สันติ เศวตวิมล ตัวตนที่ไม่ต้องค้นหา

สันติ เศวตวิมล ตัวตนที่ไม่ต้องค้นหา

   สําหรับคนบางคน การค้นหาตัวตนที่แท้จริงอาจเป็นเรื่องยากและคงต้องใช้เวลาทั้งชีวิต ขณะที่บางคนขอแค่มี “เวลา” ได้อยู่กับตัวเองก็สามารถพบคําตอบเหล่านี้ได้ไม่ยาก แต่สําหรับผู้ที่ได้ขึ้นชื่อว่าเป็นบุคคลสาธารณะ ผู้เป็นเจ้าของนามปากกา แม่ช้อยนางรํา สามตา กรวิก ฯลฯ เขาอาจไม่ต้องการให้ใครมาค้นหาตัวตนของเขา เพียงแค่อยากจะรู้จักตัวเองให้มากกว่าที่เป็นอยู่นี้...ก็พอ

   สันติ เศวตวิมล คือบุคลากรสําคัญด้านสื่อมวลชน เป็นนักหนังสือพิมพ์ พิธีกร นักเขียน ฯลฯ ซึ่งในเรื่องของอาหารถือว่าเป็นผู้รอบรู้อันดับต้น ๆ ของประเทศไทย ปัจจุบันท่านใช้ความรู้ความสามารถมาเปิดร้านอาหาร "แม่ช้อยดอยหลวง" ในซอยเรวดี จ.นนทบุรี นอกจากนี้ ยังเขียนนิยายแบบตอนส่งให้นิตยสาร MiX Magazine ของเราอีกด้วย ดังนั้นเรื่องของชีวิตและแนวคิดของ สันติ เศวตวิมล กว่าจะมาถึงวันนี้ได้เรียกว่าไม่ธรรมดา เชิญติดตามชมได้เลย

   “ผมเกิตที่โรงพยาบาลศิริราช เป็นข้าราชการอยู่ในกระทรวงการศึกษาธิการ ความเป็นอยู่ไม่สะดวกสบายเลย เพราะแม่เป็นคนจีน ส่วนพ่อเป็นคนไทยแท้ซึ่งอยู่ในตระกูลขุนนาง คุณย่าจึงไม่ยอมรับ ผมถูกส่งตัวไปอยู่กับแม่นมที่จังหวัดชลบุรีตั้งแต่เกิด ความห่างจากครอบครัวจึงมักรู้สึกโหยหาถึงความอบอุ่น นั้นจึงน่าจะเป็นที่มาของความต้องการคนข้างกายอยู่เสมอก็เป็นได้ หลังจากนั้นพ่อไปรับกลับมาและได้อยู่ในแวดวงขุนนาง ทั้งคุณพ่อและปู่เป็นนักอ่านหนังสือ จึงมีหนังสือเต็มไปหมด ส่วนคุณย่าท่านเป็นคุณหญิง มีอะไรก็อบรมสั่งสอนแบบคนโบราณ มีความชํานาญในเรื่องอาหารคาวหวาน จึงซึมซับและมีความรู้เรื่องการทําอาหารตั้งแต่อายุ 5-6 ขวบ

   “สมัยตอนเป็นเด็ก เรียนที่โรงเรียนอํานวยศิลป์ธนบุรี หลังจากนั้นเข้าโรงเรียนเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยตอน ม.ปลาย จนกระทั่งเข้าระดับมหาวิทยาลัยสอบเอ็นทรานซ์ไม่ติด จึงไปหาครูมาลัย ชูพินิจ และบอกครูว่า อยากจะเริ่มอาชีพนักหนังสือพิมพ์ เมื่อทํางานไปได้สักระยะพอดีตอนนั้น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เปิดแผนกอิสระวารสารศาสตร์ ซึ่งแต่เดิมนั้นยังไม่เปิดเป็นคณะวารสารศาสตร์ และสื่อสารมวลชนเหมือนทุกวันนี้ จึงมีโอกาสเข้าไปเรียน ขณะที่เรียนได้ 3 ปี ก็มีความคิดว่าชีวิตเราจะอยู่แค่นี้หรอ จังหวะนี้เองก็มีทุนด้าน Journalist จากรัฐบาลเยอรมัน ซึ่งสมัยนั้นใครได้ทุนนี้ถือว่าโก้มาก ส่วนที่อเมริกาก็ถือว่าอาชีพหนังสือพิมพ์สง่างามและมีเกียรติ

   “เรียนอยู่ที่เยอรมัน 2 ปี สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการไปเยอรมัน คือ ความอดทน ความขยัน ความตรงต่อเวลา เพราะต้องตื่นเป็นเวลานอนเป็นเวลา ทํางานเป็นเวลา ถูกสอนมาให้เป็นคนมีวินัยในการทํางาน งานก็คืองานเล่นก็คือเล่น แม้คนไม่มองว่าเราไม่ยืดหยุ่น แต่ครูจะสอนให้รู้จักกับคําว่า solate ที่แปลว่า โดดเดี่ยว คือการที่คนเราจะสง่างามได้นั้นจะต้องโตตเดี่ยว เหมือนนกอินทรีที่บินตัวเดียวจึงดูสง่างาม แต่นกกระจอกนั้นมักจะบินเป็นฝูง...”

ชื่อเสียงผ่านปลายปากกา

   เขาไม่หยุดนิ่งเพื่อให้โอกาสดี ๆ วิ่งเข้าหาการขวนขวายพิสูจน์ตัวเองด้วยความใส่ใจที่จะพัฒนาความสามารถ ทําให้ศักยภาพต่าง ๆ ที่มีเป็นตัวแสวงหาหนทางที่ก้าวไปได้อย่างเหมาะสม สายงานนักข่าวจึงเป็นเส้นทางที่ท้าทาย และเลือกแล้วสําหรับเขา จนเกิดนามปากกาใหม่ที่แวดวงนักหนังสือพิมพ์รวมถึงแวดวงอาหารการกินที่ทุกคนต้องรู้จัก

   “เมื่อได้กลับมาอยู่เมืองไทยและทํางานอยู่ที่หนังสือพิมพ์พิมพ์ไทย เป็นนักข่าวสงครามเวียดนาม ทํางานได้สักพักก็ได้ทุนไปฝึกงานที่อเมริกา 1 ปี ตอนนั้นอายุเพียง 20 กว่าร้องไห้ทุกคืนอยากกลับบ้าน แต่เพราะได้คาถาดี จากการไปเยอรมันนั้นก็คือ ขยัน ซื่อสัตย์ ประหยัด อดทน กตัญญูรู้คุณคน จึงทําให้อยู่รอดมาได้

   “และเมื่อครั้งที่หนังสือพิมพ์พิมพ์ไทยใกล้จะปิดตัวลง ด้วยความผูกพันที่ผมมีกับที่นี่จึงพยายามอยากที่จะให้พิมพ์ไทยได้อยู่ต่อ ผมจึงไปหาคุณสุรัตน์ โอสถานุเคราะห์ หรือคุณเพชร เพื่อเสนอความคิดที่ว่าควรจะซื้อหนังสือพิมพ์มาอยู่ในมือสักฉบับ เพราะใครมีหนังสือพิมพ์เท่ากับมีพลังอยู่ในมือ คุณเพชร ก็ตกลงซื้อหนังสือพิมพ์พิมพ์ไทย และเปลี่ยนชื่อเป็นหนังสือพิมพ์สยาม

   “จากนั้นก็ให้ผมที่อายุเพียง 22 ปี เป็นบรรณาธิการ ถือว่าเป็นบรรณาธิการ ที่อายุน้อยที่สุดในประเทศไทยก็ว่าได้ จนเมื่อมีเหตุการณ์พนักงานส่วนหนึ่งออกจากไทยรัฐ ไทยรัฐจึงเรียกผมเข้าไปคุยแล้วติดต่อให้มาร่วมงานด้วย ซึ่งหน้าที่แรกที่ได้เข้าไปทําคือ ไปทําข่าวสงครามที่เขมร

   “ตอนเป็นนักข่าวอยู่เขมร มีนามปากกาว่า “สามตา” เพราะผู้มีพระคุณของผมที่เป็นนักเขียนเขาตั้งให้ ซึ่งคือพี่อุทธรณ์ พลกุล หรือที่รู้จัก ในนามปากกา งาแซง” แห่งคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์นั่นเอง

หลังจากนั้นมีเหตุการณ์ทางการเมืองทําให้ต้องหยุดเขียน และหันไปเขียนเรื่องเกี่ยวกับอาหารแทนโดยใช้นามปากกาว่า “แม่ช้อยนางรํา” ซึ่งจะเขียนในแบบฉบับของสันติคือ ชิมอาหารพื้นบ้าน อาหารชาวบ้านที่คนไม่รู้จัก เพื่อเป็นความรู้ให้แก่เด็กรุ่นใหม่ ส่วนคําว่า “เปิปพิสตาร” นั้น เปิบเป็นคําไทยโบราณ แปลว่า “กิน” เป็นทักษะการกินของคนไทย พิสดาร แปลว่า กว้างขวาง เมื่อนํามารวมกันจึงแปลว่ากินอาหารที่มีความหลากหลาย จนกระทั่งได้ทํา รายการ ท้าพิสูจน์ ออกอากาศทางช่อง 7 สี คนก็เริ่มรู้จัก มีการออกนอกสถานที่ อาหารที่ได้ชิมก็เริ่มพิสดารขึ้น”

จากนักเขียนเปลี่ยนมาสู่นักแต่งเพลง ชื่อดังนามปากกากรวิก ที่เป็นคนสร้างตํานานราชินีแห่งวงการนักร้องลูกทุ่งเองกับมือ

   “เมื่อบรรยากาศทางการเมืองกลับมาสู่ยุคประชาธิปไตยแล้ว มีคนให้กลับไปเขียนเรื่องเกี่ยวกับการเมืองโดยใช้ชื่อสามตาอีกครั้ง แต่ผมไม่ยุ่งเรื่องการเมืองแล้ว ที่หันมาเริ่มแต่งเพลงอย่างจริงจังเพราะแต่งมาตั้งแต่เด็ก ๆ แล้วมันอยู่ในสายเลือด ส่วนพุ่มพวง ดวงจันทร์ ผมก็เป็นหนึ่งในคนสร้างเธอขึ้นมา

   “เพลงที่สร้างชื่อให้กรวิกเป็นอย่างมากคือเพลงในอัลบั้ม “เขิน” คนแต่งเพลงย่อมมีแรงบันดาลใจ สําหรับผมแรงบันดาลใจได้มาจากความรัก คนที่มีความรักจะแต่งเพลงได้ดี เพราะความรักมีหลายแบบ เช่น รัก แบบริษยา รักแบบเสียสละ รักแบบเห็นแก่ตัว แต่แล้วก็ต้องเลิกแต่งเพลงเพราะมีเหตุการณ์บางอย่างที่ผมรับไม่ได้ในธุรกิจวงการเพลง ครั้งสุดท้ายที่แต่งเพลงคือแต่งให้กับโรงเรียนสวนกุหลาบฯ หลังจากนั้นก็ไม่แต่งแล้ว เพราะงานดนตรีต้องแต่งด้วยความตั้งใจของคนที่แต่ง ไม่ใช่ถูกบังคับ งานทุกอย่างต้องออกมาจากจิตวิญญาณ เหมือนอาหารทุกอย่างที่กิน ที่ต้องกินเพราะเรารักที่จะกิน อาหารทุกคําผู้ทําส่งความรักมาให้ผู้กิน ทุกอย่างต้องมีศิลปะในการทํา ไม่ได้คิดเรื่องกําไรขาดทุน”

อัตตาที่ว่างเปล่า

   การค้นหาตัวตนหรืออัตตาของชายผู้นี้ดูเหมือนจะเป็นสิ่งสําคัญ ด้วยแนวคิดที่อยากให้คนอื่นละทิ้งเปลือกนอกและหันมามองที่ผลงานก็ยิ่งทําให้สังคมอยากรู้จักเขามากขึ้น ถึงอย่างนั้นเขาเองก็ไม่ได้คิดว่าจะให้ใครมารู้จักหรือสนใจในตัวตนของเขาเลย

   “ผมอยากจะรู้จักตัวเองมากกว่านี้ เพราะตลอดเวลาที่ทํางานมากว่า 50 ปี คนอื่นรู้จักเราแต่กลับไม่มีเวลาไหนเลยที่จะให้เราได้คิดและรู้จักตัวเอง ตั้งแต่เกิดก็ต้องรู้จักพ่อแม่ของเราก่อน พอโตขึ้นก็ต้องรู้จักครูบาอาจารย์ รู้จักเพื่อน เมื่ออายุมากขึ้นก็ต้องรู้จักหัวหน้าและลูกน้อง ด้วยเหตุนี้จึงควรต้องรู้จักตัวเองเสียก่อน มิฉะนั้นก็คงไม่สามารถรู้จักคนอื่นได้ แต่ถ้าอยากรู้จักผมก็เชิญมารู้จัก เพราะผมเป็นคนของประชาชน เป็นคนสาธารณะ จะรักหรือจะเกลียด ผมก็ไม่ว่า แต่ขอให้รู้จักตัวตนที่แท้จริงของผม อย่ารู้จักผมเพียงแค่เงา

   “มีคนเข้าใจผมผิดเยอะแยะ พวกคุณมองผมเป็นต้นไม้มองแค่ยอต แต่ไม่ใต้มองให้ลึกลงถึงราก ไม่ได้มองว่ากว่าจะมาเป็นต้นโพธิ์สูงใหญ่ให้ความร่มเย็นเป็นที่อยู่ของฝูงนกกาหรือสัตว์ทั้งหลาย มันมาจากพืชเม็ดเล็ก ๆ ย่อมต้องอาศัยเวลาบ่มเพาะ ผมเป็นเมล็ดพันธุ์ดี เมล็ดพันธุ์ดีของผมไปตกในท้องนาที่ดี ดินที่ดี ก็สามารถเจริญงอกงามได้ นี่ไม่ใช่การโอ้อวดแต่เห็นว่ามีคนต่าผมเยอะ ซึ่งผมก็ไม่ได้สนใจเพราะมีแต่จะทําให้จิตตก เสียเวลา และถือว่าไม่ใช่มืออาชีพอย่างแท้จริง คนที่เก่งหรือไม่เก่งเขาจะดู จากผลงาน

   “การทํางานสําหรับผมไม่มีคําว่าเจ้านาย มีแต่หัวหน้ากับลูกน้อง เพราะผมเป็นนายใครไม่ได้ ผมเป็นแค่ผู้รับใช้ความสง่างามของบัณฑิต คือเป็นผู้รับใช้ไม่ได้เป็นเจ้าของไม่ได้เป็นเจ้านาย เมื่ออายุมากขึ้นผมจึงตัดสินใจลาออกจากหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ แต่ไม่ได้ลาออกจากวงการหนังสือพิมพ์ ส่วนตัวคิดพิจารณาแล้วว่าถ้าอายุ 45 เมื่อไหร่จะต้องเริ่มรู้จักตัวเองให้ได้ มิฉะนั้นคงไม่มีโอกาสได้รู้จักตัวเอง บางทีคนเราลืมรู้จักตัวเองเพราะภาระหน้าที่ แล้วอย่างนี้เมื่อไหร่จะได้รู้จักตัวเองเสียที คนเราควรรู้จักตัวเองก็ตอนที่เราพร้อมความพร้อมคือการที่เราสามารถยืนอยู่บนขาของตัวเองได้โดยไม่ต้องอาศัยเงาของผู้อื่น นอกจากนี้ผมไม่เคยโอ้อวดว่าผมเป็นใคร เพราะอยากให้คนรู้จักผมจากผลงาน ไม่ใช่รู้จักจากเฟอร์นิเจอร์ ชื่อเสียง ลาภยศภายนอก ซึ่งล้วนแต่เป็นของรุงรังทั้งสิ้น ดังคําพระที่ว่า มีลาภก็เสื่อมลาภ มียศก็เสื่อมยศ”

สูงสุดคืนสู่สามัญ

   อีกด้านหนึ่งของชีวิตที่คนภายนอกไม่เคยรับรู้เกี่ยวกับเขาคนนี้คือ ความเรียบง่ายและความเงียบสงบภายในบริเวณที่พักอาศัยประกอบด้วยบ้านไม้ทรงไทย และสวนผลไม้หลังบ้านอันกว้างสุดลูกหูลูกตา เมื่อใดที่เขาต้องการใช้สมาธิ ที่นี่จึงเปรียบเหมือนมุมแห่งปัญญา แม้ไม่มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย ขอแค่มีโต๊ะทํางานและเครื่องพิมพ์ดีดเท่านี้ก็เพียงพอแล้ว

   “ที่ยังใช้เครื่องพิมพ์ดีดอยู่นี้เพราะใช้คอมพิวเตอร์ไม่เป็น ผมอยู่กับพิมพ์ดีดมาตั้งแต่เด็ก เริ่มใช้เมื่อตอน อายุ 17 ปี จนขณะนี้ก็ยังใช้อยู่ ผมไม่ได้มีแค่เครื่องนี้เครื่องเดียว แต่มีเป็นสิบเครื่อง มีอยู่ทุกบ้านเพราะ ผมรักและจะอยู่กับเจ้าเครื่องนี้จนกว่าเราจะตายจากกัน ถ้าถามผมว่าทําไมถึงไม่ลองหัดใช้เทคโนโลยี อย่างนั้นผมขอถามกลับว่า แล้วคุณอยากจะเปลี่ยนสามีหรือภรรยาบ้างไหม (หัวเราะ) สิ่งที่ดีที่สุดในโลก คือความเป็นธรรมชาติ ดิจิตอลเป็นสิ่งที่เกินความจําเป็นของมนุษย์ คอมพิวเตอร์ก็ดี แต่เมื่อไหร่ที่ไม่มีไฟฟ้าล่ะ คิดหรอว่าพลังงานจะมีอยู่ตลอด อย่างโทรศัพท์มือถือเที่ยวแบตเตอรี่ก็หมดก็วุ่นวายกันยกใหญ่ แต่ไอ้เจ้าเครื่องพิมพ์ดีดตัวนี้มันซื่อสัตย์สุจริต จริงใจ คอมพิวเตอร์ที่แท้จริงมันอยู่ในสมองเรา ไม่ได้อยู่ตรงที่เครื่องมือ สําหรับผมเป็นยุคสมัยของธรรมชาติ แต่บัดนี้มาถึงยุคสมัยของคอมพิวเตอร์ก็ช่างเขา ขอแค่อย่ามายุ่งกับยุคของผมก็พอ

   “ตอนเด็ก ๆ ผมมีความยึดถือตัวตนมาก เพราะถูกสอนมาตลอดว่าให้มีศักดิ์ศรีไม่ต้องมีสตางค์ให้มีเกียรติ ไม่ต้องมีตําแหน่ง ดังนั้นจึงถือเกียรติและศักดิ์ศรีมาตลอด แต่ ณ วันนี้อยากบอกว่าคนเราอย่ามั่นใจเกินเหตุ อย่ามีอัตตา อย่ามีตัวตน เพราะทุกอย่างที่เกิดต้องมีการเปลี่ยนแปลง คนเราต้องมีบารมี 10 อย่าง คือ ทานบารมี ศีลบารมี เนกขัมบารมี ปัญญาบารมี วิริยะ บารมี ขันติบารมี สัจจะบารมี อธิษฐานบารมี อุเบกขา บารมี และเมตตาบารมี นอกจากนี้ยังต้องมีมงคลชีวิต ทั้ง 36 ประการ มงคลแปลว่า สิ่งที่เราทําแล้วส่งผลให้เราดีขึ้นกว่าเดิม

   “การเรียนรู้ไม่มีที่สิ้นสุด คุณต้องเรียนรู้จากตัวคุณเอง เพราะตนเป็นที่พึ่งแห่งตน วันนี้ผมเป็นตัวของตัวเอง ใครพอใจรับได้รับ รับไม่ได้ก็ไม่ต้องรับ ส่วนความสุขของคนที่ชื่อ สันติ เศวตวิมล คือ กินข้าวหมดจาน กินน้ำ หมดจอก หรือก็คือมีความเป็นตัวของตัวเองนั่นเอง”

 

เขาอาจไม่ต้องการให้ใครมาค้นหาตัวตนของเขา เพียงแค่อยากจะรู้จักตัวเองให้มากกว่าที่เป็นอยู่นี้