Stadium of Life

Stadium of Life

ในสมัยก่อนการจะสร้างสนามกีฬาขึ้นมาสักแห่งหนึ่ง ต้องคำนึงถึงปัจจัยมากมายทั้งเรื่องของงบประมาณและความคุ้มค่าในการใช้งาน แต่ในปัจจุบันเมื่อฟุตบอลไทยเริ่มได้รับความนิยมนักลงทุนต่างหันมาสนับสนุนมากขึ้น การสร้างสนามฟุตบอล Stadium (แบบไม่มีลู่วิ่ง) ที่ใช้การแข่งขันจึงจำเป็น หากเป็นทีมใหญ่ ๆ คงเป็นเรื่องปกติที่มีงบประมาณมากมาย วันนี้เราลองมาดูทีมระดับกลาง ๆ ที่สร้างสนามของตัวเองกันบ้าง

1.สนามพีทีที ระยอง สเตเดี้ยม มาบข่า(สโมสร พีทีที ระยอง) ความจุ 12,161 ที่นั่ง

แม้ทีมจะไม่ได้ยิ่งใหญ่เพิ่งขึ้นชั้นมาเล่นลีกสูงสุดในปี 2557 แต่ก็ต้องตกชั้นไปเล่นดิวิชั่น 1 อย่างรวดเร็ว โดยสนามสร้างเสร็จและเปิดใช้กลางปี 2012 แม้จะมีเสาบดบังสายตาเยอะไปหน่อย แต่ถือว่าเป็นสนามที่สวยงามแห่งหนึ่งของภาคตะวันออก

2.แพท สเตเดี้ยม(การท่าเรือ เอฟ.ซี.) ความจุ 12,308 ที่นั่ง

การท่าเรือแม้พึ่งตกชั้นไปอยู่ดิวิชั่น 1 ไปหมาด ๆ แต่ก็ถือว่าเป็นสนามฟุตบอลที่มีเกือบครบองค์ประกอบหากมีการลงทุนปรับปรุงอย่างจริงจัง แม้ไม่ได้มีมาตฐานสนามเกรดเอก็ตาม ด้วยอัฒจันทร์ล้อมรอบ 4 ด้าน พื้นสนามอยู่ในระยะใกล้ชิดกับที่นั่งแฟนบอล ทำให้บรรยากาศการเชียร์สุดมันจนทำให้เป็นเจ้าของฉายา “นรกของทีมเยือน”

3.ยูไนเต็ด สเตเดี้ยม(สโมสรฟุตบอลเชียงราย ยูไนเต็ด) ความจุ 15,000 ที่นั่ง

แม้จะดูยังไม่สมบูรณ์ทั้งที่นั่งและสนามหญ้า แต่ถือว่าเป็นความพยายามที่จะพัฒนาตัวเองทีละขั้นของสโมสรซึ่งเปิดใช้งานมาตั้งแต่7 กรกฎาคม 2555 จนถึงวันนี้ยังใช้เป็นสนามเย้าของของเชียงราย ยูไนเต็ด ทีม 1 เดียวที่อยู่ในไทยลีกของภาคเหนือ

4.สนาม ดอลฟินส์ สเตเดี้ยม(สโมสรฟุตบอลพัทยา ยูไนเต็ด) ความจุ 6,000 ที่นั่ง

เป็นสนามกีฬาที่รอผู้ลงทุนมาปรับปรุงขนานใหญ่ เพราะถือว่าเป็นหน้าตาของชาวพัทยา แม้ภายหลังจะมีข่าวเรื่องสิทธิ์การทำทีมไม่ชัดเจน แต่สโมสรพัทยา ยูไนเต็ด เมืองท่องเที่ยวแห่งนี้ก็ยังมีเสน่ห์ในวงการลูกหนังอยู่เสมอ

5.มิตรผล สเตเดี้ยม(สโมสรฟุตบอลราชบุรี มิตรผล) 12,000 ที่นั่ง

เป็นสนามน้องใหม่ของวงการฟุตบอลไทยที่มีงบลงทุนกว่า 300 ล้านบาท ทำให้เป็นที่จับตามองของทุกคน โดยมีกำหนดการแล้วเสร็จในเดือนพฤษภาคมนี้ เมื่อดูจากสภาพแปลนโครงสร้างที่สวยงามบวกกับหญ้าจริงที่เรียบเนียน เชื่อได้ว่าจะเป็นสังเวียนฟาดแข้งที่สนุก และเชิดหน้าชูตาคนราชบุรีไปอีกนาน 

วิสัยทัศน์ของทีมเกือบใหญ่