10 อาหารต้านมะเร็ง
ไม่มีอาหารชนิดใดชนิดหนึ่งเพียงชนิดเดียวที่จะป้องกันมะเร็งได้ ด้วยตัวมันเอง แต่มีหลักฐานทางการแพทย์ที่ชัดเจนแสดงให้เห็นว่า อาหารที่อุดมไปด้วยพืชผักหลากหลาย ดังเช่น ผัก ผลไม้ ธัญพืช เมล็ดพืช ชนิดต่าง ๆ ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งหลายชนิด อาหารหลายชนิดสามารถต้านมะเร็งได้ ทั้งทางตรง และทางอ้อม การศึกษาทางห้องปฏิบัติการ มีแร่ธาตุ เฉพาะตัวหลายชนิดวิตามินและสารพฤกษเคมี (Phytochemica) มีฤทธิ์ในการต้านมะเร็ง หลักฐานทางวิทยาศาสตร์นั้นแสดงการ ทํางานร่วมกันของสารอาหารหลาย ๆ ชนิด ให้ผลในการป้องกันมะเร็งได้ดีที่สุด ผลป้องกันทางอ้อม อ้างจากงานวิจัยของ American Institute for Cancer Research พบว่าปริมาณไขมัน ตามร่างกายที่มากเกินไปเพิ่มความเสี่ยงของ มะเร็งถึง 11 ชนิด
ผักและผลไม้นั้นมีแคลอรี่ค่อนข้างต่ํา ธัญพืชและเมล็ดพืชทั้งหลายก็อุดมไปด้วย ไฟเบอร์ ซึ่งช่วยเรื่องการควบคุมน้ำหนักได้งานวิจัยที่แสดงถึงอาหารต้านมะเร็งซึ่ง อาจจะช่วยเพิ่มอัตรารอดชีวิตจากมะเร็ง มีผักผลไม้หลายชนิดที่มีงานวิจัยพบว่ามี ฤทธิ์ต้านมะเร็ง เช่น แอปเปิ้ล เป็นแหล่งที่ดี ของไฟเบอร์และวิตามินซี และมีฤทธิ์ต้าน อนุมูลอิสระ ซึ่งมาจากสารพฤกษเคมี เช่น Quercetin, Epicatechin, Anthocyanins
- บร็อคโคลี่และพืชตระกูลกระหล่ํา อุดมไปด้วยวิตามิน บี ซี โฟเลต โพแทสเซียม แมงกานีส แมกนีเซียม เบต้าแคโรทีน และ ผักสีเขียวเข้มจะมีวิตามินเอสูง มีสาร Indole ซึ่งมีฤทธิ์ปรับสมดุลและลดผลข้างเคียงจากฮอร์โมนได้ดี ป้องกันมะเร็งเต้านม
- แครอท เป็นแหล่งที่ดีของเบต้าแคโรทีน แอลฟ่าแคโรทีน ไฟเบอร์ วิตามินเค Luteolin เป็นสารฟลาโวนอยด์ที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบ และต้านมะเร็ง แครอทสีม่วง จะมีสาร Anthocyanins แครอทสีแดงมีสาร Lycopene และแครอทสีเหลืองมีสาร Lutein และแคโรทีน
- เชอรี่ เป็นแหล่งของไฟเบอร์ วิตามินซี โพแทสเซียม วิตามินเอ มี Anthocyanins เป็น Antioxidats
- ถั่วเหลือง เป็นแหล่งของโปรตีน มีไฟเบอร์ สูง มีโพแทสเซียม แมกนีเซียม ทองแดง แมงกานีส และธาตุเหล็ก เต้าหูเป็นแหล่งของ แคลเซียม มีไขมันไม่อิ่มตัว เป็นแหล่งของ โอเมก้า 3 และ 6 ในถั่วเหลืองมีสารพฤกษเคมี หลายชนิด เช่น Isoflavone, Saponins (ช่วย ลดความดันโลหิต ป้องกันมะเร็ง และมีผลต่อ ระดับน้ําตาลในเลือด), Phenolic Acids (จากการศึกษาพบว่ามีประสิทธิภาพในการหยุดการ แพร่กระจายของมะเร็ง), Phytic Acid เป็นสาร ต้านอนุมูลอิสระ, Sphingolipids มีบทบาท ในการควบคุมการเจริญเติบโตของเซลล์ ช่วย ให้เซลล์ผิดปกติและก้อนเนื้องอกทําลายตัวเอง
- ชา มีอยู่ 4 ชนิด ชาดํา ชาเขียว ชาอู่หลง และชาขาว มีคาเฟอีนช่วยกระตุ้นระบบ ประสาท และมี Catechins เป็นสารสําคัญที่มี ผลดีต่อสุขภาพ มี 2 ชนิด EGCG พบในชาเขียว EGC และ ECG
- ธัญพืชไม่ขัดขาว (เช่น ข้าวกล้อง) เป็นแหล่ง ของไฟเบอร์ แมกนีเซียม และโปรตีน ธัญพืช ไม่ขัดขาวแต่ละชนิด เป็นแหล่งที่ดีของ แมงกานีส ไทอามิน ไนอะซิน วิตามินบี 6 และ เซเลเนียม มี Saponins, Phytic acid ซึ่งมีผล ต้านมะเร็ง Protease Inhibitors อาจจะช่วย ป้องกันมะเร็งไม่ให้แพร่กระจายได้
- ผักใบเขียวเข้ม เช่น ผักโขม คะน้า ผักกาดแก้ว ฯลฯ เป็นแหล่งของไฟเบอร์โฟเลต และแคโรทีนอยด์ เช่น Lutein, Zeaxanthin, Saponins และ Flavonoids อาหารที่มี แคโรทีนอยด์ อาจจะป้องกันมะเร็งในช่องปาก และช่องในลําคอ นอกจากนี้ในงานวิจัยทาง ห้องปฏิบัติการพบว่าแคโรทีนอยด์ในผัก ใบเขียวเข้ม ช่วยหยุดการเจริญเติบโตของเซลล์ มะเร็งเต้านม เซลล์มะเร็งผิวหนัง มะเร็งปอด และมะเร็งกะเพราะอาหาร นอกจากนั้นการ กินอาหารที่มีไฟเบอร์สูงเป็นประจํา ช่วยลด ความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งลําไส้ได้ดี
- กระเทียม มีสารต้านมะเร็งหลายชนิด böy Quercetin, Allixin, Allicin, Alliin bay Atyl Sulfdes ในการศึกษาทางห้องปฏิบัติ การพบว่า กระเทียมมีฤทธิ์ในการชลอหรือหยุด การเจริญเติบโตของเนื้องอกในต่อมลูกหมาก กระเพาะปัสสาวะ ลําไส้ใหญ่ หรือกระเพาะอาหาร เป็นต้น
- มะเขือเทศ เป็นแหล่งของวิตามิซี เบต้า แคโรทีน และมีโพแทสเซียมสูง กินเพียงหนึ่งผล จะได้โพแทสเซียมถึง 109% ของความต้องการ ในหนึ่งวัน ในสีแดงของมะเขือเทศ มีไลโคพื้น ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ และมีฤทธิ์ป้องกัน มะเร็งต่อมลูกหมาก