ดร.วชรวรรณ ฤทธิรงค์

ดร.วชรวรรณ ฤทธิรงค์

“เมื่อครั้งที่ได้ตัดสินใจไปเรียนที่ต่างประเทศครั้งแรก ดิฉันมั่นใจว่าภาษาเราก็โอเคนะ ไม่ได้เก่ง แต่เราก็รอดแน่ แต่พอได้ไปเข้าคลาสจริงๆ มันไม่ใช่เลย ดิฉันไม่สามารถจับใจความได้เลยว่าอาจารย์พูดอะไร ไม่ต้องคิดไปถึงเรื่องสอบ เพราะได้ศูนย์ตลอดพยายามอ่านหนังสือมากแค่ไหน ท่องมากแค่ไหน ก็ไม่ช่วยเท่าไหร่ เพราะอะไรน่ะเหรอคะ ก็เพราะดิฉันมัวแต่ไป Translateประโยคที่แล้วอยู่ในใจ ประโยคต่อมาจึงไม่ทันได้ฟัง แล้วพอจะกว่าตอบออกมาเป็นประโยค ก็เรียงแกรมม่าแล้วแกรมม่าอีก มันจึงไม่ได้เรื่อง จนสุดท้ายมาฉุกคิดว่าทำไมภรรยาคนไทยที่แต่งงานกับชาวต่างชาติทั้งที่ไม่มีพื้นฐานด้านภาษามาเลย แต่เขาก็สื่อสารกันรู้เรื่องอย่างเป็นธรรมชาตินั้นทำได้อย่างไร”

 

นี่คือคำบอกเล่า ดร.วชรวรรณ ฤทธิรงค์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ทริปเปิ้ล ไนน์ อัลไลแอนช์ จำกัด และที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ ศูนย์พัฒนาทักษะผู้ประกอบการ EDC หรือที่บรรดาลูกศิษย์เรียกกันว่าอาจารย์ฝ้าย DIY Mind Map

 

“ลองคิดดูสิคะ คนที่มีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องของความทรงจำ ดิฉันสังเกตว่านักจิตวิทยาหรือคุณหมอที่มีการฝึกด้วยวิธีธรรมดาทุกวันยังจำไม่ได้ 10 ปียังจำไม่ได้ แต่ด้วยกระบวนการที่เราเรียกว่า Mind Map มันจะช่วยลดระยะเวลาในการฟื้นฟูความจำ
จาก 1 ปี เหลือแค่ 6 เดือนเท่านั้น หรือบางคนเร็วกว่าอาจจะแค่ 3 เดือน ซึ่งเหตุการณ์ต่างๆ จะผุดขึ้นมาเหมือนกับการเรียนภาษาอังกฤษ ซึ่งตัวอาจารย์เองเชื่อว่าการเรียนภาษาอังกฤษให้ได้ผล คือการเรียนด้วยวิธีเดา เราเรียกว่า Guessing Theoryถามว่าอาจารย์เองอยากจะให้นักเรียนมานั่งท่องไหม บรรดา Tense ซึ่งคนไทยเราถูกฝึกมาให้เป็นแบบนั้น เพราะฉะนั้นเราจึงเกิดคำถามว่าจะทำอย่างไรให้คนไทยมีความมั่นใจ

 

“ดิฉันมีความต้องการให้เอาความรู้ทุกอย่างที่คุณเรียนมา แกรมม่าต่างๆ เอาทิ้งไปให้หมด ดิฉันใช้เทคนิคคีย์เวิร์ด นั่นคือการใช้จิตใต้สำนึกในการเรียน ไม่ใช่การอ่าน ใช้สมองให้น้อยที่สุด แต่ใช้จิตใต้สำนึกให้มากที่สุด เอามาฝึกตรงนี้ให้เป็น เราจะเรียนโดยใช้จิตใต้สำนึกโดยให้เขาเรียนโดยนึกเป็นภาพ เมื่อไหร่ก็ตามที่คุณอ่านภาษาอังกฤษหรือฟังวิทยุ แม้แต่ดูหนังแล้วไม่รู้เรื่อง ขอให้บอกว่าเพราะว่าคุณไปนั่งเพ่งเพียงว่าศัพท์ตัวนี้คืออะไร ไม่ยอมฟังทั้งหมด ไม่ยอมเดาเรื่อง เพราะฉะนั้นเราจะฝึกให้เอาจิตใต้สำนึกมาบริหาร เราเรียกว่าการฝึกพูดภาษาอังกฤษโดยใช้จิตใต้สำนึกเป็นตัวอ่านค่ะ”

 

โปรแกรมนี้อาจารย์ฝ้ายเล่าว่ามีที่มาจากการเป็นหนึ่งในวิชาที่เธอศึกษาเรื่องการจัดทำ Mind Map เชิงธุรกิจหรือกระบวนการคิดและถอดรหัสจากจิตใต้สำนึก ตอนเรียนระดับปริญญาเอกที่ประเทศออสเตรเลีย และเมื่อต้องจัดทำวิทยานิพนธ์จึงคิดว่า Mind Map สามารถนำมาเป็นประโยชน์ด้านอื่นได้ด้วย

 

“ตอนนั้นดิฉันไม่ใช่อาจารย์สอนภาษาอังกฤษ ต้องบอกอย่างนี้เลยค่ะ แต่มีความภูมิใจตรงนี้ เพราะว่าประเด็นที่หนึ่ง เรา
ไม่ได้เป็นนักไวยากรณ์ นักภาษาอังกฤษ ดิฉันรู้ตัวเองว่าดิฉันไม่มีสิทธิ์ไปสอนไวยากรณ์ แต่ก็รู้ว่าเรามีความสามารถทางด้านการพูดภาษาอังกฤษ ดิฉันเป็นคนไทยแท้ๆ แต่สามารถสอนให้ฝรั่งตาน้ำข้าว เจ้าของภาษาพูดภาษาอังกฤษได้ดี”

 

อาจารย์ฝ้ายให้เหตุผลที่ต้องออกไปสร้างฐานนอกประเทศก่อนว่า เป็นเพราะพฤติกรรมของคนไทยที่จะให้การยอมรับคนไทยด้วยกันเองได้ก็ต่อเมื่อคนไทยคนนั้นได้รับการยอมรับจากต่างประเทศ คนไทยมักไม่เชื่อคนไทยด้วยกันเอง จึงคิดว่าถ้าหากเลือกที่จะสร้างเทคนิคการเรียนการสอนประเภทนี้ให้เป็นที่ยอมรับในต่างประเทศก่อน ที่สุดก็จะได้รับการยอมรับจากคนไทยด้วยกันเอง

 

จากนั้นเธอใช้เวลากับการถ่ายทอดเทคนิคการเรียนการสอนประเภทนี้ในประเทศแถบเอเชียอยู่เป็นเวลา 2-3 ปี หลังประสบความสำเร็จได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในประเทศแถบเอเชียแล้ว จึงตัดสินใจนำเทคนิคดังกล่าวมาถ่ายทอดที่ศูนย์พัฒนาทักษะผู้ประกอบการอีดีซี พร้อมทั้งนั่งเป็นที่ปรึกษาการบริหารจัดการธุรกิจนำเที่ยวให้กับกลุ่มบริษัททริปเปิ้ล ไนน์ อัลไลแอนซ์ จำกัด

 

ด้วยความที่มีภาระเรื่องการเรียนการสอนทั้งในและต่างประเทศ ทำให้อาจารย์ฝ้ายมีข้อจำกัดเรื่องเวลา ในหนึ่งปีเธอจะมีเวลามาสอนกับผู้เรียนในห้องเรียนของศูนย์พัฒนาทักษะผู้ประกอบการหรือ EDC เพียง 3-4 เดือนเท่านั้น เพื่อให้คนไทยสามารถใช้ภาษาอังกฤษสื่อสารได้ในชีวิตจริง เธอจึงได้รวบรวมเทคนิคการเรียนการสอนภาษาอังกฤษจากจิตใต้สำนึกอย่างอัตโนมัติแล้วจัดทำเป็นพ็อคเก็ตบุ๊กภายใต้ชื่อ DIY Mind Map ขึ้นมา

 

“DIY MIND MAP เกิดขึ้นเพราะต้องการช่วยคน 2 กลุ่ม ด้วยกันคือ กลุ่มแรกเป็นกลุ่มผู้ที่ไม่รู้คำศัพท์เลย ซึ่งถือว่าเป็นเหมือนกันทั่วโลก คนกลุ่มนี้จะคิดไปเองว่าเมื่อไม่รู้ศัพท์จึงพูดภาษาอังกฤษไม่ได้ จัดว่าเป็นกลุ่มที่ไม่แปลกมากนัก ส่วนกลุ่มที่สองถือว่าเป็นกลุ่มที่ประหลาด คือกลุ่มที่มีดีกรีใบปริญญา มีหน้ามีตาทางสังคม เป็นผู้ผู้บริหารระดับสูง กลุ่มนี้รู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษ แต่ไม่สามารถใช้การได้ คือถ้าให้พรีเซนต์ หรือพูดสนทนาในทันทีจะไม่สามารถทำได้ ต้องมีการเตรียมสคริปต์ก่อน”

 

จริงอยู่ที่ว่า Mind Map เป็นเครื่องมือที่สามารถช่วยจัดระเบียบให้กระบวนการทางความคิดเป็นระบบมากขึ้น ปัญหาคือจะนำมาใช้ในด้านภาษาได้อย่างไร แต่อาจารย์ฝ้ายกลับพลิกวิธีมาใช้เปลี่ยนความคิดด้านการเรียนรู้ภาษาของคนไทยจะคิดเป็นคำไทยก่อนแล้วค่อยเป็นอังกฤษ DIY Mind Map จึงเป็นการคิดแบบอังกฤษไปเลยจากจิตใต้สำนึกของเราเอง นับว่าเป็นเรื่องที่น่าสนใจมากที่โปรแกรมนี้มีวิธีการบันทึกเนื้อหาหรือคำศัพท์ลงสู่จิตใต้สำนึกด้วยวิธีการหลับตาเรียน ซึ่งจะทำให้เรานึกออกได้ในเฉียบพลัน

 

หวังว่าการเรียนรู้ภาษาอังกฤษครั้งต่อไปของคุณคงจะง่ายขึ้นนะครับ

ใครๆ ก็บ่นว่าภาษาอังกฤษคือยาขม