกมา เด็ก ๆ วิ่งลงสนามอย่างสมจริงสมจังมาก และกลางสนามนั้น นัตก็แย่งธงจากมือ ของป้อม พร้อมกับสั่งให้ป้อมหนีไป ขณะที่ตำรวจกลุ่มหนึ่งวิ่งตามเด็ก ๆ เข้ามา ย้อนหลังไปถึงต้นกำเนิดเรื่อง “เวลาในขวดแก้ว” กันนิดนะคะ นวนิยาย เรื่องนี้ ได้รับการตีพิมพ์ในนิตยสาร สายทิพย์์ ที่พี่สุุภัทร สวัสดิรักษ์เป็น บรรณาธิการ ทำหนังสือเล่มนี้ออกมา และเชิญนักเขียนนวนิยายมาเขียนลง ใน เล่มนี้กัน ต่อมา สายทิพย์ต้องปิดตัวลง ในขณะที่ “เวลาในขวดแก้ว” ยังลงไม่จบ

พี่สุภัทร กรุณานำไปลงต่อจนจบที่นิตยสารนรี เมื่อเรื่องนี้จบลง เป็นจังหวะที่ คุณประภัสสร ได้รับคำสั่งให้ออกไปประจำการที่ สถานทูต ณ กรุงอังการ่า ประเทศ ตุรกี คุณประภัสสร เลยมอบให้ทางสำนักพิมพ์ดอกหญ้า ดูแลต่อ ถือเป็นนวนิยาย เรื่องแรกที่เปิดตัวของสำนักพิมพ์ดอกหญ้าด้วย เพราะก่อนหน้านี้จะมีเป็น พวกเรื่องสั้น ปกิณกะต่าง ๆ เมื่อพวกเราไปอยู่ที่อังการ่ากันตอนนั้น คนตุรกียัง ไม่ค่อยรู้จักคนไทยด้วยซ้ำเห็นพวกเราทีไรก็เดาว่าเป็นไต้หวันกันซะส่วนมาก แต่ด้วยความเป็นนักเขียนและทำด้านการเมืองศิลปวัฒนธรรม และ ประชาสัมพันธ์ไปด้วยจึงเปิดศักดิ์ราชที่ทำให้คนตุรกีรู้จักคนไทยได้อย่างแพร่หลาย ไม่ว่าจะเป็นการจัดนิทรรศการ การประสานงานเรื่องเชิญเยาวชนไทย มาร่วมงานวันเด็กแห่งชาติของตุรกี การจัดประกวดภาพวาดศิลปะของเด็ก โดยมีศิลปินจิตรชื่อดังของตุรกีร่วมเป็นกรรมการตัดสิน ทำให้เป็นความสัมพันธ์ ที่ดีสืบสานต่อมาเรื่อย ๆ เมื่อคุณประยูรสร้างเวลาในขวดแก้วเสร็จก็นำสู่โรงฉาย สร้างปรากฏการณ์ ในเรื่องรายได้ และเหนืออื่นใด รางวัลเกียรติยศในปีแรก คือ 4 รางวัลเด่นจาก สมาพันธ์ภาพยนตร์แห่งชาติ ครั้งที่ 1 ประจำปี 2534 คือ ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม นักแสดงนำหญิิงยอดเยี่ยม (ปวีณา) บทภาพยนตร์ดัดแปลงยอดเยี่ยม เพลงนำยอดเยี่ยม และอีก 2 รางวัลจาก ชมรมวิจิารณ์บันเทิง ครั้งที่ 2 ประจำปี 2534 คือ รางวัลนักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม (ปวีณา) และ รางวัลนักแสดงสมทบหญิง ยอดเยี่ยม (มยุรา) หลังจากนั้นมีการสร้างเป็นละครโทรทัศน์อีกหลายครั้ง ดังนั้น ฉบับนี้จึงนำประวัติศาสตร์ภาพจาก “เวลาในขวดแก้ว” มาถ่ายทอด ให้คุณผู้อ่านได้ย้อนอดีตกันค่ะ เป็นภาพจากการถ่ายทำ และอื่น ๆ อีกหลายบรรยากาศค่ะ

ย้อนอดีตกลับไปหา “เวลาในขวดแก้ว”