โดดเดี่ยวแต่ไม่เดียวดาย ตอนที่ ๓๗ เสรีภาพ ที่ปราศจากอิสรภาพ
ห้วยขวาง...ในปีนั้นแตกต่างไปจากห้วยขวางเมื่อสิบกว่าปีก่อน จากที่เคยเป็นทุ่งนาเปลี่ยนเป็นบ้านใหญ่ ๆ ปลูกกันเรียงราย ถนนที่เคยเป็นดินลูกรัง ก็ถูกราดเป็นยางมะตอย ห้วยขวางเปลี่ยนไปแต่บ้านไม้อาคารสงเคราะห์ที่ทางการสร้าง ให้คนจนอยู่ยังไม่เปลี่ยนแปลง “เจ๊อิง” แก่เฒ่าไปกว่าเก่า แต่ปากคอยังคงเราะร้ายไม่เปลี่ยน เมื่อฉันเล่าว่าถูกแม่ ซึ่งเป็นน้องสาวของเจ๊ไล่ออกมาจากบ้านสนามบินน้ำเจ๊ก็ตะคอกใส่ว่า “มึงก็เลยซมซานมาขออยู่กับกูละซิ” เจ๊อิ้งเว้นเสียงพูดนิดนึงเหมือนเพื่อจะคิดแล้ว บอกว่า “ได้!! ก็ได้มึงมาอยู่กับกูก็ได้ แต่มึงต้องจ่ายค่าเช่าให้กู” ห้องแคบ ๆ ที่อดอู้อย่างที่เรียกได้ว่าเหมือนรังหนู ร้อนอ้าวในตอนบ่ายเพราะ บ้านมุงด้วยกระเบื้องที่เก็บความร้อนไว้ไม่ระบาย ตีห้า...ตีหกก็ต้องตกใจตื่นเมื่อได้ยิน เพื่อนข้างห้องตะโกนโหวกเหวก กับเสียงรถเมล์แดงสาย ๑๒ วิ่งผ่านเจ๊เรียกค่าเช่า เดือนละ ๒๐๐ บาท เงินจำนวนนี้ในสมัยนั้นสามารถซื้อทองสองสลึง แต่ถึงอย่างไรฉันก็ต้องเช่าเพราะ ไม่รู้ว่าจะไปอยู่ที่ไหนในยามนี้ ฉันยังทำงานอยู่ที่ นสพ.พิมพ์ไทย มีเงินเดือน ๖๐๐ บาท ซึ่งออกบ้างไม่ออกบ้าง เพราะโรงพิมพ์ มีปัญหาขาดสภาพคล่อง ซึ่งเกิดจากท่านผู้อำนวยการ “ไชยยงค์ ชวลิต” กู้ธนาคารกรุุงเทพเงินจำนวน ๒๐ ล้านบาทไปซื้อแท่นพิมพ์ใหม่จากประเทศญี่ปุ่น บรรดามนุษย์เงินเดือนทั้งหลายก็เลยขาดสภาพคล่องเช่นเดียวกับโรงพิมพ์ สำหรับฉันก็มีเวลาพอที่เล่าเรียนภาษาอังกฤษต่อจากสถาบัน สองภาษา เอ.ยูู.เอ แต่ในเวลาที่ขัดสนทั้งหลายก็ยั็งมีความโชคดีเกิดขึ้นได้ เมื่อเจ้าหน้าที่ยู ซีนส หรือสำนักงาน ข่าวสารอเมริกาประจำประเทศไทยมาบอกกับฉันว่า “สันติ คุณได้รับเลือกให้ไปดูงานหนังสือพิมพ์ที่อเมริกาเป็นเวลาหนึ่งปี” มันเป็นเรื่องที่อัศจรรย์ใจ เพราะว่ายังไม่ทันข้ามปีที่ฉันไปเล่าเรียนวิชาการเรียน หนังสือพิมพ์ที่อยู่กรุงเบอร์ลินประเทศเยอรมัน ฉันก็ได้ไปดูงานหนัังสือพิมพ์ที่ประเทศ อเมริกา มันไม่น่าจะเป็นไปได้ แต่มั่นก็เป็นไปแล้วในปีที่ฉันต้องถูกไล่ออกจากบ้าน คนแรกที่แสดงความยินดีที่รู้ข่าวของฉันคือท่านผู้อำนวยการ “ไชยยงค์ ชวลิต” ท่านบอกกับฉันว่า “เธอเลือกเข้าฝูงถูกแล้ว ทำหน้าที่ของเธอให้ดีที่สุด” คำพูดประโยคนี้ ฉันเคยสะดุดในวันแรกที่ท่านรับฉันเข้าทำงานหนังสือพิมพ์ ท่านเคยพูดว่า “เอาล่ะ ผมจะรับคุณไว้ให้คุณเข้าฝูงต่อไปคุณจะสู้ด้วยตัวเอง” ฉันได้ต่อสู้ในฝูงมากแล้วในประเทศ ต่อไปฉันจะต้องไปต่อสู้ในฝูงต่างชาติิ แต่ฉันจะ ไปกลัวอะไร ถูกไล่ออกจากบ้านไม่รู้กี่ครั้ง อดอยากปากแห้งไม่รู้กี่หน สงครามในเวียดนาม ฉันก็ผ่านมาแล้ว แต่ในอเมริกาไม่เห็นจะน่ากลัวอะไร เป็นประเทศประชาธิิปไตยเป็็นแม่่แบบของ ประเทศที่มีอิสระและเสรี ไม่เห็นจะมีอะไรน่ากลัว
สายการบิน “แพน อเมริกา” บินจากประเทศไทยทุกเที่ยวบินจะต้องแวะลงที่สนามบิน “ตันซอนนุุต” ของเมืืองไซง่่อน ฉัันมองจากหน้้าต่่างทุุกอย่่างเหมืือนเดิิม เหมืือนสมััยที่ฉันบินมาทำข่าวสงครามที่นี่เมื่อหลายปีก่อน สงครามคือความเลวร้ายของชีวิต แต่มนุษย์ก็ชอบที่ทำความเลวร้ายให้กับชีวิต เช่นนี้มาตลอด หนึ่งปีในอเมริกา เป็นปีหนึ่งที่ฉันได้เรียนและได้รู้ความเป็นจริง และความฝันของ คนอเมริกัน นับตั้งแต่นักหนังสือพิมพ์หนึ่งชื่อ “โจเซฟ พูลิเซอร์” ผู้เป็นเจ้าของรางวัล พูลิเซอร์ที่นักหนังสือพิมพ์ทั่วโลก อยากจะได้รับรางวัลนี้ เพราะเป็นรางวัลที่มอบให้ กับนักหนังสือพิมพ์ ที่ต่อสู้เพื่อความถูกต้องและความจริง ฉันได้รู้จักกับประวัติของนักต่อสู้ผิวดำชื่อ “ดร.มาร์ติน ลูเธอร์คิงส์” ชื่อคล้ายกับ นักบวชเยอรมัน “ลูเธอร์ คิงส์” นักต่อสู้เพื่อความถููกต้องของคริสต์ศาสนา จนทำให้เกิดนิกาย “โปรแตสแตนท์” นักต่อสู้ผิวสีท่านนี้ ท่านพร่ำ ภาวนาคำหนึ่งเป็นคำที่คนอเมริกัน จดจำท่านกล่าวว่า “เสรีภาพ เสรีภาพจงมีตลอดไป ขอบคุณพระเจ้า พระองค์ทรงมีมหิทธานุภาพ ยิ่งใหญ่ ที่ทรงประทานเสรีภาพให้พวกเรา” การได้รับเชิญไปดูงานหนังสือพิมพ์ของอเมริกา แตกต่างไปจากการไปเรียนวิชาการ หนังสือพิมพ์ที่เยอรมนี ที่เห็นได้ชัดก็คือการเคารพสิทธิที่มีให้กัน คนเยอรมันจะให้เกียรติที่จะรักษาความรู้สึกที่มีต่อกัน ตรงข้ามไปจากคนอเมริกัน การให้เกียรติกันคือการเปิดเผย โดยไม่สนใจว่าอีกฝ่ายจะรู้สึกอย่างไร สิ่งที่คนอเมริกันคิดว่ามันเป็นสิทธิเสรีภาพ แต่สำหรับคนไทยเรียกสิ่งนี้ว่าเป็นการกระทำที่ไร้มารยาท ขาดสมบัติผู้ดี และก็สิ่งนี้เองที่ทำให้คนอเมริกันถูกเรียกว่า “กุ๊ยอเมริกัน” จากการเดินทางตระเวนไปทั่วหลายมลรัฐในอเมริกา ฉันถูกคนอเมริกันถามด้วย ประโยคคล้ายกันว่า “เราจะชนะสงครามเวียดนามไหม” เจ้าหน้าที่ของกระทรวงต่างประเทศ ที่เป็นผู้ติดตามตลอดระยะการเดิินทาง บอกกัับฉัันว่่า “คุุณควรจะบอกพวกเขาไปว่า เราจะต้องชนะสงคราม” แต่การที่จะให้ฉันบอกเช่นนั้นขัดต่อความรู้สึกและความเป็นจริง ฉันไม่พูดตามคำชักนำของเขา จึงทำให้เราทะเลาะกันหลายครั้ง แต่ด้วยความที่ภาษา อังกฤษของฉันไม่แข็งแรง เถียงกันทีไรเป็นต้อง ฉันจึงต้องจบลงด้วยประโยคเดียวก็คือ “YOU’RE BETTER WAIT AND SEE” ...รอดูอีกสักหน่อย แล้วเองจะรู้... คนอเมริกันส่วนใหญ่เป็นคนที่มีความเชื่อมั่นในตัวเองสูง อย่างที่คำพระเรียกว่า เป็นคนมีอัตรา เพราะฉะนั้นคำที่ฉันเห็นบ่อย ๆ ในอเมริกาก็คือคำว่า “BORN IN AMERICA” แปลได้ว่า “เกิดขึ้นในอเมริกา” ซึ่งความจริงก็เป็นเช่นนั้น ไฟฟ้าเกิดขึ้นจากคนอเมริกัน คือ “โธมัสทอมเอดิสัน”อุตสาหกรรมใหญ่เช่น อุตสาหกรรมรถยนต์เกิดจาก “แฮรี่ ฟอร์ด” หรือแม้แต่ลูกระเบิดปรมาณูก็เกิดขึ้นที่อเมริกา จากนักวิทยาศาสตร์เยอรมันเชื้อสายยิว
“อัลเบิร์ด ไอน์สไตน์” ที่ทำให้คนญี่ปุ่นล้มตายเป็นแสนคน เมืองใหญ่ถล่มทลาย ถึงสองเมือง หรือแม้แต่การที่อเมริกา จับมือกับสามมหาอำ นาจของโลกได้แก่ จักรวรรดินิยมอังกฤษ ฝรั่งเศสและคอมมิวนิสต์รัสเซีย กลุ่มรุมกินโต๊ะเยอรมันที่ยืนหยัดสู้เพียงลำพังจึงทำให้ “อดอล์ฟ ฮิตเลอร์” ต้องพ่ายแพ้สงคราม จนทำให้คนอเมริกันพูดอย่างภาคภูมิใจว่า “ประเทศอเมริกาเป็นผู้ทำให้ชนะสงครามโลกครั้งที่สอง” ซึ่งต่อมาอเมริกาก็ ถูกยกย่องว่าเป็น “ตำรวจโลก” จัดระเบียบให้ทุกประเทศในโลกจริงอยู่ อเมริกาชนะสงครามมากมาย นัับตั้งแต่สงครามปลดปล่อยตัวเองให้เป็นอิสระ จากจักรวรรดินิยมอังกฤษ ชนะสงครามกับมหาอำ นาจทางทะเล ในสมัยนั้นคือสเปน ชนะสงครามโลกครั้งที่สอง และสงครามเกาหลีแต่สงครามเวียดนามที่่ยังคุกรุ่นในตอนนั้น อเมริกายังไม่ชนะ และนี้อาจจะเป็นเหตุผลหนึ่งที่เขาเลือกฉันให้เดินทางมาดูงานที่นี่่เพื่อให้ฉันเชื่อว่าอเมริกาจะต้องเป็นผู้ชนะสงครามซึ่งมันไม่ใช่ !! อเมริกายังมีสงครามทั้งภายนอกประเทศและภายในประเทศ ความเสรีภาพอาจจะมี แต่อิสรภาพยังไม่มี ทุกแห่งหนที่ฉันเห็นเต็มไปด้วยความเหลื่อมล้ำ ในสิ่งนี้ คนผิวดำผิวเหลือง ที่ไม่ใช่ผิวขาวลูกเหยียดหยามถูกกดขี่และรังแกคนตกงาน คนไร้บ้าน คนอดอยาก เกลื่อนถนน และคำที่คนฝรั่งเศสใช้ในการปฏิวัติที่ว่าอิสรภาพ เสมอภาคและภาดรภาพ ที่สอนให้ อเมริกันเชื่อและปฏิิบัติตามนั้นอยู่ที่ไหนในประเทศนี้และคำพูดที่ยิ่่งใหญ่ข่ อง “ดร.มาร์ติ์น ลูเธอร์ คิงส์” ที่กล่าวไว้ว่า I still have a dream. It is a dream deeply rooted in the American dream. ...ฉันยังคงฝันถึงความฝันอันลึกล้ำ อันเป็นรากฐานของคนอเมริกัน... ซึ่งต่อมาคำนี้คนอเมริกันเรียกว่า “American Dream” ความฝันของอเมริกันอยู่ ที่ไหนกัน หรือว่านักบวชรู้ว่ามันจะไม่เป็นจริงได้เลยในประเทศนี้ท่านจึงว่าจะต้องฝันได้ เท่านั้นเอง
การเดินทางไปดูงานหนังสือพิมพ์ในอเมริกาของฉัน แม้จะเป็นช่วงระยะเวลาสั้น ๆ แต่ความเข้าใจของฉันกับประเทศนี้กว้างและไกล เพราะฉันได้เห็นความจริงของประเทศใหญ่มหาอำนาจของโลก ซึ่งเปรียบไปแล้ว ก็คงจะไม่ต่างไปจาก “จักรวรรดิโรมัน” เกรียงไกรในอดีตแต่ทุกวันนี้ไม่่มีจักรวรรดินี้ ในโลกแล้ว ไม่มีแม้กระทั่งคนโรมัน เมื่อเริ่มเดินทาง ฉันลงเครื่องบินที่ฮาวาย เพื่อเข้ารับการอบรมจากสถาบันที่เรียกว่า “EAST WEST CENTRAL” นี่ก็คงจะเป็นความฝันของคนอเมริกันตะวันตก ที่อยากจะ อยู่ร่วมกับคนตะวันออก เหมือนคำประพันธ์บทหนึ่งของ “รัดยาร์ด คิปลิงค์” กวีอังกฤษ เขียนไว้ว่า Oh, East is East, and West is West, and never the twain shall meet …โอ้ตะวันออกก็คือตะวันออก และตะวันตกก็คือตะวันตก เราจะพานพบกันได้ อย่างไร... เมื่อสิ้นสุดการเดินทาง ฉันขึ้นเครื่องบินที่นิวยอร์คมหานครใหญ่ แต่ฉันไม่ได้ตื่่ นเต้นกับ ตึก “เอ็มไพร์ สเตรท” ที่สูงที่สุดในโลก ไม่ได้ชื่่นชมกับสวนสาธารณะ “เซ็นทรัลปาร์ค ” ที่ใหญ่โตและสวยงามกลางเมือง หรือแม้แต่ถนนธุรกิจ “วอลล์ สตรีท” ที่คุมเศรษฐกิจ ทุกประเทศในโลก แต่กลับสนใจรููปปั้น “เทพีสันติภาพ” ที่ตั้งอยู่ในเกาะเล็ก ๆ หน้าอ่าว ที่มีชื่อว่าเสรีภาพ” ที่ตั้งอยู่ในเกาะเล็ก ๆ หน้าอ่าว ที่มีชื่อว่า “ริเมอตัส” (Leibertas) เทพกรีกที่ถือคบเพลิงจุดแสงสว่างแห่งเสรีภาพและสันติภาพต้อนรับผู้ที่เดินทางมาถึง สำหรับฉันประเทศอเมริกันที่ฉันได้เห็นมีเสรีภาพมีสันติภาพจริง แต่มีอยู่บนศิลา จารึกที่เทพีถือไว้เท่านั้นเอง
สันติ เศวตวิมล (แม่ช้อย นางรำ) นักเขียนและบรรณาธิการอาวุโส เจ้าของนราธิปพงศ์ประพันธ์ ประจำปี พ.ศ.2564