โคคาโคล่า  คําแปล และเจี่ยงอี๋

โคคาโคล่า คําแปล และเจี่ยงอี๋

จีนเป็นชาติที่ดื่มเครื่องดื่มร้อนเป็นหลัก น้ำชาเป็นเครื่องดื่มที่ดื่มกันทั่วไป มีบันทึกหลักฐานมากมายในประวัติศาสตร์ อันยาวนานเกี่ยวกับการดื่มชาของชาวจีน

แม้ว่าฤดูร้อนในหลายพื้นที่ของประเทศจีนอากาศจะร้อนมาก แต่โดยความเคยชินเดิม จีนก็ไม่นิยมกินน้ำแข็งหรือสิ่งที่แช่เย็น ถ้าใช้ความสังเกตสักนิด จะพบว่าเวลาดื่มเหล้า-เบียร์ คนจีนก็ไม่ดื่มเหล้าใส่น้ำแข็งเติมโซดาอย่างที่เราคุ้นเคยในเมืองไทย

จากความเคยชินเดิมเช่นนี้จึงน่าสนใจว่าเครื่องดื่มแช่เย็นบรรจุขวดหรือกระป๋องเข้ามาสู่ วิถีชีวิตของชาวจีนเมื่อไหร่? เช่นเดียวกับสิ่งที่แสดงถึง ความเป็นสมัยใหม่อย่างอื่น ๆ น้ำอัดลม ก็เป็นสิ่งแสดงความเป็นสมัยใหม่อย่างหนึ่ง

น้ำอัดลม โดยเฉพาะเครื่องดื่ม ‘‘โคคาโคล่า’’ เข้าสู่สังคมจีนราวปี ค.ศ.1927 นั่นคือสมัยที่ดร.ซุนยัตเซนสามารถปฏิวัติประเทศจีนสู่ สังคมประชาธิปไตยได้แล้ว แรกเริ่มเดิมที่โคคาโคล่าเข้าสู่เมืองทันสมัยอย่าง นครช่างไฟ (เซี่ยงไฮ้  上海 ) ก่อนในช่วงเริ่มแรกยังไม่ได้ใช้ ชื่อภาษาจีนว่า “เขอโข่วเข่อเล่อ” 可口可乐และก็ยังทําตลาดวงกว้างไม่ได้

เกี่ยวกับชื่อภาษาจีนของโคคา โคล่า มีเรื่องเล่าเชิงตํานานซึ่งมี แง่มุมที่ขัดแย้งกับข้อมูลอยู่บ้างในที่นี้เรารับรู้ไว้เพื่อเป็นสีสันไปก่อน อย่าเพิ่งไปชี้ชัดฟันธงว่าคําบอกเล่าที่เขียนเล่าต่อ ๆ กันมานี้คือ ข้อมูลจริงที่ถูกต้อง เรื่องนี้เล่าต่อ ๆ กันมาได้เพราะฟังสนุกมีสีสัน

ช่วงที่โคคาโคล่าเข้าไปใหม่ ๆ ชื่อภาษาจีนของโคคาโคล่า ที่ยัง ไม่ลงตัว เป็นอุปสรรคต่อการทําตลาดในประเทศจีนมาก จนบริษัท โคคาโคล่า ลงโฆษณาทั่วโลกในปี 1935 เพื่อหาคําแปลชื่อภาษาจีน โดยมีเงินรางวัลจํานวน 350 ปอนด์เป็นรางวัลล่อใจผู้ที่คิดคําที่ทางคณะกรรมการพอใจได้

ปี 1935 มีปัญญาชนจีนคนหนึ่งเห็นโฆษณาชิ้นนี้ขณะที่เขาทํางาน เป็นอาจารย์อยู่ที่วิทยาลัยบูรพาศึกษา มหาวิทยาลัยลอนดอน ประเทศอังกฤษ อาจารย์ท่านนั้นชื่อ เจี่ยงอี๋ 姜毅

 เมื่อเห็นโฆษณาชิ้นนั้น แล้วก็เกิดความคิดว่าน่าจะลองคิดหาคําแปลส่งไป

แรงบันดาลใจที่ทําให้ได้คํา “เขอโข่ว เข่อเล่อ” 可口可乐 ซึ่งแปลความหมายได้ว่าชวนดื่มน่ารื่นรมย์ ซึ่งออกเสียงใกล้กับ Coca-Cola ในภาษาอังกฤษ เกิดจากวันหนึ่งลูก ๆ ของอาจารย์เจี่ยงอี๋ กลับมาจากโรงเรียนแล้วร้องขอดื่มเครื่องดื่มเย็น ๆ เจี่ยงอี๋ไม่อนุญาตให้ดื่มเนื่องจากเห็นว่าฝนตกอากาศเย็น ทําให้ลูก ๆ ของเขาร้องไห้โยเย จนพี่เลี้ยงที่ช่วยดูแลลูก ๆ ของเขามาช่วยคลี่คลายสถานการณ์ว่าไม่ให้ดื่มมาก ให้ดื่มแค่คนละอึกดับกระหายเพราะอากาศมันเย็น เด็ก ๆ ได้ดื่มเครื่องดื่มหวาน ๆ คนละอึกก็ยิ้มแย้มอารมณ์ดีขึ้นมา

เจี่ยงอี๋คิดถึงคํา “เข่อ” 可 ซึ่งเสียงใกล้กับ Co ในคํา Coca-Cola 

可พจนานุกรมให้ความหมายไว้ว่า

可 : kě : 1 approve 2 can; may 3 nee (doing); be worth (doing) 4 FORMAL about 

Coca- แปลเป็น  可口 : น่าดื่ม, รสอร่อย Cala - แปลเป็น 可乐 น่ารื่นรมย์

เป็นชั้นเชิงการแปลคําที่เก็บได้ทั้งเสียงที่ใกล้เคียง และความหมาย พิเศษที่ต้องการ

นี่เป็นเรื่องที่นิยมเล่ากันอย่างแพร่หลายในโลกภาษาจีน แต่เรื่องเล่านี้ก็มีผู้ค้นข้อมูลมาแย้งว่า ตามเรื่องเล่าอ้างว่าเจี่ยงอี๋คิดคําแปลนี้ได้ในปี 1935 แต่มีหลักฐานว่าในเดือนธันวาคม 1930 หนังสือพิมพ์ “เซินเป้า” 山宝 ได้ใช้คํา 可口  可乐 เรียกเครื่องดื่มชนิดนี้แล้ว

เจี่ยงอี๋เป็นบุคคลที่มีตัวตนจริง เขาเป็นคนจีนที่มีหนังสือภาษาอังกฤษตีพิมพ์แพร่หลายอยู่ในประเทศตะวันตกหลายเล่มไว้จะเขียนถึงเรื่องอื่น ๆ เกี่ยวกับตัวเขาในครั้งอื่น ๆ

โคคาโคล่า คําแปล และเจี่ยงอี๋