สัมผัสข้อมูลเบื้องลึกหลากอารมณ์ ผ่านเรื่องราวเบื้องหลังของ “Inside Out 2 มหัศจรรย์อารมณ์อลเวง 2” ภาพยนตร์แอนิเมชั่นเปี่ยมล้นทางอารมณ์แห่งปี 

สัมผัสข้อมูลเบื้องลึกหลากอารมณ์ ผ่านเรื่องราวเบื้องหลังของ “Inside Out 2 มหัศจรรย์อารมณ์อลเวง 2” ภาพยนตร์แอนิเมชั่นเปี่ยมล้นทางอารมณ์แห่งปี 

“Inside Out 2 มหัศจรรย์อารมณ์อลเวง 2” ภาพยนต์แอนิเมชันจากค่าย Disney และ Pixar พาเรากลับเข้าไปในความคิดของวัยรุ่นป้ายแดงอย่างไรลีย์อีกครั้ง ในขณะที่ “ศูนย์บัญชาการใหญ่” กำลังเผชิญกับการรื้อถอนอย่างกะทันหันเพื่อเปิดทางให้กับสิ่งที่ไม่คาดคิดมาก่อน นั่นก็คือ “อารมณ์” ใหม่ๆ! ลั้ลลา (Joy)เศร้าซึม (Sadness), ฉุนเฉียว (Anger) , กลั๊วกลัว (Fear) และ หยะแหยง (Disgust) ซึ่งเคยบริหารจัดการทุกอย่างมาได้อย่างราบรื่น ต่างก็รู้สึกสับสนเมื่อ Anxiety (ว้าวุ่น) ปรากฏตัวขึ้น และดูเหมือนว่าจะไม่ได้มาเพียงคนเดียว

ผู้กำกับ เคลซีย์ แมนน์ (Kelsey Mann) กล่าวว่า การต้อนรับ “อารมณ์” ใหม่ๆ เข้ามาในหัวของไรลีย์เป็นเรื่องที่ไม่ต้องคิดอะไรมาก “ผมมุ่งเน้นไปที่ไอเดียของการให้ Anxiety (ว้าวุ่น) เป็นตัวละครหลัก” เขากล่าว “มันเป็นสิ่งที่เริ่มปรากฏขึ้นอย่างชัดเจนเมื่อเราเข้าสู่วัยรุ่น ทุกคนต่างเข้าใจได้ ผมจำได้ว่าเราทำการวิจัยอย่างมากในช่วงแรกเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นในสมองของคนเราในวัยนี้ ซึ่งเป็นสิ่งที่กระตุ้นความคิดนี้ให้เกิดขึ้น เหมือนกับลูกตุ้มรื้อถอนพุ่งเข้ามาที่ศูนย์บัญชาการใหญ่ คนงานก่อสร้างจำนวนมากกรูกันเข้ามาและรื้อถอนทุกอย่างลง มันเหมือนกับการรีโนเวทครั้งใหญ่ นั่นแหละคือความรู้สึกของการก้าวสู่วัยรุ่น มันวุ่นวาย”

อารมณ์ใหม่ๆ ที่เข้ามาร่วมสร้างความวุ่นวายในศูนย์บัญชาการใหญ่ร่วมกับ ว้าวุ่น (Anxiety) ได้แก่ อารมณ์ อิจฉา (Envy), เขิ้นเขินอ๊ายอาย (Embarrassment) และ เฉยชิล (Ennui) ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับ “ความเบื่อหน่าย การดูหมิ่นเหยียดหยาม หรือความรู้สึกหมดอาลัยตายอยาก” แมนน์ กล่าว “ถ้าคุณเคยถามวัยรุ่นว่าวันนี้เป็นยังไงบ้าง แล้วได้ยินคำตอบว่า ‘ก็โอเค’ นั่นแหละคือ Ennui”

การจู่โจมครั้งแรกภายในจิตใจ

ผู้อำนวยการสร้าง มาร์ค นีลเซน (Mark Nielsen) ผู้ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ “Inside Out” ฉบับปี 2015 ที่คว้ารางวัลออสการ์ กล่าวว่า เขาคิดว่าภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับเสียงตอบรับที่ดีจากผู้ชมเพราะมีความใกล้เคียงกับชีวิตจริง “การทำให้สิ่งที่เรารู้สึกเป็นตัวตนนั้นเป็นสิ่งที่น่าติดตามมาก ไม่เพียงเพื่อความบันเทิงเท่านั้น แต่ยังเป็นเพราะมันเป็นสิ่งที่ทุกคนสามารถเชื่อมโยงได้” เขากล่าว

ผู้ช่วยผู้อำนวยการสร้าง คิม คอลลินส์ (Kim Collins) เห็นด้วย “ผมคิดว่าทุกคนชื่นชอบตัวละครเหล่านี้มาก เพราะพวกเขาเปิดโอกาสให้ครอบครัวได้พูดคุยถึงความรู้สึกต่างๆ และทุกอารมณ์ความรู้สึกล้วนมีคุณค่า เราควรแสดงออกและไม่ควรกลบกลั้นบางอารมณ์ไว้เพื่อที่จะยอมรับเพียงแค่อารมณ์สุขเท่านั้น”

เพิ่มเติมจาก พีท ด็อกเตอร์ (Pete Docter) ผู้อำนวยการฝ่ายสร้างสรรค์ของพิคซาร์ ผู้กำกับหนัง “Inside Out” เขากล่าวว่า “ผมคิดว่าแนวคิดนี้พูดถึงผู้คนได้เพราะเราทุกคนล้วนมีอารมณ์ความรู้สึกภายในอยู่อย่างน้อยในระดับจิตใต้สำนึก เรารู้ว่าความรู้สึกเมื่อถูกกลัวครอบงำ ถูกความโกรธเอาชนะ หรือถูกความเศร้าครอบครองนั้นเป็นอย่างไร ดังนั้นเราจึงมีแนวคิดพื้นฐานที่ผู้คนสามารถเข้าถึงและให้ความสนใจ”

ภาคแรกออกฉายในช่วงเวลาที่เหมาะสมมาก ขณะที่ลูกสาวของด็อกเตอร์เองมีอายุเท่าๆ กับ ไรลีย์ และกำลังโต ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดเรื่องราวที่ได้รับการยอมรับจากพ่อแม่และเด็กทั่วโลก “Inside Out เกิดขึ้นจากการรวมกันของการค้นหาสิ่งที่จะใช้ประโยชน์จากสิ่งที่แอนิเมชั่นทำได้ดี นั่นคือ การนำเสนอความรู้สึกในรูปแบบตัวละคร และข้อเท็จจริงที่ว่าในเวลานั้นลูกสาวของผมกำลังผ่านความเปลี่ยนแปลงหลายๆ อย่าง ผมจำได้ว่าตอนวัยรุ่นผมเองก็เปลี่ยนแปลงไปมาก เงียบขรึมขึ้น มีสติรู้ตัวมากขึ้น ไม่ค่อยร่าเริงอย่างเดิม มันทำให้เกิดคำถามว่า ‘เกิดอะไรกับความสุขในวัยเด็กนั้น?’ และ 5 ปีหลังจากที่ภาพยนตร์ออกฉาย เคลซี่ย์ แมนน์ (Kelsey Mann) ได้บอกผมว่าภาพยนตร์เรื่องนี้ตรงกับเขามาก เพราะลูกๆ ของเขาก็ผ่านช่วงเวลาเหล่านั้นมาด้วยเช่นกัน”

แน่นอนว่าลูกๆ ของแมนน์ก็เข้าสู่วัยรุ่นตามมา ทำให้เกิดเรื่องราวใหม่ที่อาจสามารถสร้างการยอมรับในวงกว้างได้เช่นเดียวกัน ไม่นานนักเหล่าผู้สร้างภาพยนตร์จาก Pixar ก็จะนำประสบการณ์วัยรุ่นหรือประสบการณ์ความเป็นพ่อแม่ของวัยรุ่นมาถกกัน

ด็อกเตอร์ กล่าวว่า “เรารู้สึกว่าเรายังมีอะไรต้องทำกับตัวละครเหล่านี้อีก ซึ่งจะพูดถึงความท้าทายและการผจญภัยในช่วงเวลาของการเติบโตเป็นผู้ใหญ่”

จริงๆ แล้วเวทีสำหรับเรื่องนี้ก็เคยจัดวางไว้นานแล้ว ภาพยนตร์เรื่อง “Inside Out” จบลงด้วยคำพูดที่กระตุ้นจากอารมณ์ ลั้ลลา (Joy) ขณะที่มีปุ่มใหม่ที่มีคำว่า “วัยหนุ่มสาว” ปรากฏขึ้นบนจอควบคุม: “ในที่สุด ไรลี่ย์ก็อายุ 12 แล้ว อะไรจะเกิดขึ้นได้ล่ะ?”

นีลเซ่น กล่าวว่า “เรารู้ว่าภาพยนตร์เรื่องแรกวางรากฐานสำหรับช่วงต่อไปของชีวิตไรลี่ย์ไว้แล้ว”

เช่นเดียวกับภาคแรก “Inside Out 2” ไม่ได้หวาดกลัวที่จะเจาะลึกถึงอารมณ์ความรู้สึกที่ยากลำบาก คอลลินส์ กล่าวว่า “สิ่งที่ผมพบว่าน่าชื่นชมในภาพยนตร์เรื่องนี้ คือ มันยอมรับว่าเมื่อเด็กๆ เติบโตเป็นวัยรุ่น อารมณ์ความรู้สึกที่ซับซ้อนก็จะเข้ามาเกี่ยวข้อง และมีหลักวิทยาศาสตร์อยู่เบื้องหลังการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ ดังนั้น เรารู้ว่าเรามีเรื่องราวที่เชื่อมโยงกับเด็กๆ และผู้ปกครอง รวมทั้งทุกคน”

แมนน์ เสริมว่า “เรานำกลุ่มของ ‘อารมณ์’ (Emotions) ที่ซับซ้อนเข้ามาในสมองของไรลี่ย์ เพื่อจัดการกับความรู้สึกต่างๆ เช่น ความริษยา ความอาย และความวิตกกังวล ความวิตกกังวลกลายเป็นเรื่องแพร่หลายไปทั่วในปัจจุบัน มันทำให้คนจำนวนมากทุรนทุราย และเรื่องราวนี้กลับนำเสนอการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวด้วยความเมตตาและความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง และในที่สุดก็นำไปสู่ความสุข”

หลากอารมณ์ของวัยรุ่น

การที่ไรลีย์เข้าสู่วัยรุ่นเป็นเหมือนผืนผ้าใบอันยอดเยี่ยมให้กับผู้สร้างภาพยนตร์ “เราได้พบกับผู้เชี่ยวชาญหลายท่าน” นีลเซน กล่าว “เราอ่านหนังสือมากมายหลายเล่มและพูดคุยกับนักจิตวิทยาเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นกับสมองของวัยรุ่น ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ความคิดของพวกเขากำลังขยายตัว ชัดเจนว่าด้วยอารมณ์ชุดใหม่ที่เข้ามา ความบันเทิงครั้งใหญ่มีแนวโน้มจะเกิดขึ้น และอารมณ์ชุดใหม่นี้จะเข้ามาป่วนอารมณ์หลักทั้งห้าที่เพิ่งจะรู้วิธีทำงานเข้าขากัน”

ด็อกเตอร์ เสริมว่า “สิ่งที่น่าขันคือ เมื่อเราทำการวิจัยสำหรับภาพยนตร์เรื่องแรก มันชัดเจนว่ามีอารมณ์มากกว่า 5 อารมณ์ แต่ทั้งโลกและเรื่องราวทั้งหมดมีความซับซ้อนพอสมควรแล้ว จึงจำเป็นต้องทำให้ง่ายลง ภาคต่อนี้จึงเปิดโอกาสให้เรานำเสนออารมณ์บางอย่างที่เราไม่ได้ใช้ในเรื่องแรก แน่นอนว่าเด็กเล็กๆ ก็รู้สึกอายและริษยา แต่การที่เราวางตัวละครเหล่านี้ให้มาในช่วงชีวิตภายหลังก็ดูเหมาะสมดี เมื่อคิดถึงระดับความรุนแรงของอารมณ์เหล่านี้ในวัยรุ่น นี่เป็นการท้าทายอย่างยิ่งในการพัฒนาตัวละครตลก เหมือนการ์ตูน และน่าสนใจ และนั่นคือเหตุผลหลักที่เราต้องทำภาคต่อนี้เลยทีเดียว!”

“แน่นอนว่ามีอารมณ์ที่ซับซ้อนมากขึ้นที่มาพร้อมกับการก้าวเป็นวัยรุ่น” นีลเซน กล่าวต่อ “ความวิตกกังวลและว้าวุ่นเป็นส่วนหนึ่งของเรื่องราวของเรามาตั้งแต่แรก แต่ผลกระทบในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานั้นมีต่อพวกเราทุกคน โดยเฉพาะวัยรุ่นดูเหมือนว่ามันเป็นเวลาที่ใช่ในประวัติศาสตร์ที่จะพูดถึงเรื่องนี้”

พากย์เสียงตัวละครต่างๆ

ผู้รับบทเป็น ลั้ลลา (Joy), หยะแหยง (Disgust), กลั๊วกลัว (Fear), ฉุนเฉียว (Anger) และ เศร้าซึม (Sadness) ตามลำดับ ได้แก่ Amy Poehler, Liza Lapira, Tony Hale, Lewis Black และ Phyllis Smith และตอนนี้ที่ ไรลี่ย์ เป็นวัยรุ่นแล้ว จึงมีตัวละคร “อารมณ์” (Emotions) กลุ่มใหม่ๆ และนักแสดงพากย์เสียงที่มารับหน้าที่สร้างให้พวกมันมีชีวิตขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็น Maya Hawke ในบท ว้าวุ่น (Anxiety)Ayo Edebiri ในบท อิจฉา (Envy), Adèle Exarchopoulos ในบท เฉยชิล (Ennui) และ Paul Walter Hauser ในบท เขิ้นเขินอ๊ายอาย (Embarrassment)

นอกจากนี้ยังมี Kensington Tallman ให้เสียงเป็น ไรลีย์ แอนเดอสัน นักเรียนมัธยมปลายคนใหม่, Lilimar พากย์เสียงเป็น Valentina “Val” Ortiz นักกีฬาฮอกกี้ที่ทุกคน ซึ่งรวมถึง ไรลีย์ และผองเพื่อนหมายตาไว้ Diane Lane และ Kyle MacLachlan กลับมาให้เสียงเป็น พ่อแม่ของไรลีย์ อีกครั้ง Sumayyah Nuriddin-Green และ Grace Lu ให้เสียงเป็น เพื่อนสนิทของไรลีย์ และ Yvette Nicole Brown ให้เสียงเป็น Coach Roberts หัวหน้าค่ายฮอกกี้ฤดูร้อน นักพากย์คนอื่นๆ ได้แก่ Ron Funches, James Austin Johnson, Yong Yea, Steve Purcell, Dave Goelz, Kirk Thatcher, Frank Oz, Paula Pell, June Squibb, Pete Docter, Paula Poundstone, John Ratzenberger, Sarayu Blue, Flea, Bobby Moynihan และ Kendall Coyne Schofield

“Inside Out 2 มหัศจรรย์อารมณ์อลเวง 2” กำกับโดย เคลซี่ย์ แมนน์ (Kelsey Mann) อำนวยการสร้างโดย มาร์ค นีลเซ่น (Mark Nielsen) และผู้รับหน่าที่ executive producer ได้แก่ พีท ด็อกเตอร์ (Pete Docter), โจนาส ริเวอรา (Jonas Rivera) และ แดน สแกนลอน (Dan Scanlon) บทภาพยนตร์โดย เม๊ก เลอ ฟาร์ว (Meg LeFauve) และ เดฟ ฮอลสไตน์ (Dave Holstein) บอกเล่าเรื่องราวโดย แมนน์ (Mann) และ เลอ ฟาร์ว (LeFauve) พร้อมดนตรีประกอบจาก อานเดรีย แดทซ์แมน (Andrea Datzman) ร่วมสัมผัสหลากประสบการณ์ทางอารมณ์พร้อมกัน วันนี้ในโรงภาพยนตร์เท่านั้น

 

“Inside Out 2 มหัศจรรย์อารมณ์อลเวง 2” ภาพยนต์แอนิเมชันจากค่าย Disney และ Pixar พาเรากลับเข้าไปในความคิดของวัยรุ่นป้ายแดงอย่างไรลีย์อีกครั้ง