VT THAI เสน่ห์งานคราฟต์จากชุมชนสู่สากล

VT THAI เสน่ห์งานคราฟต์จากชุมชนสู่สากล

จิรโรจน์ พจนาวราพันธุ์   

ยุคนี้แฟชั่นมีอิทธิพลอย่างมากต่อคนเราถ้าให้พูดถึงแฟชั่นทุกคนจะนึกถึงแต่  เสื้อผ้า นาฬิกา แต่ยังไม่รู้จักสินค้างานคราฟต์กันดี งานหัตถกรรมทำมือ ดีไซน์ ทันสมัย โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ไม่ซ้ำใคร ของไทยเรานี่แหล่ะ ได้ถูกรวบรวมมาไว้บนเว็บไซต์วิถีไทย  เป็นการส่งเสริมชุมชนให้มีรายได้เพิ่ม ที่สำคัญยังสร้างความน่าเชื่อถือให้กับผู้บริโภคจนเป็นที่ไว้ใจ

คุณวัธ ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์วิถีไทย เพื่อรวบรวมงานหัตถกรรมทำมือของชาวบ้าน อีกทั้งยังเป็นช่องทางในการนำสินค้าจากชาวบ้าน ไปยังตลาดต่างประเทศ คุณวัธได้กล่าวว่าเขามีโอกาสไปดูงานต่างประเทศบ่อย ๆ  งานคราฟต์ของต่างประเทศเป็นงานที่มีราคาสูง ต่างกับงานคราฟต์ที่เมืองไทย ที่มีทั้งความสวยและประณีตกลับมีราคาถูก เพราะขาดการออกแบบ และการตลาดที่ดี จึงมองเห็นโอกาสนี้ ที่จะทำให้งานคราฟต์ของชาวบ้านขายได้ราคาสูงขึ้น จึงเป็นจุดเริ่มต้นของวีถีไทย

“เว็บไซต์วิถีไทยจริง ๆ แล้ว นั้นเป็น Platform เพื่อให้สามารถเชื่อมโยงระหว่างดีไซเนอร์ทั่วโลกได้ ให้มาทำงานกับชาวบ้านโดยผ่าน Platform ที่เรากำหนดไว้ ซึ่งในช่วงนี้เราพัฒนา Platform ของเราอยู่ เราเพิ่งเปิดเว็บไซต์ได้ปีเดียว เราต้องการทดสอบตลาดนี้ว่ามันมีจริงหรือเปล่า เราคัดเลือกชุมชนมาประมาณ 10 ชุมชน เพื่อพัฒนาสินค้าให้เขา เราได้ไปสำรวจชุมชนมาก่อน ว่าชุมชนเขาคิดจะเปลี่ยนแปลงไหม แล้วเราก็ได้เลือกมา 10 ชุมชน เราพยายามทำ 10 ชุมชนนี้ เป็นโมเดลตัวอย่างก่อน ก็เลือกมาภาคละ 2 ชุมชนได้ครับ

 

 

“ทางเราก็ได้ลงพื้นที่ในแต่ละภาคซึ่งเป็นเรื่องยาก แต่ก็มีคนคอยผลักดันให้ทำเพราะเราไม่ทำแค่แบรนด์เดียว ซึ่งที่เราทำคือสร้าง Platform  ผูกดีไซเนอร์เข้ากับชุมชน ซึ่งการพูดคุยกับชุมชนมันค่อนข้างซับซ้อน  แต่เราก็ต้องค่อยๆ พิสูจน์ให้เขาเห็นว่าเราจริงใจมาช่วยจริง และสิ่งที่เราทำคือเขาสามารถเติบโตขึ้น มองเราเป็นหนึ่งช่องทางในการทำให้เขาแข็งแรงขึ้นได้จริง ถ้าเราพิสูจน์ได้เห็นจริงชัดจริง แล้วเขาบอกปากต่อปากมันจะง่ายขึ้นในขั้นตอนต่อไป ในช่วงแรกมันยุ่งยากอยู่แล้ว เพราะเขาไม่รู้ว่าเราเป็นใครมาจากไหน คุณทำจริงหรือเปล่า คุณจะมาหลอกเราหรือเปล่า ต้องใช้เวลา ซื้อใจเขา ค่อย ๆ เข้าใจซึ่งกันและกัน ทำงานร่วมกันได้

        “พอได้ลงชุมชนได้ดูงานฝีมือชาวบ้านแต่ละชุมชน มีความแตกต่างของมัน มีเสน่ห์ภายในตัวเองอย่างมาก ทำให้เราได้สร้าง Storyให้ดูน่าสนใจ แต่ละภาคก็มีงานแตกต่างกันออกไป ยกตัวอย่าง 2 อย่างละกัน ต้นกระจูด ปลูกได้ประมาณ 4-5 จังหวัด ต้นกระจูด จะเป็นต้นที่เกิดได้ในพื้นที่น้ำทะเล กับน้ำจืด แต่ละจังหวัดจะมีสีและความแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับแหล่งที่ปลูกและกรรมวิธีการผลิต กระจูดที่ระยอง จะมีสีที่นวล กระจูดภาคใต้จะมีสีที่ค่อนข้างคล้ำ กระจูดที่นราธิวาส จะมีผิวค่อนข้างนิ่ม จึงเป็นเสน่ห์ของต้นกระจูด จริง ๆ เราไม่ได้เน้นแค่งานฝีมือด้านจักสาน เรามีทั้งผ้าทอ เครื่องปั้นดินเผาด้วย แต่เราเน้นไปที่งานจักรสานก่อนครับ

 

“เป้าหมายของเราตอนนี้ต้องการทำให้สินค้าไทย ได้ขายในต่างประเทศ เราต้องการนำเสนอตัวเองว่าเราเป็นหนึ่งช่องทางในการช่วยสินค้าไทยไปขายในต่างประเทศ เพราะหลัก ๆ เราจะเน้นการตลาดที่ต่างประเทศ ในเมืองไทยมีแค่ประชาสัมพันธ์ มีวางขายนิดหน่อย ทั้งใน King Power Rangnam, Siam Dicovery, EmQuartier เป็นการประชาสัมพันธ์ให้ลูกค้ารู้จักเรา แต่หลัก ๆ เราจะเน้นขายปลีก ขายส่ง Matching ดีไซน์ให้เจอกับชุมชน และขายต่างประเทศ ผ่าน Platform ของเรา

“จุดยากของการทำวิถีไทย ไม่ใช่การตลาดหรือว่าการสร้าง Platform จุดยากจริง ๆ คือการสร้าง Supply Chain Management คือจะทำยังไงให้ชาวบ้านมอบหมายงานเราให้เป็นแบบที่สัญญากับเราไว้ หรือตามที่ลูกค้าต้องการ ทำงานกับเราได้อย่างราบรื่น ชาวบ้านและดีไซเนอร์ มีความสุขกับเรา มันเป็นจุดยาก เป็นจุดที่ท้าทายมาก ซึ่งเราเน้นตรงนี้อยู่ครับ”

คุณวัธ ยังบอกกับเราอีกว่า วิถีไทยได้เขาไปช่วยให้ชุมชนเจริญเติบโตมากขึ้นจริง เพราะปกติเขาจะมีรายได้จากงานสานประมาณร้อยกว่าบาทต่อวัน  แต่หลังจากวิถีไทยเข้าไปทำงานร่วมกับชุมชน สงผลให้ชุมชนได้เงินเพิ่มขึ้น 30 -50 % ดีไซน์เนอร์ก็ได้รายได้ด้วย จากค่า Royalty Fee ก็ได้ประมาณ 10-15 %  เท่ากับว่าสิ่งที่วิถีไทยกำลังทำอยู่นั้นทำทุกคนเติบโตขึ้นจริง แถมยังสามารถการันตีคุณภาพได้ เพราะตรวจสอบเอง ลงพื้นเอง เพื่อให้ได้คุณภาพตามที่ให้สัญญากับลูกค้าไว้

 


MORE INFORMATION

ปัจจุบันสินค้าของวิถีไทยก็ได้ถูกนำไปวางขายที่ต่างประเทศ ทั้งโซนญี่ปุ่นและอเมริกา แถมยังมีกลุ่มประเทศ GCC ก็สนใจงานของคราฟท์ของวิถีไทยด้วย

ติดตามข้อมูลข่าวสารของวิถีไทยได้ทาง https://www.vtthai.com หรือhttps://www.facebook.com/vtthaiofficial


Text: Phattaranit & jitraporn

Photo: Nutchanun Chotiphan


 

#VTTHAI #วิถีไทย