เด็กติดเกม ปัญหาของครอบครัวหรือของใคร ?
ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาผมได้อ่านบทความ “เมื่อลูก ๆ ของผมไม่ได้อยู่ในโลกของเกมส์” จากเพจ Dad Mom and Kids ที่แสดงทัศนะว่าทําไมเราถึงไม่ควรให้เด็ก ๆ เล่นเกม โดยยกประสบการณ์ของผู้เขียนที่เคยเล่นเกม ในวัยเด็ก และพ่อแม่หักดิบไม่ให้เล่นอีกเลย จนปัจจุบัน ประสบความสําเร็จเป็นนายแพทย์ ซึ่งผู้เขียนเองก็ ยึดถือเป็นแบบอย่างในการเลี้ยงลูก โดยปฏิเสธเกม อิเล็กทรอนิกส์ทุกอย่างที่จะเข้ามาในครอบครัว
แน่นอนว่าคนเรามีความเห็นที่แตกต่างกันได้ ซึ่งผมก็เห็นด้วยกับบทความนี้ในบางจุดที่เกมส่งผลกระทบกับผู้เล่นจริง ๆ แต่วันนี้เรามาคุยกันครับว่าทําไมผมถึง แนะนําให้คุณและเด็ก ๆ ควรเล่นเกม แทนที่จะหักดิบไม่ให้เล่นไปเลย ซึ่งคุณหมออิทธิฤทธิ์ เจ้าของบทความ “เมื่อลูก ๆ ของผมไม่ได้อยู่ ในโลกของเกม” กล่าวถึงเรื่องความสนุกของ เกมสั้น ๆ ว่า “ก็ทํามาซะสนุกเร้าใจขนาดนั้นเล่นแล้วก็ติดสิคร้าบ”
ใช่ครับ เป้าหมายของเกมทุกเกมคือ ทําให้คนติด หรือพูดอีกอย่างหนึ่งก็คือทําให้ เกมสนุกจนคนติดนั้นแหละ และถ้าสังเกตดู คําว่า “ความสนุก” ของเกมและสื่อบันเทิงต่าง ๆ นั้นเติบโตขึ้นตามกาลเวลา ไม่มีมนุษย์คนไหนจะรู้สึกสนุกกับสิ่งเดิม ๆ รูปแบบเดิม ๆ ไปได้ตลอด เมื่อมีของใหม่ที่สร้างสรรค์ขึ้น แปลกใหม่กว่า ผู้คนจะรู้สึกสนุกกว่ากับ สิ่งนั้น จนกลายเป็นบรรทัดฐานใหม่ของ ความสนุกที่เราแทบไม่หวนกลับไปหาความสนุกแบบเดิม ๆ อีกมันเป็นความคิดที่สั่งสมในกระบวนการสร้างความสนุก ที่ตกผลึกไปเรื่อย ๆ เพื่อสร้างของใหม่ที่สนุกกว่าเดิม สิ่งที่ผมต้องการจะสื่อคือในปัจจุบันเกมนั้น เป็นตัวแทนของทุกศาสตร์ในโลกที่บูรณาการกันเป็นผลงานออกมา การที่ไม่ได้เล่นเกมเลย จึงไม่เข้าใจว่าความบันเทิงในยุคนี้เป็นอย่างไร และจึงอาจมีปัญหาเมื่อต้องสร้างอะไรที่เกี่ยวกับความสนุกออกมา
กลไกของเกม เรื่องง่าย ๆ ที่อธิบายยากมากสําหรับคนไม่เคยเล่น
อ่านมาถึงตรงนี้หลายคนอาจเถียงว่าไม่เห็นต้องเล่นเกม เราก็เข้าใจความสนุกที่ชาวโลกต้องการได้น่าเราอ่านหนังสือเยอะ ๆ ดูหนังมาก ๆ ออกไปเที่ยวออกไปเปิดหูเปิดตา ในโลกมาก ๆ มันได้อะไรยิ่งกว่าการเล่นเกมอีกมันก็จริงครับ แต่สิ่งหนึ่งที่ทดแทนไม่ได้คือแนวคิดกลไกของเกม ซึ่งเป็นสิ่งพิเศษที่ทําให้เกมแตกต่างจากสื่อบันเทิงอื่น ๆ เพราะมันคือรูปแบบที่ผู้เล่นเข้าไปมีส่วนร่วมกับเกม ถ้านิยายคือการเล่าเรื่องเปลี่ยนมาเป็นเกมก็ต้องคิด เพิ่มว่าจะให้ผู้เล่นมีส่วนร่วมกับเรื่องยังไง ถ้าภาพยนตร์คือการเสพประสบการณ์เหนือจริงเปลี่ยนมาเป็นเกมก็ต้องคิดว่าจะให้ผู้เล่นเข้าไปอยู่ในประสบการณ์นั้นยังไง ทําอะไร ได้บ้าง
ถึงแม้จะบอกว่าไม่เห็นต้องเข้าใจกลไกเกม ฉันก็มีชีวิตได้น่า จริงครับ กลไกของเกมมันไม่ใช่ปัจจัยสี่สักหน่อยแต่สําหรับบางสายงาน โดยเฉพาะงานที่เกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์งานการตลาดงานสื่อ งานเศรษฐกิจดิจิตอล หรืองานที่เกี่ยวกับมวลมหาประชาชน ถ้าคุณไม่มีพื้นความคิดกลไกเกมสมัยใหม่อยู่ในหัว มันก็ทํางานยากแล้วก็คณไม่เข้าใจว่าความสนุกของคนยุคนี้มันเป็นยังไงนี่นา แล้วคุณจะไปเข้าใจอารมณ์ของเด็ก ๆ ที่นั่งดูวิดีโอ คนอื่นเล่นให้ดูหรือเข้าใจอารมณ์ของคนที่ต้อง เติมเงินเข้าเกมมือถือได้ยังไง
เรื่องของเกมที่เคยคิดว่าเป็นของขวัญจาก ปีศาจ เป็นเรื่องต้องห้ามสําหรับเด็ก ๆ แต่ถึงตอนนี้ดันสําคัญเพราะอนาคตเราจะอิงกับกลไกเหล่านี้มากขึ้นในโลกที่ถนนทุกสายมุ่งสู่ดิจิตอล โลก VR ที่เราเจอหน้าคนอื่นได้เหมือนอยู่ด้วยกันโดยไม่ต้องขับรถไปหากําลังจะมาถึง แนวคิดความสนุกของเกมกําลังโอบล้อมผู้คน การปิดกั้นจากเกม มันเป็นการปิดกั้นความคิด ความเข้าใจในเรื่องที่โลก กําลังจะมุ่งไปรึเปล่าเมื่อยังเด็กได้เล่นเกมที่ผู้ปกครองได้อยู่ควบคุม ได้หัวร้อน ได้เสียเงินไปด้วยกัน ก็เข้าใจและรู้ว่า ลิมิตของตัวเองอยู่ที่ไหน เมื่อเติบโต อยู่มาวันหนึ่ง หลงเข้าไปอยู่ในโลกของเกมที่ไม่คุ้นเคย แต่เชื่อว่า ตัวเองมีวุฒิภาวะดี และโตเป็นผู้ใหญ่แล้ว เลย ไม่ปรึกษาใคร สุดท้ายอาจจะเสร็จของขวัญจาก ปีศาจชิ้นนี้เพราะไม่มีภูมิคุ้มกันก็ได้
อย่างน้อยการได้เข้าใจเกม เข้าใจโลกที่มันกําลังจะเป็นไป ก็ทําให้อยู่ร่วมในสังคมสื่ออิเล็กทรอนิกส์กําลังครองเมืองได้ง่ายขึ้น โดยไม่คิดว่าคนอื่นโง่เขลาครับ