เปรม หะทัยธรรม

เปรม หะทัยธรรม

หนึ่งในผลงาน Masterpiece นั้นต้องยกให้กับตัวเอกอย่างหนุมาน ซึ่งมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวและยังไม่มีใครเคยทำมาก่อน ถึงแม้จะเป็นโมเดลกระดาษชิ้นแรกของหนุ่มคนนี้ แต่เสียงตอบรับกลับมีมาอย่างเกินคาด และยังสามารถสร้างการรับรู้ให้ผู้คนได้รู้จักพร้อมกับพูดถึงโมเดลฝีมือคนไทยมากขึ้นเรื่อยๆ

จุดเด่นของ Boxburi นั้นจะนำสิ่งที่คนไทยคุ้นเคยกันดีอยู่แล้วมาทำ ทุกขั้นตอนในการออกแบบทั้งหมดนั้นเรียกว่ามีความซับซ้อน ตั้งแต่การสเก็ตซ์แบบลงบนกระดาษ นำเข้าคอมพิวเตอร์ดูว่าจะลงสีอย่างไร แล้วจึงทำเป็นหุ่นสามมิติขึ้นมา จากนั้นจึงค่อยลงลวดลายที่มีความละเอียดบนพื้นผิวของโมเดลแต่ละตัว ซึ่งเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ต้องอาศัยทักษะเฉพาะด้านในการทำ 

ลวดลายบนพื้นผิวของโมเดลต้องวาดและลงสีเอง เพราะต้องดูมุมดูแสงเงาทั้งหมดให้ออกมาเป็นธรรมชาติ ซึ่งทักษะตรงนี้ถือเป็นทักษะเดียวกันกับการสร้างเกมสามมิติ ดังนั้นแม้ลักษณะของโมเดลกระดาษจะมีเหลี่ยมเยอะเพียงใด แต่เขาก็สามารถลงลวดลายลงไปได้  เพราะก่อนหน้านี้เขาเคยทำงานเป็นนักสร้างเกมออนไลน์สามมิติให้บริษัทจากแดนกิมจิมา ทักษะและประสบการณ์ต่างๆ จึงถูกดึงออกมาใช้ได้อย่างลงตัว 

เทคนิคสำคัญที่เขานำมาใช้ก็คือ การเพ้นท์ให้โมเดลดูมีมิติ การสร้างตัวละครในเกมจะไม่อาศัยแสงในโปรแกรมช่วย แต่จะใช้แสงจากการเพ้นท์ด้วยมือปกติ มันเหมือนการวาดรูปและลงสี แต่จะเป็นการลงในแบบสามมิติ ลงทั้งแสงและเงาไปด้วย ซึ่งจะทำให้โมเดลดูมีมิติมากขึ้น 

ไม่เพียงแต่โมเดลกระดาษโครงสร้างทั่วไปที่เขาคิดและทำออกมา งานในคอลเล็กชั่นอื่น ยังมีลูกเล่นที่น่าสนใจไม่แพ้กัน  

“โมเดลทั้งหมดที่ทำออกมาแบ่งเป็น 3 ประเภท แบบแรกจะเป็นโมเดลหน้าตาไทยๆ มีหนุมาน จ่าเฉย หงส์ และเร็วๆ นี้ เจ้าทศกัณฐ์ ก็กำลังจะออกมา งานชุดนี้จะมีความเป็นไทยและมีลวดลายที่สวยงามชัดเจน แต่จะไม่ค่อยมีลูกเล่น เด็กๆ อาจจะรู้สึกว่าต่อยาก” เขาจึงตัดสินใจออกคอลเล็กชั่นให้เด็กๆ สามารถต่อเองได้ง่ายมากขึ้น และยังใส่ลูกเล่นเข้าไปให้ดูน่าสนใจ จนได้ออกมาเป็นโมเดลที่สามารถขยับหัวได้ตลอดเวลาเมื่อมีแสงสว่าง ด้วยแผงโซล่าเซลขนาดเล็กที่ติดไว้ด้านหลังของโมเดล    

ส่วนคอลเล็กชั่นสุดท้ายเขาก็ยังอยากให้มีลูกเล่นมากขึ้นไปอีก โดยให้มีกลไกอยู่ภายใน เป็นการให้เด็กได้เรียนรู้กลไกวิทยาศาสตร์อย่างง่าย ด้วยการเอาหนังยางมาประยุกต์ เวลากดหัวมันลงไปแขนมันจะขยับขึ้นลงและสามารถเปลี่ยนใบหน้าในอารมณ์ต่างๆ ได้

นอกเหนือจากผลงานทั้งสามแบบที่ว่ามา Boxburi ยังรับทำโมเดลกระดาษตามออเดอร์ให้มีรูปร่างหน้าตาเหมือนเจ้าตัวได้ด้วย อย่างบ่าวสาวคู่หนึ่งที่เลือกทำโมเดลกระดาษตัวเล็กๆ มีใบหน้าของทั้งฝ่ายชายและหญิงมาเป็นของชำร่วย แบบไม่เหมือนใคร

ถึงวันนี้เจ้าตัวก็ยังพยายามแตกไลน์โมเดลกระดาษให้สามารถนำมาเป็นของใช้ขึ้นมา จากที่เคยเป็นแค่โมเดลเอาไว้ตั้งโชว์ เช่น อาจจะทำเป็นกล่องใส่กระดาษทิชชู่ หรืออะไรที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวันได้

ความคาดหวังในตัวผลงานถูกถามขึ้นระหว่างพูดคุยเขาตอบเพียงว่า “ในช่วงเริ่มต้นก็แค่อยากให้มีของแบบนี้เกิดขึ้นมา เพราะยังไม่มีคนไทยทำมาก่อน อยากให้มีของเล่นที่คงความเป็นไทยเอาไว้ และสามารถก้าวไปสู่สากลได้” ดูเหมือนว่าความต้องการของเขากำลังเดินไปข้างหน้า พร้อมการยอมรับในผลงานที่มีมากขึ้นๆ อีกหน่อยหากพูดถึงโมเดลกระดาษ เราอาจจะต้องนึกถึงเมืองแห่งกล่องอย่าง Boxburi ขึ้นมาเป็นอันดับแรกก็ว่าได้ 

โมเดลกระดาษนั้นถือว่าได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย