7 เรื่องไม่จริง “วงการหนัง” ตอนจบ

7 เรื่องไม่จริง “วงการหนัง” ตอนจบ

หลังจากที่ดูกันไป 4 ข้อในฉบับที่แล้ว ก็มาถึง 3 ข้อที่เหลือครับ ซึ่งคุณอาจจะเห็นด้วยกันผม หรือไม่ก็ตาม แต่มันคือเรื่องที่ไม่จริงในวงการหนัง... 

5. เต็งหาม เต็งมา ตายสลบ !
ในยุคสมัยหนึ่ง ทศวรรษที่ 80-90s เวลาฮอลลีวู้ดและโรงงานออสการ์ประกาศรายชื่อผู้เข้าชิงภาพยนตร์นั้น มักจะมีตัวเต็งออกมาและแทบไม่มีการพลิกล็อค เช่น The Last Emperor (1987), Driving Miss Daisy (1989), Unforgiven (1991) หรือ Forrest Gump (1994) รวมทั้ง Titanic (1997) 

อาการเต็ง 1 สมหวังถ้วนหน้า ทำให้นักข่าวชอบเขียนข่าวว่าหนังอะไรเข้าชิงมากสาขาสุด ก็มักจะเป็นเรื่องนั้น แต่เรื่องนี้ ถ้าหากไปตรวจสอบย้อนหลัง จะพบว่า ช่วงระยะ 10 ปีที่ผ่านมา หนังตัวเต็งมักจะแห้วหมด และไม่ได้เป็นผู้ชนะเสียด้วย ! จริงไหม... 

6. สินค้าในหนังขายไม่ได้เรื่องนี้อยากให้ดู ผ้าพันคอแบรนด์ Kloset ที่ไปฮิตในหมู่ Gen Y เพราะว่านักแสดงหนังหลายคนใช้ห่มคลุมในหนัง และฮิตระเบิดเรื่องโฆษณาแฝงนี่ ต้องดูตอนที่นกน้อยอย่าง เจนนี่ ซื้อรองเท้า Cortez สีขาวให้
“ขนนก” อย่าง ฟอร์เรสต์ กัมพ์ ในหนังชื่อเรื่องเดียวกันนั้น พ่อหนุ่มแสนซื่ออาจไม่มีคำถาม เกี่ยวกับรองเท้าไนกี้รุ่นนั้น 

ฉะนั้น ใครที่บอกว่า สินค้าในหนังขายไม่ได้และไม่ว่าหนังไทยหรือภาพยนตร์ต่างชาติก็อยู่ไม่ยาวนั้น ขอให้ลองดูต้นทางปี 1972 ที่ Cortez ออกวางขาย ถึงตอนนี้ มันก็มีอายุยาวนานเข้าวัยกลางคนคือ 45 ปีไปแล้ว ฟิล ไนท์ กับ บิล โบเวอร์แมน ดูโอผู้ร่วมก่อตั้งแบรนด์ไนกี้ (ในชื่อแรก Blue Ribbon Sports) บอกไว้ในหนังสือ 1000 Classic Sneakers ว่าในตอนแรกเขาไม่ได้วางคอนเซ็ปต์รองเท้า ที่จะให้มันเป็นอะไรที่ห่อหุ้มข้อเท้า ในเชิงแฟชั่นเลยเขาคิดมาจากอะไร ที่เป็นส่วนผสมระหว่างรองเท้า Training & Running เท่านั้น เพื่อจะให้ใช้งานในโอลิมปิคฤดูร้อนปี 1972 ที่มิวนิค (ซึ่งปีนั้นเป็นโอลิมปิคเลือด เพราะเหตุการณ์ทางการเมือง) แล้วจู่ ๆ รองเท้าก็ป็อปมาก เพราะนักกีฬาหลายคนที่ใส่ บอกว่ามันเป็นรองเท้าผ้าใบที่มี “ความรู้สึก” มาก

7. ตัวละครคนชงกาแฟ
ช่วงเดือนกุมภาพันธ์...ผมซื้อกล้อง โกโปร 5 แบบชุดใหญ่ไฟกระพริบ เป็น “ของขวัญ” ให้น้องคนหนึ่ง... พอซื้อเสร็จ ผมก็คิดไปว่า การถ่ายภาพ การถ่ายรูป ไม่ว่าใครจะมีฝีมือพื้น ๆ หรือระดับ “มือทอง” ก็ล้วนอยากมีกล้องถ่ายรูป เป็นของสะสม... เพราะ “กล้องถ่ายรูป” เป็นค่านิยม มายาคติที่ไปปรากฏอยู่ในหนัง ในโฆษณา ในหนังสือ และในอะไร หลาย ๆ อย่าง 

ตัวอย่างที่ชัดที่สุด “หนังยุคใหม่” (โดยเฉพาะละครทีวี และภาพยนตร์ไทย) พระเอก หรือนางเอกมักทำงาน มีอาชีพอิสระ กับการเป็นช่างภาพ อยู่หลายเรื่องทำไมต้องเป็น “ช่างภาพ” ที่พ่วงด้วยอิสระ โดยจริต หรืออาจจะดัดจริต พอบอกใครว่าเป็นช่างภาพ มันดูดี... (เหมือนในยุคหนึ่งก็เช่นเป็นนักเขียนอิสระ) การได้เดินทาง ความอิสระ บุคลิกที่มีสายตาละเอียดอ่อน... จะยังไง นี่คือชีวิตที่หลายคนโหยหา... (แต่ไม่ใช่ผม)

ในยุคสมัยหนึ่ง หนังไทยมีตัวละครเป็นช่างภาพ อยู่เรื่อย ๆ เหมือนที่หนังฮอลลีวู้ดมีฉากหลังเกี่ยวกับ “ผับ” ก่อนเทรนด์จะเปลี่ยน จนผ่องถ่าย... มาเป็นร้านกาแฟ... ผมอยากเป็น “นักเขียน” มากกว่า “ช่างภาพ” เพราะคิดว่า “คนรับใช้ถ้อยคำ” ก็มีเสน่ห์ไม่แพ้ “การกดชัตเตอร์”

สิ่งที่ไม่เคยเชื่อมากกว่า ก็คือช่างภาพทุกคนมีสายตา เหมือนที่ไม่เชื่อว่าคนเขียนหนังสือทุกคนมีภาษา.. ช่างภาพถ่ายรูปก๊อกแก๊กก็เยอะ เพื่อนผมเองนักเขียนไม่น้อยของฝรั่ง ก็น้ำท่วมทุ่ง อ่านแล้ว ผักบุ้งโหรงเหรง ถ้าจะเชื่อเรื่องราวนี้ ผมเชื่อเรื่อง ทุกอาชีพและการงานนั้นเท่ากัน มีคุณค่าทัดเทียมกัน เป็นช่างภาพก็ไม่ได้ดีไปกว่าชาวนา หรือเป็นนักเขียนก็ไม่ได้สูงส่งไปกว่าแม่ค้าข้าวแกง... 

3ข้อสุดท้าย เรื่องไม่จริงต่อจากฉบับที่แล้ว