ของเขา ไม่ใช่ของเรา
การเก็บของที่ผู้อื่นทําหล่นไว้ไม่ได้ หมายความว่าจะนําของนั้นมาเป็นของตนเองได้ เพราะไม่เช่นนั้นอาจจะมีความผิดถึงกับติดคุกได้อย่างเรื่องของโบว์
โจหนุ่มออฟฟิศผู้หลงใหลในการเปลี่ยน โทรศัพท์อยู่เป็นประจําพอ ๆ กับการดื่มเที่ยวและปาร์ตี้โทรศัพท์ของโจไม่เคยตกรุ่น และในหลาย ๆ ครั้งที่สนุกสนานจนลืมตัว เขาก็มักจะลืมโทรศัพท์ ไว้เป็นประจํา แต่ทุกครั้งเพื่อนก็จะเก็บไว้ให้แต่ครั้งนี้ไม่เป็นอย่างนั้น หลังจากปาร์ตี้ที่ผับกันอย่างสนุกสนานเต็มที่แล้ว และใกล้ถึงเวลาผับเลิกเพื่อน ๆ ของเขาก็ชวนกันกลับโดยไม่มีใครเก็บโทรศัพท์ที่เขาวางไว้บนโต๊ะมาให้
โบว์ซึ่งนั่งอยู่โต๊ะใกล้กันก็เห็นว่าโจนั้นลืม โทรศัพท์ไว้บนโต๊ะแต่ก็ไม่ยอมบอกแถมยังเก็บโทรศัพท์เครื่องนั้นไปและออกไปจากผับนั้นทันที ในขณะเดียวกันโจยังเดินไปไม่ถึงรถของตนเองก็จะหยิบโทรศัพท์ขึ้นมาใช้จึงได้รู้ว่าลืมไว้ที่โต๊ะ เมื่อเขาถามเพื่อนปรากฏว่าในครั้งนี้ไม่มีใครหยิบเก็บไว้ให้โจจึงรีบกลับไปดูโทรศัพท์ของเขาในผับทันทีแต่ไม่พบโทรศัพท์แล้ว
โจ : เวชโทรศัพท์ผมไม่อยู่ที่โต๊ะแล้วต้องมีใครหยิบไปแน่ ๆ
เวช : คุณรีบโทรเข้าไปเลย แค่แป๊บเดียวคนหยิบไป น่าจะอยู่บริเวณนี้แหละ
- โจจึงรีบโทรเข้าโทรศัพท์ของเขาในทันที -
โบว์ : ฮัลโหล
โจ : คุณเก็บโทรศัพท์ของผมได้ใช่ไหม ผมอยู่หน้าผับครับ ช่วยเอามาคืนได้ไหมครับ
โบว์ : ใช่แต่คุณต้องนําเงินมาจ่ายเพื่อเป็นรางวัลให้ฉัน 5,000 บาทนะ โทรศัพท์ของคุณ ราคาตั้งสามหมื่นกว่าบาท คุ้มแล้วกับการ ต้องไปซื้อใหม่
โจ : อ้าว! โทรศัพท์ของผมนะ ทําไมผมจะต้องให้เงินคุณด้วย ผมจะไปแจ้งความ
โบว์ : ก็ตามใจคุณทํามันหายแล้วฉันเก็บได้ตอนนี้ มันก็เป็นของฉันแล้ว
Q: อ้าว...ยุ่งล่ะครับ อย่างนี้โบว์จะมีความผิดหรือไม่อย่างไร ?
A : ตามอุทาหรณ์ การที่โจลืมโทรศัพท์ไว้นั้น เป็นการที่ทรัพย์สินของโจ หลุดพ้นไปจากความยึดถือของโจโดยมิได้ตั้งใจ ไม่เป็นการสละการ ครอบครองแต่อย่างใด อีกทั้งโจเองก็พยายามติดตามเพื่อเอาโทรศัพท์ของเขาคืน โดยโทรเข้าไปที่โทรศัพท์ของเขา แต่ปรากฏว่าโบว์เองซึ่งเก็บโทรศัพท์ไปโดย รู้อยู่แล้วว่าโทรศัพท์ดังกล่าวเป็นของโจ และเมื่อเขาโทรเข้ามาเพื่อจะขอคืน กลับ เรียกเงินรางวัลเป็นจํานวน 5,000 บาท แทนที่เมื่อเก็บได้จะต้องนําโทรศัพท์มาแจ้ง ต่อเจ้าหน้าที่ตํารวจหรือพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อประกาศหาเจ้าของทรัพย์สินนั้น มารับของคืนต่อไป
- การกระทําดังกล่าวของโบว์จึงมีเจตนาทุจริตเอาทรัพย์ของผู้อื่นไปในเวลา กลางคืน มีความผิดฐานลักทรัพย์ในเวลากลางคืน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 (1)
ความโลภทําให้ไม่รู้จักคําว่าผิดชอบชั่วดี เป็นเหตุให้อยากได้ของผู้อื่นทั้ง ๆ ที่ ไม่มีสิทธิ์ก็จะได้รับผลร้ายอย่างการกระทําของโบว์
ประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 335 ผู้ใดลักทรัพย์ (1) ในเวลากลางคืน ต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงห้าปี และปรับตั้งแต่สองพันบาท ถึงหนึ่งหมื่นบาท