การปรับตัวของอัญมณีและเครื่องประดับ
วงการอัญมณีและเครื่องประดับถือเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่เก่าแก่ที่สุดในโลก ส่วนในประเทศไทยอุตสาหกรรมนี้มีมูลค่าการส่งออกเป็นอันดับ 3 ของประเทศ อย่างที่ทราบกันดีว่าในเรื่องธุรกิจจำเป็นต้องมีอุปสงค์และอุปทาน ถ้ามีผู้ขายแต่ไม่มีผู้ซื้อทุกอย่างก็ล่มสลายทันที หลายครั้งที่เศรษฐกิจโลกชละตัวผู้บริโภคชะลอการใช้จ่าย โดยเฉพาะในช่วงโควิด- 19 กิจกรรมทั้งโลกแทบจะหยุดลงวงการอัญมณีและเครื่องประดับก็ได้รับผลกระทบหนักเช่นกัน เนื่องจากเป็นสินค้าฟุ่มเฟือย ผู้บริโภคชะลอการใช้จ่าย ทำให้คนที่อยู่ในวงจรธุรกิจนี้ได้รับผลกระทบไปเต็ม ๆ
ในส่วนของประเทศไทยซึ่งถือว่าติดอันดับในการผลิต และส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับโลก ก็ประสบปัญหาไม่แพ้กัน แต่รัฐบาลไทยและภาคเอกชนช่วยเหลือกันในทุกภาคส่วน ตั้งแต่การสนับสนุนการค้าระหว่างประเทศ การหาตลาดใหม่ โดยเฉพาะสนับสนุนให้จังหวัดจันทบุรีเป็นศูนย์กลางการค้าอัญมณีแห่งหนึ่งของโลก แต่สิ่งที่จะทำให้ประเทศไทยต้องเร่งทำคือการสร้างแบรนด์ของตัวเองขึ้นมาไปสู่ระดับโลก แทนที่จะเป็นผู้ผลิตเพียงอย่างเดียว โดยสิ่งที่จะเข้ามาช่วยคือนวัตกรรมทางเทคโนโลยี เริ่มตั้งแต่สร้างความน่าเชื่อถือในสถาบันที่ออกใบรับรองอัญมณี รวมไปถึงการขายของออนไลน์ที่มีระบบรัดกุม ตั้งแต่เรื่องการชำระเงินจนถึงกระบวนการส่งของให้ถึงมือลูกค้าอย่างปลอดภัย นอกจากนี้อาจใช้เทคโนโลยีให้มีการทดลองสวมใส่อัญมณีแบบออนไลน์ เป็นต้น
ในอนาคตวงการอัญมณีและเครื่องประดับยังต่อพบกับอุปสรรคที่ท้าทาย ตั้งแต่เรื่องความผันผวนของเศรษฐกิจโลก ของคู่แข่งที่เพิ่มจำนวนขึ้นในขณะที่ตลาดอยู่ในจุดเดิม รวมถึงพฤติกรรมผู้บริโภครุ่นใหม่ที่นิยมสินค้าแฟชั่นกระแสที่มาและไปอย่างรวดเร็ว แม้แต่เทรนด์ของโลกที่อาจเปลี่ยนไปลดการบริโภคสินค้าฟุ่มเฟือย เน้นความเป็นแฟชั่นที่คุ้มค่ามากขึ้น นอกจากนี้สังคมยังให้ความสนใจเรื่องสิ่งแวลดล้อม กระแสรักษ์โลกที่มาแรง ซึ่งกระบวนการเริ่มต้นการทำอัญมณีส่วนหนึ่งต้องยอมรับว่าทำลายสิ่งแวดล้อมจริง จึงต้องแสดงความจริงใจในการแก้ไขปัญหา วงการอัญมณีในอนาคตจึงต้องรับมือและปรับตัว เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์และหาจุดตรงกลางที่ยั่งยืนในสังคมต่อไป