ชินยะ ทาคาอิ

ชินยะ ทาคาอิ

คุณชินยะ ทาคาอิ ผู้บริหารของ Benefit (one) Thailand จะมาแนะนำนวัตกรรมใหม่จากประเทศญี่ปุ่น ที่จะปฏิวัติโฉมหน้าโบนัสแบบเดิมๆ โดยไม่ต้องรอให้ถึงวันจ่ายโบนัสปลายปีอีกต่อไป นี่คือบริการใหม่จาก เบเนฟิต วัน (ประเทศไทย) ผู้ให้บริการด้าน Reward Outsourcing Service 

“บริษัทเบเนฟิต ทำเว็บไซต์สะสมคะแนนให้แต่ละองค์กร บริษัทของเราเป็น Outsource ในแต่ละบริษัทต้องมีการพัฒนาบุคลากรในองค์กร แต่แทนที่จะให้โบนัสสำหรับผู้ที่ทำงานดี ก็เปลี่ยนเป็นให้คะแนนเป็นแต้ม สามารถนำไปแลกของได้ ซึ่งสามารถแลกได้มากมาย เช่น คูปองส่วนลด ฯลฯซึ่งระบบนี้ประเทศไทยยังไม่มี เป็นบริษัทแรกที่เข้ามาทำการจัดการในเมืองไทย ซึ่งมีต้นแบบมาจากญี่ปุ่น 

“ในบริษัทที่ญี่ปุ่นของเราจะเป็นบริษัทที่เกี่ยวกับการดูแลสวัสดิการพนักงาน เราก็แตกออกมาทำ IncentivePoint เป็นโปรแกรมสะสมคะแนน โดยให้บริการเป็นเว็บเพจเซอร์วิส บริษัทที่มีความสนใจใช้เว็บไซต์ที่ให้บริการเก็บสะสมคะแนนของพนักงาน เก็บแต้มและมาแลกของในเว็บไซต์ ส่วนใหญ่บริษัทที่ใช้จะสามารถรักษาพนักงานไว้ได้แถมงานมากขึ้น ลดเปอร์เซ็นต์การลาออก เพราะมีสิ่งที่ตอบโจทย์เขา มีสิ่งที่เขาอยากได้ ก็มีความสุขในการทำงาน 

“โดยที่เราจะเชื่อมโยงเว็บไซต์ให้ลูกค้า อย่างลูกค้าที่ประเทศญี่ปุ่น อาทิ แมคโดนัล, โคโดโมะ หรือบริษัทเทเลคอมยักษ์ใหญ่ใช้เว็บไซต์นี้ทั้งสิ้น เพราะมันสามารตอบโจทย์ได้ทั้งพนักงาน ผู้บริหาร และลูกค้า แต่ส่วนใหญ่จะใช้กับพนักงานเป็นหลัก โดยจะล็อกอินเข้ามา ด้วยไอดีพาสเวิร์ดจากบริษัทของเขา  

“ยกตัวอย่าง แมคโดนัล เขาจะดึงพนักงานพาร์ทไทม์เข้าระบบ แล้วพนักงานก็จะสามารถเช็คออนไลน์จากที่ไหนก็ได้ เพื่อเข้ามาดูคะแนน ตรงนี้ก็เป็นเหมือนเว็บไซต์อีคอมเมิร์ชตัวหนึ่ง บริษัทเขาจะมีการตั้งเกณฑ์คะแนนไว้ เช่น Birthday
Point รับไปเลย 300 แต้ม หรือมาทำงานวันหยุดได้ 500 แต้มแมคโดนัลที่ญี่ปุ่นใช้มาได้สองปีมีอัตราการแนะนำเพื่อนมาสมัครงานเพิ่มขึ้น 80% และอัตราการลาออกลดลง 3.9% ซึ่งเมื่อดูจากอัตราการลาออกที่ลดลงก็แสดงว่าบริษัทจะประหยัดค่ารับสมัคร หรือค่าเทรนด์พนักงานใหม่ได้

“คอนเส็ปต์นี้สามารถใช้ได้กับทุกแผนก จุดเด่นของเราก็คือของรางวัล ซึ่งมีมากกว่า 1,000 รายการ ที่สำคัญของรางวัลเราถูกกว่าราคาตลาด ตั้งแต่ 5 - 50%  เพราะว่าเราจะดีลกับตัวแทนการจำหน่ายสินค้าด้วย ซึ่งก็ถือว่ามันเป็น
สิ่งที่ดีสำหรับทุกฝ่าย”

ด้วยประสบการณ์ที่ยาวนานในธุรกิจประเภทนี้ ประกอบกับวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล คุณชินยะเล็งเห็นถึงแนวโน้มและทิศทางที่ดีในการต่อยอดธุรกิจในเมืองไทย ก่อนที่จะขยายไปที่อื่นในภูมิภาคอาเซียน 

“จุดเริ่มต้นของการทำธุรกิจนี้ที่ประเทศไทย มีอยู่สามประเด็น คือหนึ่งเลย GDP ของคนไทยค่อนข้างสูง สองคอนเส็ปต์การใช้ Incentive point สามารถใช้กับประเทศไหนก็ได้ เพราะเรามีระบบที่สมบูรณ์อยู่แล้ว สามคือ คนไทยเราชอบอะไรที่เป็นญี่ปุ่น น่าจะเข้าถึงคนไทยได้ง่าย เราเปิดบริษัทที่ญี่ปุ่นมา 17 ปี แต่เริ่มใช้ Incentive Point มา 7 ปี มี User อยู่ห้าแสนคน มีบริษัทที่ดีลกับเรามีแปดสิบบริษัท 

“ความน่าสนใจของแต้มนั้นอยู่ที่พนักงานสามารถสะสมคะแนนไปได้เรื่อยๆ ทำให้มีความรู้สึกว่าอยากสะสมต่อ ข้อดีคือมูลค่าของพอยท์ ที่มีมูลค่าสูงกว่าเงินสด บริษัทส่วนใหญ่อายุพอยท์จะอยู่ที่ 2 - 3 ปี การมีวันหมดอายุของคะแนนสะสมจะช่วยให้พนักงานหรือบุคลากรในองค์กรมีแรงกระตุ้นที่จะสะสมคะแนน เพราะถ้าไม่มีวันหมดอายุก็จะไม่กระตือรือร้น ไม่พยายามพัฒนาตนเอง

“โอกาสทางธุรกิจนี้ในประเทศไทยมีความเติบโตเป็นอย่างมาก เพราะหนึ่งเลยคือเราไม่มีคู่แข่ง เราเป็นเจ้าแรกและเจ้าเดียวในเมืองไทยตอนนี้ และเรามีระบบการจัดการที่ครอบคลุมให้บริการแบบครบวงจร และอัตราการตกงานของไทยต่ำกว่า 1% หมายความว่าคนไทยเรามีนิสัยชอบเปลี่ยนงาน ฉะนั้นหลายบริษัทต้องหากลยุทธ์ที่จะทำให้บุคลากรในองค์กรอยู่ในบริษัทได้นานไม่ลาออก บริการของเรานี้ช่วยตอบโจทย์ทางด้านนี้  เพราะถ้าพนักงานคนนั้นลาออก แต้มที่สะสมมาก็จะนำไปใช้ไม่ได้อีก หรือต้องใช้ให้หมดก่อนลาออก  

“เราตั้งเป้าไว้ว่าในปี 2016 จะมียอดอยู่ที่ 150 ล้านบาทปี 2018 จะต้องมียอดถึง 680 ล้านบาท  เพราะที่ประเทศญี่ปุ่นเปิดบริการ มียอดสูงถึง 2,000 ล้านบาท ภายใน 7 ปี องค์กรขนาดเล็กก็สามารถทำได้ โดยค่าใช้จ่ายเราจะดูจากยอดพอยท์เป็นหลัก โดยองค์กรที่มีตั้งแต่ 100 คน จะมีค่าติดตั้งครั้งแรกอยู่ที่ หนึ่งแสนบาท และค่าบริการรายเดือนติดตั้งทั้ง PC และ สมาร์ทโฟน เดือนละ 5,000 บาท ถ้าทางองค์กรมียอดพอยส์ไม่ถึง สองล้านก็จะจ่ายปกติ แต่ถ้ามียอดพอยท์เกินสองล้าน ก็ไม่ต้องจ่ายค่าบริการ จ่ายแค่ค่าพอยท์ 1 พอยท์ 1 บาท  เพราะแต่ละบริษัทต้องมีการคำนวณยอดจากจำนวนพนักงานอยู่แล้ว บริษัทไหนที่จะไปทำเองค่าติดตั้งก็ไม่ต่ำกว่าห้าแสนบาทและก็ต้องหาของรางวัลเองอีก แต่ของเรามีบริการให้พร้อมหมด

“การแลกของรางวัลของเราก็ง่าย เพราะเมื่อพนักงานเก็บสะสมคะแนนถึงยอดของรางวัลที่เขาต้องการ ก็แค่คลิกเลือกแลกพอยท์กับของรางวัล จะจัดส่งสิ่งของให้ภายใน 14 วัน โดยส่งไปให้ที่บริษัท และบริษัทก็สามารถบอกเราได้ว่ต้องการสิ่งของอะไรเพิ่มเติมจากที่เรามีให้เลือกอยู่แล้ว ก็สามารถบอกได้เลย

“ถึงเราจะเพิ่งเปิดใช้บริการที่เมืองไทยแต่ ฟีดแบคดีมาก ลูกค้าที่ไปติดต่อจะให้ความสนใจเพราะเป็นบริการใหม่ เขาไม่เคยรู้มาก่อนว่ามีบริการแบบนี้ด้วย และบริษัทของเราก็มีนวัตกรรมใหม่ที่จะพัฒนาองค์การ ช่วยตอบโจทย์ลูกค้าได้จริง และยิ่งเรามีสินค้าจากญี่ปุ่น เขาก็ยิ่งสนใจ เพราะปกติจะติดต่อในการซื้อสินค้ายาก  

“เบเนฟิต วัน ประเทศไทย ตอนนี้ทำแค่ธุรกิจด้านนี้ด้านเดียว แต่ที่ประเทศญี่ปุ่นก็จะมีธุรกิจ 3 - 4 บริษัท ของเราจัดเป็นอันดับ 1 เพราะเมื่อวัดจากลูกค้าแล้ว เรามีลูกค้ากว่า 5,000 บริษัท มี User กว่าหกล้านรหัส ของเราถือว่าใหญ่ที่สุด นอกจากที่ไทยและญี่ปุ่นแล้ว เราก็เปิดที่เซียงไฮ้ อเมริกา สิงคโปร์ ไต้หวัน อินโดนีเซีย ในบางประเทศก็จะมีผู้ร่วมหุ้นด้วย และตอนนี้ก็มองไว้ว่าจะเปิดเพิ่มที่ เยอรมนี และ ออสเตรเลีย 

“ส่วน AEC ที่จะมาถึงในปี 2015 นี้  เราน่าจะเติบโตในระดับหนึ่ง และพร้อมแล้วที่จะให้บริการในกลุ่มอาเซียน เช่น เวียดนาม ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย เมียนมาร์ โดยมีประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของภูมิภาคนี้ และจะขยายไปยังประเทศใกล้เคียงด้วย สำหรับผู้ที่คิดจะทำธุรกิจเรื่องหลักๆ ที่ผมอยากแบ่งปันก็คือคุณต้องหาความรู้ รู้ลึกรู้จริง ต้องมีความจริงจัง คุณต้องมีความมุ่งมั่นในการทำงาน ต้องขยัน ถ้าคุณจะเริ่มทำธุรกิจ ขอให้คุณมีความมุ่งมั่นและต้องจริงจัง รู้จริงทำจริง” 

Know Him

ชินยะ ทาคาอิ ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง Deputy Managing Director
บริษัท Benefit (one) Thailand เป็นบริษัทในเครือ Benefit ประเทศญี่ปุ่น ที่ทำเกี่ยวกับธุรกิจ Employees Benefit

ให้มากกว่าโบนัส