สารตั้งต้นความหลอนใน “Consecration” เกิดจากการตั้งคำถามถึงศาสนา เผยที่มาของไอเดีย “หากมีการตายในโบสถ์ มันจะต้องมีมลทินจนกว่าจะมีการทำพิธีชำระล้าง”

สารตั้งต้นความหลอนใน “Consecration” เกิดจากการตั้งคำถามถึงศาสนา เผยที่มาของไอเดีย “หากมีการตายในโบสถ์ มันจะต้องมีมลทินจนกว่าจะมีการทำพิธีชำระล้าง”

 

เตรียมก้าวสู่ด้านมืดสุดสยองของดินแดนอันศักดิ์สิทธิ์ที่ไม่มีใครกล้าลบหลู่ใน “Consecration สถิตปีศาจ” ภาพยนตร์สยองขวัญชวนผวาที่จะพาทุกคนไปร่วมสืบหาความจริงเกี่ยวกับการตายอย่างมีเงื่อนงำในอารามแห่งหนึ่ง โดยสารตั้งต้นของภาพยนตร์สยองขวัญเรื่อง “Consecration” เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในปี 2017 เมื่อ “ลอรี คุก” โปรดิวเซอร์จาก Bigscope Films สนใจในแนวคิดที่ว่า หากมีการตายในสถานในโบสถ์ มันจะต้องมลทิน จนกว่าจะมีการทำพิธีชำระร้าง เธอกล่าวว่า “มันเป็นคอนเซปต์ที่น่าสนใจมาก การที่มีระยะหนึ่งที่ความชั่วร้ายสามารถแฝงตัวอยู่ในสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดได้”

ลอรี คุก ทำงานร่วมกับ คริส สมิธ ผู้กำกับที่เธอร่วมงานในฐานะโปรดิวเซอร์ด้วยมานาน เธอรู้ดีว่าเขาอยากกลับมาทำหนังสยองขวัญอีกครั้ง สมิธกล่าว “ผมจำฉากหนึ่งจากหนังเช็กเรื่อง Valley of The Bees ได้ติดตา มันเป็นฉากนักบวชสมัครใจเดินถอยหลังลงหลุมไปสู่ความตาย ผมสงสัยว่าเราจะสร้างหนังมีตัวละครซึ่งทุกก้าวถอยหลังหมายถึงการได้รับอภัยโทษได้ไหม”

คริส สมิธ ได้ร่วมกับ ลอรี คุก เขียนโครงเรื่องขึ้นมา และนำไปเสนอให้กับ ซาเวียร์ มาร์ชานด์ โปรดิวเซอร์จากบริษัท Moonriver Content ซึ่งมีผลงานแนวสยองขวัญที่ประสบความสำเร็จหลายเรื่อง เช่น The Woman in Black และ แฟรนไชส์ Insidious เข้ามาร่วมพัฒนาและสนับสนุนด้านเงินทุน

ผลงานที่ผ่านมา คริส สมิธ สะท้อนหลงใหลในธีมเกี่ยวกับเวลาและความทรงจำ สมิธไม่เชื่อเรื่องผี แต่เชื่อว่า “ผีคือปีศาจที่เราฝังไว้ในจิตใต้สำนึกของตัวเอง มันคือสิ่งที่คอยหลอกหลอนคุณตลอดเวลา” กรอบแนวคิดนี้นำไปสู่การพัฒนาบท Consecration จนกลายเป็นหนังสยองขวัญอิงศาสนารสชาติใหม่ ผ่านตัวละครนำที่มีมิติอย่างเกรซ พร้อมกับจุดหักมุมที่เป็นสไตล์เฉพาะตัวของสมิธ สร้างมิติให้กับตัวละคร และการท้าทายความเชื่อ “ผมต้องการย้อนกลับไปยุคคลาสสิกในบางมุม อย่างการจับผู้หญิงยุคใหม่ที่ไม่เคร่งศาสนา โยนเธอกลับไปยุคกลาง ทั้งในเชิงสัญญะและสิ่งที่เกิดขึ้นตรงหน้า”

เมื่อการพัฒนาบทภาพยนตร์ใกล้จะเสร็จสมบูรณ์ ทีมโปรดิวเซอร์ได้เริ่มมองหาโลเคชั่นที่จะใช้ถ่ายทำนอกเหนือจากในลอนดอน หนึ่งในฉากสำคัญคือฉากสำนักชี ซึ่งเป็นเหมือนตัวละครที่ปรากฏตลอดทั้งเรื่อง คอยสร้างความรู้สึกอึดอัดตีกรอบเกรซให้จนมุม โชคดีที่ ลอรี คุก ค้นพบ St. Albans Academy โรงเรียนประจำที่เคยเป็นสำนักชีมาก่อน ทีมงานเข้าใช้สถานที่ส่วนต่างๆ ในการถ่ายทำ เช่น ห้องเรียนถูกใช้เป็นออฟฟิศ ห้องนอนกลายเป็นห้องแต่งตัวนักแสดง ฯลฯ

เจสัน นิวมาร์ก อีกหนึ่งโปรดิวเซอร์กล่าว “การได้ใช้สถานที่นี้ เหมือนเรามีโรงถ่ายขนาดย่อมเป็นของตัวเอง เราจัดไฟในแต่ละฉากไว้ล่วงหน้าได้ และย้ายจากเซ็ตหนึ่งไปอีกเซ็ตหนึ่งอย่างรวดเร็ว สะดวก และมีประสิทธิภาพ”

นอกจากนี้  ลอรี คุก ยังพบซากปราสาทยุคกลางที่ชื่อว่าดันทูลัม ซึ่งตั้งอยู่บนหน้าผาริมทะเลบนเกาะสกายในสกอตแลนด์ ปราสาทเก่าแก่แห่งนี้มีรูปลักษณ์ที่เข้ากับบรรยากาศของหนังได้ดี ทีมงานจึงขออนุญาตคณะกรรมการภาพยนตร์สกอตแลนด์เพื่อขอถ่ายทำภายในพื้นที่ แม้จะมีการจำกัดจำนวนทีมงามแต่สุดท้ายทีมงานก็ได้รับอนุญาต ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่มีภาพยนตร์ได้รับอนุญาตถ่ายทำในสถานที่นี้

ในส่วนของการคัดเลือกนักแสดง ผู้กำกับและทีมผู้สร้างต่างให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก และพวกเขาก็สามารถรวบรวมทีมดาราชั้นนำอย่าง เจนา มาโลน, แดนนี ฮุสตัน และ เจเน็ต ซูซแมน ซึ่งเป็นผู้ถูกถูกเสนอชื่อเข้าชิงออสการ์ในปี 1972 จาก (Nicholas and Alexandra – 1971) ทั้งสามต่างสนใจที่จะได้ร่วมงานกับ คริส สมิธ และบทภาพยนตร์ที่ซับซ้อนและสดใหม่

อีกหนึ่งเรื่องน่าสนใจที่ คริส สมิธ ไม่รู้มาก่อน คือ เจนา มาโลน และ แดนนี ฮุสตัน มีความเชื่อมโยงผ่านทางครอบครัวของแดนนีอยู่แล้ว นั่นคือ แองเจลิกา ฮุสตัน พี่สาวของแดนนี ที่เคยเป็นคนแคสต์เจนาในหนังเรื่องแรกของเธอ ดังนั้นพวกเขาทั้งสองจึงรู้สึกตื่นเต้นที่ได้กลับมาทำงานร่วมกัน

ฮุสตันเล่า “เจนาเป็นคนที่น่าทำงานด้วยมาก เธอเป็นคนสนุก แถมยังน่ารักมาก เธอมีออร่าแบบโจนออฟอาร์ค เธอมีสายตาคมกริบ และมีวิธีการแสดงที่น่าสนใจที่ทำให้คุณอยากติดตาม เธอไม่ได้เปิดเผยหมดเปลือก”

มาโลนกล่าวถึงผู้กำกับ “คริสมีพลังเหลือเชื่อ เป็นผู้กำกับที่มอบพลังบวกให้ฉันมากที่สุดเท่าที่ฉันเคยทำงานด้วย เขาเอื้อเฟื้อและเต็มไปด้วยความคิดสร้างสรรค์” ฮุสตันกล่าว “คริสสามารถสร้างโลกที่บ้าคลั่งแต่งดงามนี้ขึ้นมาได้ มีความงามแปลกแฝงในเหล่าแม่ชี พวกเธอดูเหมือนทำมาจากหินอ่อน และเมื่อเลือดกระเซ็นบนตัวพวกเธอ มันทำให้ผมนึกถึงความงามแบบกอธิก”

มาโลนอินกับบททันที โดยเฉพาะจุดหักมุมท้ายเรื่อง เธอตกลงเดินทางมาลอนดอนเพื่อถ่ายทำ มาโลนกล่าว “ฉันคิดว่า Consecration เป็นการผสมผสานที่ลงตัวระหว่างหนังระทึกขวัญศาสนากับหนังสยองขวัญจิตวิทยา” สมิธกล่าว “ผมไม่กลัวคนตาย ผมกลัวคนเป็น และผมคิดว่าสิ่งที่ทำให้คนที่ศรัทธาในศาสนาอย่างแรงกล้ากลายเป็นฆาตกร มันไม่ใช่ตัวศาสนา แต่เป็นเพราะการที่ศาสนาถูกบิดเบือน” มาโลนเสริม “ฉันคิดว่าองก์ที่สามของหนังจะทำให้หลายคนอ้าปากค้าง”

การถ่ายทำเริ่มขึ้น ที่เกาะสกาย” พูดถึงเกาะนี้ว่า “มันเหมือนดินแดนของพระเจ้า คุณสัมผัสได้ถึงความงดงามของธรรมชาติที่ยังไม่ผ่านมือมนุษย์ เราสัมผัสได้ถึงความยิ่งใหญ่ ห่างไกลจากผู้คนและความวุ่นวายทั้งปวง”

หนึ่งในฉากที่เจนาชอบที่สุดคือฉากพิธีชำระล้างซึ่งเป็นไคลแมกซ์ของเรื่อง เจนาเล่าว่า “แม่ชีกลุ่มหนึ่งช่วยกันพยุงตัวฉันขึ้น เหมือนในคอนเสิร์ตวงร็อค เราซ้อมกันซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนกลายทีมยิมนาสติกที่ทำงานสอดประสานเป็นหนึ่งเดียว เราไว้ใจกันและกัน พวกเธอเป็นกำลังใจและคอยสนับสนุนฉันเสมอ”

ฮุสตันเล่า “สำหรับผม ความน่ากลัวที่แท้จริงในหนังเรื่องนี้ คือสิ่งเราซ่อนเร้นไว้ใต้จิตสำนึก โดยเฉพาะเมื่อมันเกี่ยวข้องกับความศรัทธาและศาสนา”

เตรียมกระชากสู่ “ด้านสยอง” ของ “แดนศักดิ์สิทธิ์” ใน “Consecration สถิตปีศาจ” ภาพยนตร์สุดสยองรับต้นปี 16 มกราคมนี้ ในโรงภาพยนตร์

 

arrow_left sharing button

สารตั้งต้นความหลอนใน “Consecration” เกิดจากการตั้งคำถามถึงศาสนา “ลอรี คุก” โปรดิวเซอร์ของภาพยนตร์เผยที่มาไอเดีย “หากมีการตายในโบสถ์ มันจะต้องมีมลทินจนกว่าจะมีการทำพิธีชำระล้าง”