LAW IN LIFE : รักต้องห้าม
เรื่องราวของสิทธิความเท่าเทียมของชายและหญิง แม้จะมีบทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 มาตรา 30 บัญญัติว่า
“ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน” ทั้งยังห้ามการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคล เพราะเหตุแห่งความแตกต่างในหลาย ๆ ด้าน รวมทั้งความแตกต่าง ระหว่างเพศ จึงถือเป็นหลักประกันความเสมอภาค ระหว่างหญิงและชายในสังคมไทย
แต่ในเหตุการณ์จริง ก็มีหลายเหตุการณ์ที่ไม่เอื้ออํานวยต่อฝ่ายหญิง บ้างก็รู้สึกอับอายถูกการใช้อํานาจในทางมิชอบ หรือใช้ความรุนแรงบังคับให้เกิดความสูญเสีย ทั้งทางร่างกายและจิตใจเหมือนอย่างกรณีของหนิง
หนิง เกิดในครอบครัวที่ไม่สมบูรณ์นัก พ่อของเธอต้องจากไปตั้งแต่เธอยังเล็ก เพราะโรคพิษสุราเรื้อรังและสุดท้ายก็ต้องจากไป ส่วนแม่ก็ทิ้งเธอไปหลังจากนั้นได้ไม่นาน เธออยู่กับลุงและป้าด้วยความที่ลุงและป้า ไม่ได้ร่ํารวยและต้องหาเช้ากินค่ําจึงไม่ค่อยมีเวลามาใส่ใจเธอมากนัก แต่อย่างน้อยพวกเขาทั้งสองก็ส่งเสียเธอจนกระทั่งเรียนจบปริญญาตรี หลังจากเรียนจบและทํางานได้ไม่นาน หนิงก็พบรักกับชายหนุ่มในที่ทํางานที่ชื่อ ปอน และคบกับได้ไม่นานทั้งคู่ก็ตัดสินใจแต่งงานกัน
เมื่อแต่งงานได้ 3 ปีเธอก็มีลูกสาวได้ 1 คน โดยที่ มาตั้งแต่แต่งงาน ปอนก็ดื่มเหล้าทุกวัน พอเวลาเมาก็หาเรื่องทะเลาะและตบตีเธอแทบทุกวัน และขอมีเพศสัมพันธ์กับเธอ หากเธอไม่ยอมก็จะใช้กําลังบังคับและขู่ว่าจะทําร้ายลูกสาว เธอต้องอดทนทั้งทางร่างกายและจิตใจอยู่เนิ่นนาน นอกจากความรักของเธอที่มีต่อปอนแล้ว ก็ยังมีเรื่องของลูกสาวอีกด้วย
แต่แล้วจุดสิ้นสุดของความอดทนก็มาถึง เมื่อ ปอน เมากลับมาบ้าน แล้วเข้ามาข่มขืนกระทําชําเราเธอเหมือนทุกครั้งต่อหน้าลูกสาว ทําให้เธอไม่สามารถอดทนต่อไปได้จึงนําลูกสาวของเธอหนีออกจากบ้าน แต่ปอนก็ตามมาหมายจะทําร้ายเธออีกหนิงจึงร้องขอความช่วยเหลือ
ปอน : คุณอย่ามายุ่งกับเรื่องครอบครัวคนอื่นดีกว่า นี่เมียกับลูกผม ผมจะทําอะไรก็ได้
ชาวบ้าน : คุณจะมาทําร้ายคนอื่นแบบนี้ได้อย่างไรกัน
ปอน : คนอื่นที่ไหน นี่เมียผม ลูกผม คุณอย่ามายุ่งเรื่องคนอื่นดีกว่า ไม่เช่นนั้นจะหาว่าไม่เตือน
หนิง : อย่าไปทะเลาะกับเขาเลยค่ะ พาฉันไปหาหมอและแจ้งความก่อนดีกว่า จะไม่ไหวแล้ว
ปอน : เอาเลย จะแจ้งความก็แจ้งเลย ผมไม่กลัวหรอก ไปแล้วอย่ากลับมาอีกนะ
Q : ระหว่างทางที่เดินทางไปโรงพยาบาล ชาวบ้านก็ประสานไปยังเจ้าหน้าที่ตํารวจให้เข้ามาช่วยเหลือเรื่องนี้ เอาละครับ เรามาติดตามกันว่า การกระทําของปอนจะมีความผิดหรือไม่อย่างไร ?
A : จากข้อเท็จจริงปอนได้ข่มขืนกระทําชําเราต่อหนิง โดยขู่เข็ญว่าจะทําร้ายลูกสาวของตนเองรวมไปถึงได้ใช้กําลังประทุษร้าย โดยที่เธอไม่สามารถขัดขึ้นได้
การกระทําดังกล่าวของปอนจึงเป็นการกระทําเพื่อสนองความใคร่ ตนเอง โดยใช้กําลังประทุษร้ายรวมไปถึงขู่เข็ญว่าจะทําร้ายลูกสาวของตน ตามพฤติกรรมทําให้หนิงตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของปอนและไม่อาจขัดขืนได้ ปอนจึงมีมีความผิดฐาน ข่มขืนกระทําชําเราผู้อื่นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 276 ซึ่งมีโทษจําคุกตั้งแต่ 4 ปี ถึง 20 ปี และปรับตั้งแต่แปดพันบาทถึงสี่หมื่นบาท
ไม่ว่าจะเป็นชายหรือหญิงการอยู่ร่วมกันต้องให้เกียรติซึ่งกันและกัน มิใช่ฝ่ายชายเองก็อาศัยความอ่อนแอของฝ่ายหญิงข่มเหงรังแกหรือกระทําความรุนแรง มิเพียงเท่านั้นอย่างปอนนอกจากจะใช้ความรุนแรงต่อสุภาพสตรีซึ่งเป็นภรรยาของตนเอง ยังไม่พอยังใช้กําลังกระทําให้เกิดผลกระทบต่อเด็กซึ่งเป็นลูกสาวของตนเองอีกด้วย ในสังคมที่เล็กที่สุดคือสถาบันครอบครัว แต่มีความสําคัญมากที่สุด เพราะสถาบันเล็ก ๆ นั้นสามารถขับเคลื่อนประเทศได้ ก่อนอื่นต้องหยุดความรุนแรง ในครอบครัว และหันมาเข้าใจกันให้มากขึ้นเสียก่อนมิฉะนั้น เมื่อครอบครัวล่มสลาย ประเทศชาติก็ล่มสลายเช่นกันครับ เพราะอย่างกรณีของปอนเมื่อสามีหรือพ่อต้องติดคุก ครอบครัวต้องเกิดผลร้ายอย่างแน่นอน
ประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 276 ผู้ใดข่มขืนกระทําชําเราผู้อื่นโดยขู่เข็ญด้วยประการใด ๆ โดยใช้กำลังประทุษร้ายโดยผู้อื่นนั้นอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ หรือโดยทำให้ผู้อื่นนั้นเข้าใจผิดว่าตนเป็นบุคคลอื่นต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่สี่ปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่แปดพันบาทถึงสี่หมื่นบาท
การกระทําชําเราตามวรรคหนึ่ง หมายความว่าการกระทําเพื่อ ความใคร่ของผู้กระทําโดย การใช้อวัยวะเพศของผู้กระทํา กระทำกับอวัยวะเพศ ทวารหนัก หรือช่องปากของผู้อื่น หรือการใช้สิ่งอื่นใด กับอวัยวะเพศหรือทวารหนักของผู้อื่น