LAW IN LIFE : MARRIAGE EQUALITY AND TRANSGENDER PEOPLE
ถึงวันนี้ไม่ว่าเศรษฐกิจ สังคม การเมือง รวมไปถึงเทคโนโลยีต่าง ๆ จะมีการเปลี่ยนแปลงเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วสักเพียงใดจะเห็นได้ว่ารัฐธรรมนูญของประเทศต่าง ๆ รวมถึงประเทศไทย ก็ยังคํานึงถึงความเท่าเทียมกัน สิทธิมนุษยชนอีกทั้งศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์มาโดยตลอด
แต่วันนี้ปัญหาอุปสรรค และความยุ่งยากของบุคคลที่มีเพศภาวะไม่สัมพันธ์กับเพศสภาพของตนเอง(Transgender)ของประเทศเรายังคงอยู่ เนื่องจากไม่มีกฎหมายทางเพศมารองรับ ทําให้ความเท่าเทียมในเรื่องสิทธิของการรักษาพยาบาลสําหรับคู่สมรส ไม่สามารถเกิดขึ้นได้
เรื่องของสินสมรสในกรณีที่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเกิด เสียชีวิต ก็ไม่สามารถตกทอดกันได้โดยบทบัญญัติของ กฎหมาย หรือเรื่องอื่น ๆ อีกไม่น้อยที่เกิดขึ้นเนื่องจาก การที่ไม่มีกฎหมายรับรองเกี่ยวกับเพศ
ทีนี้เรามาดูกันนะครับว่าปัจจุบันนี้มีประเทศ อะไรบ้างที่ให้การรองรับในเรื่องนี้
ปัจจุบันมี 26 ประเทศที่กฎหมายรับรองเกี่ยวกับเพศ และอนุญาตให้การแต่งงานของเพศเดียวกันสามารถ จดทะเบียนสมรส (Marriage Equality)
• เนเธอร์แลนด์ (Netherlands) เองเป็นประเทศแรก ของโลกที่นอกจากให้สมรสกันได้อย่างถูกกฎหมายแล้ว ยังสามารถรับบุตรบุญธรรมได้ตามกฎหมายอีกด้วย
• เบลเยี่ยม (Belgium)
• สเปน (Spain)
• แคนาดา (Canada)
• แอฟริกาใต้ (South Africa)
• นอร์เวย์ (Norway)
• สวีเดน (Sweden)
• อาร์เจนติน่า (Argentina)
• ไอซ์แลนด์ (Iceland)
• โปรตุเกส (Portuguese)
• เดนมาร์ก (Danmark)
• บลาซิล (Brazil)
• อังกฤษ/เวลส์ (England/ Wales)
• ฝรั่งเศส (France)
• นิวซีแลนด์ (New Zealand)
• ลักเซมเบิร์ก (Luxembourg)
• สกอตแลนด์ (Scotland)
• อุรุกวัย (Uruguay)
• ฟินแลนด์ (Finland)
• กรีนแลนด์ (Greenland)
• ไอร์แลนด์ (Ireland)
• สหรัฐอเมริกา (United Stated)
• โคลอมเบีย (Colombia)
• ไต้หวัน (Taiwan)
• เยอรมนี (Germany)
• มอลตา (Malta)
ประเทศไต้หวันนับเป็นประเทศแรกของภูมิภาคเอเชีย หรือประเทศเท่าไหร่ในโลกนี้ ผมว่าไม่สําคัญไปกว่าประเทศไทยเมื่อไหร่จะมีกฎหมายรองรับเพศที่ทําให้ความเท่าเทียมสามารถเกิดขึ้นได้อย่างแท้จริงหรอกครับ
คําคม
- อย่าเรียกร้องสิทธิของตนเอง ในขณะที่ตนเองยังไม่เคารพสิทธิของผู้อื่น -