She should be a machine : ตัวตนและการเติบโตของมนุษย์ผู้มีหัวใจ | Isuue 152

She should be a machine : ตัวตนและการเติบโตของมนุษย์ผู้มีหัวใจ | Isuue 152

She should be a machine วงดนตรีป็อปร็อกที่มาพร้อมกับชื่อวงที่อุปมาอุปไมยถึงใครบางคน คนที่ไร้ความรู้สึก ไร้หัวใจ สมาชิกของวงประกอบด้วย กันต์ กันดิศ ป้านทอง (ร้องนำ), ฟิว วรทย์ สีนวน (กีตาร์), พง พงศธร จุลธภากุล (กีตาร์), ทอย กฤตภาส บุณกังวาน (เบส) และ นัท ณัฐ ดุลยไชย (กลอง) ท่ามกลางการโตเติบในระยะเวลากว่า 5 ปี จากบทเพลงจิกกัดสังคมอันไร้ความรู้สึกสู่การค่อย ๆ เติบโตทางความคิด นำไปสู่แนวทางและตัวตนที่เริ่มชัดเจน พร้อมถ่ายทอดบทเพลงที่เปี่ยมไปด้วยอารมณ์และความรู้สึกสู่คนฟัง

จุดเริ่มต้นของ She should be a machine เกิดจากการรวมตัวของ ทอย กับ ฟิว ที่อยู่ชมรมดนตรีด้วยกันในสมัยเรียนมหาวิทยาลัย โดยได้มีการชักชวน กัน ที่รู้จักกันทาง Social Media ที่ Cover เพลงลง Youtube และ ฟิว ซึ่งเป็นรุ่นพี่ที่เคยเล่นดนตรีกับทอย หลังจากปล่อยผลงานเพลงออกมาประมาณ 4 เพลง ทางวงจึงได้ พง เข้ามาร่วมเป็นส่วนหนึ่งในที่สุด

ทอยชื่อวงมาจากโควทหนึ่งของ Andrew Varchola ว่า "Everybody should be a machine" เป็นโควทที่ผมชอบมากเลยเอามาดัดแปลงนิดหน่อยเป็น "She should be a machine" มีความหมายประมาณว่าไม่ใช่ทุกคนหรอกที่จะต้องเป็นเครื่องจักร แค่เธอคนเดียว เพราะเธอไม่มีความรู้สึก เป็นการเล่นคำเชิงเปรียบเทียบนิดหน่อยครับ

ฟิว : ภาพรวมของวงเป็นป็อปร็อกทั่วไป ก่อนหน้าเป็นร็อกแบบจัดจ้าน ตอนนี้ปรับให้มันซอฟต์ลง ให้เพลงฟังง่ายขึ้นในพาร์ทของดนตรีกับเนื้อร้อง ให้เนื้อหาเพลงมีเรื่องชีวิตทั่วไปเข้ามาเกี่ยวข้อง ก่อนหน้านี้พวกเรายังหาตัวเองไม่เจอ ต่างคนก็ชอบต่างแนวกันไป ระยะเวลาจากเพลงแรกมันเหมือนเป็นการเติบโตของวงบางเพลงพอมาฟังตอนนี้รู้สึกว่าอยากเอามาทำใหม่เหมือนกันครับ

กัน : อายุของวงเข้าปีที่ 5 เกือบ 6 ครับ ตกปีละเพลงตามคอนเซ็ปต์

 

ตามที่สมาชิกวงได้กล่าวไว้ ผลงานทั้งหมดของพวกเขารวมแล้วมีทั้งสิ้น 6 เพลงด้วยกัน เริ่มต้นที่ "คิด" กับเนื้อหาการตั้งคำถามต่อผู้คนในสังคม หากใครคนหนึ่งมีความคิดแตกต่างจากทุกคน การเป็นตัวของตัวเอง เลือกเส้นทางชีวิตของตัวเอง ทางเลือกนี้จะทำให้เขาสามารถมีชีวิตอยู่ได้หรือไม่ ก่อนที่จะค่อย ๆ พัฒนาวิธีการสื่อสารที่ส่งไปถึงอารมณ์และความรู้สึกของคนฟัง

ทอย : เพลง คิด ตอนนั้นผมอยู่บ้านคิดอะไรไปเรื่อยเลยลองแต่งเพลงนี้ดู แล้วส่งให้เพื่อนในวงฟัง ความหมายของเพลงประมาณว่า ท่ามกลางผู้คนมากมายในสังคมที่เราคิดต่างกับเขา เราจะสามารถอยู่ด้วยกันได้หรือเปล่า ออกแนวจิกกัดสังคม

กันเพลงนี้ มือกลองคนเก่าของฟังเพลงร็อกญี่ปุ่น กลองมันเลยค่อนข้างเดือด เปิดตัวแบบเดือด ๆ

ทอยเพลงที่สอง ยูโทเปีย เพลงนี้เขียนในช่วงที่เป็นวงเก่า จริง ๆ อัดกันไว้แล้วแต่คุณภาพยังไม่ดี พอเราได้สมาชิกครบก็เลยเอาเพลงนี้มาบันทึกเสียงใหม่ทุกอย่าง เป็นเวอร์ชั่นอัพเกรด เนื้อหาอิงสังคม เพราะช่วงนั้นยังไม่อินกับเรื่องความรัก เพลงที่สาม หาย เป็นเพลงอกหักออกแนวเพ้อหน่อย ๆ เปรียบเทียบระหว่างความฝันกับความจริง

ฟิวเพลงที่สี่ หงุดหงิดระดับ 7 เพลงนี้เริ่มเข้าสู่พาร์ทพูดถึงผู้หญิง

ทอย : เพลงนี้มีพาทฮิปฮอปเข้ามาในเพลงด้วย โดยมี Nil lhohitz เข้ามาช่วยแร็ปให้ในเพลง เพลงก่อนล่าสุด ฉันจะไม่ทน เหมือนภาคต่อของหงุดหงิดระดับ 7 ดนตรีเริ่มฟังง่ายขึ้นจากแนวเพลงที่เราเคยทำ

กันเพลงล่าสุด ยอมรับ เป็นเพลงช้าในรอบ 4 ปีของวง

ฟิวยอมรับเป็นเพลงที่มีการพูดคุยกันมากที่สุดตั้งแต่ทำวงกันมา มีการวางทิศทางของเพลง แนวเพลง ที่พวกเราต้องการให้ฟังง่ายขึ้น ให้คนฟังอินกับเพลงได้มากขึ้น ต่างจากเมื่อก่อนที่เราทำเพลงกันแบบมาเล่นแจมในห้องซ้อม

กันเพลงทุกเพลงเริ่มมาจากทอยเป็นส่วนใหญ่

ฟิวการวางคอร์ดส่วนใหญ่เริ่มจากการเล่นแจมกันในห้องซ้อม เรื่องโพซิชั่นก็ค่อยมาดูกันว่าทามมิ่งนี้ควรใส่อะไรลงไป

 

ระยะเวลาของวงตั้งแต่จุดเริ่มต้นเรื่อยมาถึงปัจจุบัน จากปีที่ 1 จนย่างเข้าสู่ปีที่ 6 กับสถานะวงที่เปลี่ยนแปลง จากวงดนตรีอิสระสู่การเป็นวงดนตรีภายใต้สังกัด Macrowave ค่ายเพลงน้องใหม่ที่เกิดจากการร่วมมือระหว่าง Malama Collective ภายใต้บริษัทฟังใจ Music Community Platform กับ BEC-Tero Music

กันมันเป็นช่วงรอยต่อของวงพอดี ตอนนั้นพวกเราจะปล่อยเพลงหงุดหงิดระดับ 7 ประจวบเหมาะกับทาง Macrowave กำลังมองหาวงดนตรี จึงมีการพูดคุยกัน พวกเราคิดว่า She should be a machine มันเดินทางแบบงง ๆ มาตลอด ถึงเวลาแล้วที่ต้องหาที่อยู่เป็นหลักแหล่ง จะได้มีบ้านอยู่ มีระเบียบในการทำเพลงสักที เพราะก่อนหน้านี้ทำกันปีละเพลง มันไม่ประสบความสำเร็จสักที การมีค่ายเหมือนกับการมีหลักให้กับพวกเรารู้ว่า ถ้าอยากไปต่อในเส้นทางนี้ต้องขยันกันมากขึ้น

ทอย : มันมีบางพาร์ทด้วยครับที่วงไม่สามารถทำได้ด้วยตัวเอง ก็เลยอยากมีค่ายมาซัพพอร์ตในบางเรื่องที่เราไม่มีประสบการณ์ทางด้านนั้นอย่างการโปรโมทกับมีเดีย ทางค่ายเองก็ให้อิสระในการทำเพลงเต็มที่ครับ

ฟิวค่ายให้เราทำเพลงกันเองและลองนำไปเสนอดู เขาจะไม่ก้าวก่ายในเรื่องของดนตรี เพียงแค่คอยถามไถ่ว่าจะส่งเพลงเมื่อไหร่ และคอยให้คำแนะนำเรื่องของการทำงาน เรื่องโปรโมท มีเดียต่าง ๆ

นอกจากพาร์ทดนตรี แน่นอนว่าชีวิตส่วนตัวก็เป็นอีกหนึ่งตัวตนที่น่าสนใจ ระยะเวลากว่า 5 ปีกับ 6 ผลงานเพลงกับการเป็นวงดนตรีอิสระ สมาชิกแต่ละคนจึงมีหน้าที่การงานและความรับผิดชอบแตกต่างกันไป ตามเหตุผลและปัจจัยที่หลากหลาย

นัท งานหลักผมมีช่วยงานที่บ้านเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ กับฟรีแลนซ์กราฟิก กับทำคลิปวิดีโอลง Youtube Channel : Nat Dulyachai เป็นคลิปตีกลอง แล้วก็มี Side Project รวมกับสมาชิกในวงเล่นเพลงอนิเมะกัน

กันเห็นพวกเราเป็นแบบนี้แต่เล่นเพลง Digimon นะครับ ส่วนผมตอนอาชีพหลักเป็นนักข่าวอยู่ที่ Hattrick Magazine อาชีพรองเป็นผู้จัดการอดีตไอดอลชื่อดัง แคน นายิกา ศรีเนียน ติดต่อได้ครับ

ฟิวผมช่วยดูแลธุรกิจทางบ้าน เกี่ยวกับคลังสินค้าทั่วไปครับ

พงษ์ : ตอนนี้ผมเป็นครูสอนดนตรีครับ มีเล่นดนตรีตอนกลางคืนและขายของไอดอล ถ้าสนใจติดต่อได้ครับ

ทอย : ตอนนี้ผมเพิ่งลาออกจากงานประจำครับ และขายเสื้อมือสองใน Instagram ชื่อร้าน tee_rex_store

กันฝากทุกคนด้วยครับสำหรับเพลงยอมรับ เพลงช้าในรอบ 4 ปีของพวกเรา ดีใจที่ได้กลับมาเจอทุกคนอย่างเป็นทางการ ยินดีที่ได้เจอกับทุกคน การกลับมาในครั้งนี้น่าจะนานขึ้น ไม่หายไปนานเหมือนแต่ก่อนแล้วครับ

นัท อยากให้ทุกคนดูพัฒนาการของเด็กผู้ชาย 5 คน ที่ไม่มีพื้นฐานดนตรี ค่อย ๆ ทำกันมาด้วยใจรัก อยากให้โฟกัสที่จุดนั้น จากเพลงที่คุยไม่รู้เรื่องจนเริ่มคุยรู้เรื่อง พาร์ทดนตรีเองก็ซับซ้อนมากขึ้น

กันโตไปด้วยกันครับ ฝากทุกคนติดตามพวกเราด้วยนะครับ ทั้งผลงานเพลงที่ปล่อย Streaming ลงทุก Platform สามารถติดตามพวกเราได้ทาง Facebook : She should be a machine และ Instagram : ssbm_official และช่วงเดือนสิงหาคมกับกันยายนเรามีงานเล่นดนตรี เจอกันได้ครับ

Photo : Satchaphon Rungwichitsin

She should be a machine : ตัวตนและการเติบโตของมนุษย์ผู้มีหัวใจ | Isuue 152