บีเอเอสเอฟ จัดกิจกรรมคิดส์แล็บ Kids’ Lab ที่โรงงาน จ. ระยอง

บีเอเอสเอฟ จัดกิจกรรมคิดส์แล็บ Kids’ Lab ที่โรงงาน จ. ระยอง

บีเอเอสเอฟ ประเทศไทย ขอนำส่งข่าวประชาสัมพันธ์ "บีเอเอสเอฟ จัดกิจกรรมคิดส์แล็บ (Kids’ Lab) เปิดโลกวิทยาศาตร์เคมีให้แก่น้องๆ ที่โรงงาน จ. ระยอง" โดยมีรายละเอียดดังนี้

ระยอง - วันที่ 3 ธันวาคม 2567: บีเอเอสเอฟ เปิดบ้านต้อนรับชุมชนใกล้เคียงโรงงานจังหวัดระยอง จัดกิจกรรมคิดส์แล็บ (Kids’ Lab) โปรแกรมการเรียนรู้ทักษะวิทยาศาสตร์เคมีแบบลงมือปฏิบัติจริง ที่เปิดโลกวิทยาศาสตร์ให้แก่นักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 5-6 จำนวนกว่า 70 คน จากโรงเรียนบ้านคลองกรำ อำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง รวมถึงคณะครู ผู้บริหาร และบุตรหลานของพนักงานบีเอเอสเอฟ  กิจกรรมครั้งนี้ เน้นการสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ที่สนุกสนานผ่านการทดลองทางวิทยาศาสตร์เคมี เพื่อช่วยปลูกฝังให้เด็ก ๆ รักการเรียนรู้ แสวงหาความรู้ใหม่ ๆ และเข้าใจพื้นฐานกระบวนการทำงานต่างๆ รอบตัว นอกจากนี้ ทีมงาน บีเอเอสเอฟ จากทั้งโรงงานในระยองและสาขาอื่น ๆ ได้เข้าร่วมจัดกิจกรรมและเกมเสริมทักษะด้านเคมี  พร้อมสร้างความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นระหว่างองค์กรและชุมชนในพื้นที่ สะท้อนถึงความมุ่งมั่นของ บีเอเอสเอฟ ในการส่งเสริมการศึกษา และสนับสนุนการพัฒนาชุมชนให้เติบโตอย่างยั่งยืนร่วมกัน


โปรแกรมนี้ได้รับการออกแบบมาเพื่อจุดประกายความคิดสร้างสรรค์ของเยาวชนและปลูกฝังความเข้าใจอย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับความยั่งยืนและความปลอดภัยผ่านวิทยาศาสตร์ โดยไฮไลท์ของวันนี้ประกอบด้วย:

การทดลอง “Superabsorber” ที่ห้องปฏิบัติการบริการทางเทคนิค: กิจกรรมเชิงปฏิบัติที่ช่วยเปิดโลกวิทยาศาสตร์เบื้องหลังสารพอลิเมอร์ดูดซับน้ำอันน่าทึ่ง พร้อมกระตุ้นความสนใจของเด็กๆ ในการประยุกต์ใช้เคมีเพื่อแก้ปัญหาในชีวิตจริง

การคัดแยกขยะ: กิจกรรมสนุกสนานที่สอดแทรกความรู้เพื่อสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของการจัดการขยะอย่างถูกวิธี และเป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาสู่อนาคตที่ยั่งยืน

ความปลอดภัยในบ้าน: เกมที่ทั้งสนุกและเปี่ยมด้วยสาระ เน้นให้ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยในชีวิตประจำวัน

กิจกรรม “คิดส์แล็บ” สะท้อนถึงความมุ่งมั่นของ บีเอเอสเอฟ ในการส่งเสริมการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์เคมี พร้อมทั้งสร้างความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นกับชุมชนท้องถิ่น โครงการนี้เริ่มต้นในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2547 และสามารถเข้าถึงนักเรียนระดับประถมศึกษากว่า 10,000 คนทั่วประเทศ โดยมีเป้าหมายในการจุดประกายแรงบันดาลใจให้กับนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ และทำให้ความมหัศจรรย์ของวิทยาศาสตร์เคมีเป็นสิ่งที่ทุกคนเข้าถึงได้อย่างสะดวกทุกที่ทุกเวลา

นอกจากนี้ ในปีที่ผ่านมา บีเอเอสเอฟ ยังได้ยกระดับความสำเร็จของโครงการนี้ผ่านช่องทางออนไลน์ ด้วยการเปิดตัว “BASF Virtual Lab” แพลตฟอร์มดิจิทัลที่มอบโอกาสให้เด็กๆ ได้สัมผัสประสบการณ์เสมือนจริงในบทบาทนักวิทยาศาสตร์ พร้อมทั้งสนุกกับการทดลองทางวิทยาศาสตร์ได้อย่างสะดวกสบาย ไม่ว่าจะอยู่ที่โรงเรียนหรือที่บ้าน
 


เกี่ยวกับบีเอเอสเอฟ
ที่บีเอเอสเอฟ เราสร้างเคมีภัณฑ์เพื่ออนาคตที่ยั่งยืน เราให้ความสำคัญต่อความสําเร็จทางเศรษฐกิจควบคู่ไปกับการปกป้องสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม เรามีพนักงานมากกว่า 112,000 คนที่มีส่วนร่วมในการสร้างความสำเร็จให้กับลูกค้าของเรา ที่ดำเนินธุรกิจในเกือบทุกภาคส่วนและเกือบทุกประเทศในโลก ธุรกิจของเราประกอบด้วย 6 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มเคมี กลุ่มวัสดุ กลุ่มโซลูชั่นอุตสาหกรรม กลุ่มเทคโนโลยีพื้นผิว กลุ่มโภชนาการและการดูแล และกลุ่มโซลูชั่นการเกษตร บีเอเอสเอฟ สร้างยอดขาย 68.9 พันล้านยูโรในปี 2023 หุ้นของบีเอเอสเอฟมีการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ในแฟรงค์เฟิร์ต (BAS) และในฐานะ American Depositary Receipts (BASFY) ในสหรัฐอเมริกา อ่านข้อมูลเพิ่มเติมที่ www.basf.com  


เกี่ยวกับบีเอเอสเอฟในประเทศไทย
บีเอเอสเอฟดำเนินธุรกิจในประเทศไทยมานานกว่า 50 ปี บริษัทนำเสนอผลิตภัณฑ์และโซลูชั่นที่มีความหลากหลาย และสามารถรองรับความต้องการของลูกค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิตต่างๆ ได้แก่ โซลูชั่นทางการเกษตร ตัวกลางและตัวเร่งปฏิกิริยาในกระบวนการ มอนอเมอร์ ปิโตรเคมี สียานยนต์ สารกระจายตัวและเรซิน เคมีภัณฑ์ประสิทธิภาพ เคมีเพื่อผลิตภัณฑ์อุปโภค เคมีเพื่อโภชนาการและสุขภาพ และวัสดุประสิทธิภาพ บีเอเอสเอฟประเทศไทยก่อตั้งขึ้นในปีพ.ศ. 2509 มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงเทพ มีโรงงานผลิต 3 แห่งในจังหวัดสมุทรปราการ ชลบุรี และระยอง อีกทั้งจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการด้านเทคนิคของธุรกิจสีพ่นรถยนต์ และศูนย์พัฒนาทางเทคนิคของธุรกิจโพลิเมอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงประจำภูมิภาคอาเซียน ในจังหวัดสมุทรปราการ โดยในปี 2566 ยอดขายของกลุ่มบริษัทบีเอเอสเอฟสำหรับลูกค้าในประเทศไทย มีมูลค่า 570 ล้านยูโร และมีพนักงานรวมทั้งสิ้น 625 คน ณ สิ้นปี อ่านข้อมูลเพิ่มเติมที่ www.basf.com/th 

บีเอเอสเอฟ จัดกิจกรรมคิดส์แล็บ (Kids’ Lab) ที่โรงงาน จ. ระยอง เชื่อมโยงชุมชนผ่านโปรแกรมทดลองทักษะวิทยาศาสตร์เคมีแบบลงมือปฏิบัติจริง