สไตล์ จริต และเทรนด์

สไตล์ จริต และเทรนด์

ไม่ต้องเถียงกันให้ตาย เพราะโดยหลัก ๆ หนังสือวิชาการหลายเล่มก็ระบุไว้ชัดเจนว่า สไตล์ของหนังนั้น มีอยู่แค่ 3 อย่างคือ Drama, Realist และ Surrealist โดยมีหน้าที่แตกต่างกันแม้ว่าจะมี “เนื้อหาเดียวกัน” เช่น Drama ต้องการเร้าอารมณ์ สร้างความบันเทิง อารมณ์ร่วม, Realist ต้องการให้ข้อมูล ข้อเท็จจริง สะท้อนสังคม และ Surrealist ต้องการให้คนดูตีความ ใช้ความคิด จินตนาการ ใช้สื่ออะไร

ยกตัวอย่างเช่น “หนังเกี่ยวกับเด็ก” The Wolfpack, Not One Less, Nobody Knows, กาลครั้งหนึ่งเมื่อเช้านี้, โดราเอมอน, Stand By Me และ ผีเสื้อและดอกไม้

เหล่านี้ คือหนังที่เกี่ยวกับเด็ก แต่มีมุมต่างกันอย่างสิ้นเชิง

หรือหนังเกี่ยวกับ “ความสัมพันธ์” เช่น Eye Wild Shut, Begin Again, Once ...หนังเกี่ยวกับ “พ่อลูก” Riding Alone, Like Father Like Son, Tokyo Story 

แม้ว่าด้วย Relationship แต่ก็เล่าเรื่องและชี้ประเด็นแตกต่างกัน

“สไตล์ของภาพยนตร์” ไม่เหมือนกับ “ตระกูลหนัง”

เพราะตระกูลของหนังหรือ Genre ก็คือพวก Comedy, Filmnoir, Musical, Thriller, Suspense, Horror, Melodrama, Sci-Fi, Western, Epic

ตระกูลของหนัง แบ่งด้วย “เทคนิครูปแบบการนำเสนอ” เหมือนแฟชั่นเสื้อผ้า คือการแต่งตัวเหมือนกัน แต่คนแรกแต่งแบบวินเทจ คนที่สองแต่งแบบบ้าน ๆ ส่วนคนที่สามแต่งแบบเซอร์ ๆ แต่ทั้งหมดคือการแต่งตัวเหมือนกัน

ตระกูลหนังแบบใดจะได้รับความนิยม ขึ้นอยู่กับบริบทและยุคสมัย เช่น Musical กับ Western ก็ตายไป แต่ละตระกูลมักมีองค์ประกอบเฉพาะกันไป เช่นหนังคาวบอย มักมี โจร, ผู้รักษากฎหมาย และชาวไร่ หรือหนังฟิล์มนัวร์ มักเกี่ยวกับราคะตัณหา, 1 หญิง 2 ชาย, การฆาตกรรม, การจัดแสง กระทั่งหนังเพลง - เสื้อผ้าฉูดฉาด, เพลงประกอบ และการร้องที่สะท้อนอารมณ์ในจิตใจตัวละคร

จุดหนึ่งที่สามารถบอกความแตกต่างระหว่าง Thriller vs. Horror ก็คือ Thriller เกี่ยวกับคน, เขย่าขวัญ, มีฉากตื่นเต้นเป็นระยะ , ส่วน Horror เกี่ยวกับผีสาง, สัตว์มอนสเตอร์, สยองขวัญ มีบุคลิกแรงกว่าและมีมายาวนาน หนังบางสไตล์ สามารถผสมหลายตระกูลเข้าด้วยกัน เช่น โดยภาพเป็นหนังดราม่าแต่มีส่วนผสมระหว่าง Realistic, Drama, Romance เช่นผีเสื้อและดอกไม้

หนังแนวเหนือจริงหรือ Surrealist ต่างกับหนัง Fantasy แฟนตาซีเป็นเรื่อง “คิดฝัน” พ่อมด ซูเปอร์แมน ยอดมนุษย์ แต่เหนือจริงเกี่ยวกับเรื่องจริง ๆ ในหนัง Surrealist นั้น แยกเป็น Expressionist กับ Impressionist

อย่างแรกคือ Expressionism เน้นที่โปรดักชั่นดีไซน์ เสื้อผ้า การวางฉาก แสงสี การแต่งตัวและเมคอัพ (The Cabinet of DR. Caligari, Dreams)

ใน Impressionism ไม่มีสูตรในการเดินเรื่อง อาจโหวง ๆ ดูเซอร์ ลอย ๆ ใส่อะไรเข้าออก ไม่สนใจสมจริง อีกอย่างหนึ่งก็คือ ลักษณะของพลอต หรือทางของ Storyline หรือโครงเรื่อง จะมีหลายสูตร เช่น 

สูตร Cinderella นางเอกพระเอก ต้นร้ายปลายดี
สูตร Triangle รักสามเส้า, คนสามฝ่าย
สูตร Gothic ลึกลับน่ากลัว เน้นฉาก
สูตร Cat and Mouse ชิงไหวชิงพริบ
สูตร Coming-of-age

หนัง ยังมีหลาย ๆ แนวทาง แน่นอนว่า การวิจารณ์หนังหลัก ๆ มี 3 อย่าง 1.Form & Style 2.Content 3.Auteur

Form คือ เน้นสไตล์ที่โดดเด่นน่าสนใจ ลักษณะ รูปแบบการนำเสนองานโปรดักชั่นดีไซน์ เทคนิคการเล่าเรื่อง เช่น Musical, Surrealist, Cult (Memento, Before Sunrise)

ส่วน Content เน้นเนื้อหา การวิเคราะห์ความคิด ต่อสู้กันของข้อมูล (The Godfather, The Devil Wear Prada) 

ขณะที่ Auteur - เควนติน (ขา), ฮิทช์ค็อก (ผู้หญิง), โคเรเอดะ (ครอบครัว)

การวิจารณ์คือการแสดงความคิดเห็น ไม่ใช่ชี้นำ ยัดเยียด ขายมุมมอง ทัศนะ ความเห็น อย่างแรก คิดว่าหนังต้องการบอกอะไรกับคนดู, อย่างที่สอง หาส่วนที่มาสนับสนุน ยกตัวอย่าง, อย่างที่สาม พิจารณาถึงวิธีการ ชั้นเชิง (ดีไม่ดี, ยัดเยียดมั้ย)

การวิจารณ์ที่ดีควรมีประเด็น มีพ้อยท์ มีสิ่งที่เป็นหลัก ไม่จำเป็นต้องวิจารณ์หลายอย่างในหนัง เช่น วัฒนธรรมอาหาร-Food Truck, วัฒนธรรมหนัง-Black Movies, Biopic, Documentary วัฒนธรรม Abenomic Womenomic, วัฒนธรรมการ์ตูน-โดราเอมอน แมวคิตตี้, วัฒนธรรมความสัมพันธ์-ความรักของ Gen Y, วัฒนธรรม ShowBiz-คอนเสิร์ต, วัฒนธรรมหนังไทย-GTH Model

เขียนมาถึงบรรทัดนี้แล้ว ก็พลันได้คิดว่า แม้หนังจะมี 3 สไตล์, เนื้อหาจะมีเป็น 10 ตระกูล และการวิจารณ์จะมีหลายแบบ แต่คนดูหนังนาทีนี้ มีแบบเดียว คือ “ดูหนังตามกระแส”

แบบ “ขอให้ไม่ดีเถอะ แต่ถ้าดราม่า มีกระแส” ตรูก็ดู! 

 

Moviegoer แบบไทย ๆ