THAI LACQUER PAINTINGS ศิลปะกํามะลอที่รักจริง  "อาจารย์ สนั่น รัตนะ"

THAI LACQUER PAINTINGS ศิลปะกํามะลอที่รักจริง "อาจารย์ สนั่น รัตนะ"

   อาจารย์สนั่นรัตนะคือบุคคลสําคัญท่านหนึ่งในวงการศิลปะไทย ท่านเป็นราชบัณฑิต ประเภทวิชาวิจิตรศิลป์ สาขาจิตรกรรม สํานักศิลปกรรม เป็นศิลปิน อาจารย์ นักเขียน และจัดทําหนังสือเกี่ยวกับศิลปะไทย มากมาย

   เราพบกับอาจารย์สนั่น รัตนะ ครั้งแรกที่กรมศิลปากร สํานักช่างสิบหมู่ ถนนพุทธมณฑลสาย 5 ขณะที่กําลังขะมักเขม้น ทํางานภาพเขียน เพื่อใช้ในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพของในหลวงรัชกาลที่ 9 โดยงานดังกล่าวมี ศิลปินเข้าร่วมทํางานจํานวนมาก ซึ่งอาจารย์สนั่น ได้ให้เกียรติอธิบายความเป็นมาในการทํางาน รวมถึงเทคนิคต่าง ๆ อย่างคล่องแคล่ว จนเราได้รับข้อมูลไปมากพอสมควร แต่วันนั้นอาจารย์สนั่นกลับไม่เคยเผยงานของตัวเองออกมา แม้แต่น้อย ว่ามีความสําคัญอย่างไร

   จนกระทั่งวันนี้ เรากลับมาพบอาจารย์สนั่นอีกครั้ง หลังจากที่ได้คุยกันไม่นาน ก็พบว่างานศิลปะที่ท่านทําอยู่นั้น ทรงคุณค่า มีเพียงไม่กี่คนที่ยังทํางานศิลปะในแบบฉบับโบราณแบบนี้อยู่

   “เบื้องต้นทุกคนคงเคยได้เห็นผม ในการทํางานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพในหลวงรัชกาลที่ 9 ซึ่งเป็นภารกิจหนึ่งที่ผมได้รับ และนั้นก็คือประสบการณ์หนึ่งที่เป็นผลงานการันตีความรู้ความสามารถของผม ในการได้รับการโปรดเกล้าฯ เป็นราชบัณฑิต นะครับ

   “ปัจจัยสําคัญจากงานของผม ซึ่งเป็นที่ประจักษ์ในสังคมในช่วงเวลาหนึ่ง แต่จริง ๆ แล้วการทํางานศิลปะของผมนั้นทํามายาวนานไม่น้อยกว่า 45 ปี ต่อเนื่อง เขียนรูปทุกวัน เป็นการทํางานที่หนักพอสมควร นั้นหมายถึงว่าทักษะ และประสบการณ์นั้นค่อย ๆ สะสมเข้ามา แต่ทั้งหมดนี้เราทําเพื่อต้องการค้นหาปัญหาและหาคําตอบ เพื่อไปถ่ายทอดวิชาบความรู้ให้แก่ลูกศิษย์ อะไรใช่อะไรไม่ใช่ไม่จําเป็นต้องให้ลูกศิษย์ค้นหาโดยความยากลําบากมากนัก ในเมื่อเราเคยผ่าน จุดจุดนั้นมาแล้ว เราก็จะแนะนําในวิธีที่ถูกให้แก่พวกเขาไปเลย โดยไม่จําเป็นต้องไปลองผิดลองถูกเพื่อลูกศิษย์จะได้ ดําเนินไปสู่เป้าหมายที่รวดเร็วมากขึ้น

ความภูมิใจในราชบัณฑิต

   “ราชบัณฑิตประกอบด้วยคําสองคําคือราซะกับบัณฑิตราซะคือพระราชาบัณฑิต คือ ผู้รู้ จึงเป็นผู้รู้ของพระราชา นักปราชญ์ของพระราชา คล้าย ๆ กับหนังจีน ที่มีการสอบจอหงวน สอบเพื่อเป็นราชครูในทํานองนั้น เช่นเดียวกัน หน้าที่ของราชบัณฑิตนั้น จะมีโอกาสหรือเรียกได้ก็ต่อเมื่อมีการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง เพราะฉะนั้นในตัวผมเองได้รับการแต่งตั้งโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม มาตั้งแต่วันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2563 ครับ )

   “ตัวผมเองถ้าจะไปแสดงตัวที่ไหนก็จะเป็น“สนั่นรัตนะราชบัณฑิต”มี “ราชบัณฑิต” ห้อยท้ายเสมอ เพราะถือว่าเป็นตําแหน่งที่โปรดเกล้าฯ ติดตัวตลอดกาล ลาออกไม่ได้ มีอย่างเดียวคือถวายบังคมลาตาย เพราะฉะนั้นก็ถือว่าเป็นเกียรติ สูงสุดของคนทํางานศิลปะคนหนึ่งที่ได้รับโอกาส ถือว่าเป็นนักปราชญ์ของแผ่นดินสาขาจิตรกรรมไทย ที่ผ่านมติการพิจารณาคัดเลือกจากผลงานของผมแล้ว ว่ามีความเหมาะสมและเสนอขึ้นไปโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งลงมาครับ

   “ซึ่งตอนนี้ผมทําหน้าที่เป็นประธานยกร่างศัพท์หัตถศิลป์ไทยของราชบัณฑิตเป็นปัจจัยที่ยากมาก ตรงที่เราไม่สามารถสืบสาวราวเรื่องให้ลงลึกในสิ่งที่เราต้องการ ไม่สามารถตอบคําถามในช่วงร้อยสองร้อยปีได้ ไม่มีหลักฐานปรากฏ ต้องไปอิงกับกฎหมาย อิงกับพงศาวดาร ไปอิงอยู่กับตํานานของซาติอื่น ๆ ไม่เหมือนกับจีน หรือยุโรป อย่างเช่นภาพวาด ที่เขาสามารถตอบได้เรื่องราวเป็นมาอย่างไรใครวาดเกิดขึ้นเมื่อไหร่สามารถตอบได้ แต่พอมองกลับมาที่ของไทย เราไม่ได้มีการบันทึก

   “ดังนั้นการทํางานจะเป็นไปได้ค่อนข้างยาก ต้องอาศัยผู้รู้ในแต่ละแขนงมาก ศึกษาเพื่อเจาะลึกข้อมูลอ้างอิงข้อมูลต่าง ๆ มาปะติดปะต่อกัน จนได้ข้อมูลที่ถูกต้องในสารานุกรมไทย ผมรู้สึกว่าถ้าหากทําออกมาได้สัก 1 เล่มผมก็ภูมิใจ เพราะอย่างน้อยจะมีบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ผมพูดอยู่เสมอว่าในวันข้างหน้าความรู้ต่าง ๆ ที่คนรุ่นใหม่เข้ามาศึกษาต่อจะสามารถรับรู้และปะติดปะต่อ รื่องบางเรื่องในอดีตได้ นําไปสู่ปัจจุบัน ซึ่งผมมองว่าเป็นข้อดี”

รากเหง้าศิลปะไทย

   “ศิลปกรรมของคนไทยนั้นมีมาแต่ตั้งเดิมแล้ว เรียกว่าช่างสิบหมู่ คือเรียกแทนช่างแต่ละสาขา ภายหลังอาจารย์ศิลป์ พีระศรี ท่านเข้ามารับราชการในประเทศไทย ท่านได้นําศิลปะแบบตะวันตกเข้ามาผสมผสานร่วมสมัยระหว่างของไทย เพราะฉะนั้นถ้าหากไม่มีอาจารย์ศิลป์ ก็จะไม่มีศิลปกรรมรูปแบบตะวันตกให้เราได้เรียนรู้เราก็จะมีศิลปกรรมไทยที่เป็นประเพณีดั้งเดิม เพราะฉะนั้นหากเปรียบเทียบตัวศิลปกรรมในกลุ่มเพื่อนบ้านอาเซียน หรือกลุ่มเอเชียก็ดีถ้าเราจะเปรียบเทียบ เพราะตัวศิลปกรรมของเราค่อนข้างจะก้าวหน้ากว่ากลุ่มประเทศเพื่อนบ้านนั้นหมายถึงว่าเราได้ประยุกต์ ระหว่างตะวันตกและประเพณีของไทยเข้าไว้ด้วยกัน เราได้เปรียบที่มีครู

   “ผมคิดว่านี่คือความฉลาดของคนไทย ที่สามารถผสมผสานให้ 2 ภูมิปัญญานี้เดินไปด้วยกัน เพราะคนไทยมีนิสัยกลมกลืนกับสิ่งใหม่ ๆ ที่เข้ามาไม่ทําตัวแตกแยก ในช่วงต้นอาจรู้สึกแปลกแยกพอหลังจากนั้นมันจะเกิดความกลมกลืน ความจริงแล้วการนําวัฒนธรรมตกเข้ามาตั้งแต่สมัยก่อนในช่วงยุคของสมเด็จพระนารายณ์ หรือ แม้กระทั่งวัฒนธรรมของจีนเองก็ตาม ซึ่งเป็นไปในแต่ละยุค

   “แต่พอมาเป็นในยุคปัจจุบันเอกลักษณ์ของความเป็นไทย จึงได้มีการผสมผสานในแต่ละวัฒนธรรมเข้าด้วยกันทั้งไทยดั้งเดิม ตะวันตก จีนอินเดีย หรือชาติอื่น ๆ ที่ได้ เข้ามาผสมผสานกลมกลืน ไม่เฉพาะตัวศิลปะอย่างเดียว ยังรวมถึงวัฒนธรรมอย่างอื่นด้วย

“ถ้าพูดโดยรวมเราพัฒนาไปในระดับหนึ่ง แต่ว่าการเดินออกไปเรามุ่งเน้นการออกไป สู่สากล โดยที่ส่วนใหญ่แล้วเราลืม และทิ้งความเป็นตัวตนแท้ ๆ ของเราความรู้ ภูมิปัญญาไทยหลาย ๆ อย่างที่เราไม่ได้สืบทอด ไม่ได้ศึกษา ไม่ได้บันทึก นั้นคือ การได้หน้าแล้วลืมหลังเรามุ่งเน้นไปข้างหน้าอย่างเดียวลืมความเป็นตัวตนไว้ข้างหลัง มุ่งสู่อารยธรรมใหม่ ๆ เพราะฉะนั้นในรุ่นใหม่ ๆ ถามว่าคนไทยรู้จักตนเองมากน้อย แค่ไหน ตอบได้เลยว่าไม่เยอะ เพราะว่าเราไม่ได้ใส่ใจกับตัวเราเอง ใครก็ตามที่ศึกษา จะมองว่าเป็นคนเซย ล้าสมัย ผมสังเกตได้จากลูกศิษย์นักศึกษาในปัจจุบันถามเรื่อง ของตัวเองที่เป็นความรู้ของชาติภูมิปัญญาตอบไม่ได้ แต่พอถามเรื่องคนอื่นกลับตอบ ได้ชัดเจนมากกว่า”

ศิลปะลายกํามะลอ

   ภูมิความรู้ทั้งเดิมต่างๆ หายไปเยอะมากในสมัยอยุธยากรมช่างสิบหมู่คือศิลปะ ช่างที่จัดหมวดใหญ่ได้เป็นสิบหมู่ มีช่างกว่าร้อยช่างจัดสรรออกมาได้ 10 กลุ่ม ปัจจุบันเหลือเพียงสํานักงานกรมช่างสิบหมู่ ของกรมศิลปากร ความรู้เรื่องช่างต่าง ๆ สูญหายไปเยอะมาก บางอย่างสามารถสืบข้อมูลปะติดปะต่อจากเพื่อนบ้าน อย่างเช่น “ศิลปะลายกํามะลอ” คําว่า ศิลปะกํามะลอ เป็นเทคนิคผสมระหว่างลายรดน้ําและจิตรกรรมรวมกัน หรือที่คนเอเชียเรียกว่า “LACQUER WORK” เป็นวัฒนธรรมร่วมของคนเอเชีย การนําสีฝุ่นผสมกับยางรัก ถ้าอธิบายให้สามารถเข้าใจง่ายก็คือจิตรกรรมสีน้ํามันที่คนเอเชียคิดค้นขึ้นมาใช้เอง สืบทอดความรู้มาจากจีนต่อกันมายาวนานประมาณ 3,000 กว่าปีมาแล้ว

   “อย่างที่ผมได้กล่าวว่าศิลปะนี้มีสืบทอดมาจากประเทศจีนยาวนานกว่า 3,000 ปี สําหรับประเทศไทยเองความจริงแล้วเริ่มใช้เทคนิคนี้มาไม่น้อยกว่า 700 ปี แฝงอยู่ในงานช่างอื่น ๆ ไม่ได้อยู่ในงานจิตรกรรมอย่างชัดเจน อย่างเช่น การนําสีฝุ่นสีแดง ผสมยารัก เพื่อทารองพื้นพระพุทธรูปปิดทองคําเปลวในสมัยสุโขทัย นี่คือหลักฐานที่สามารถสืบค้นได้ แต่เมื่อสืบค้นลึกลงไปสีแดงที่นํามาใช้ในสมัยสุโขทัยมีสี 2 สี คือสีแดงชาด และสีแดงเสน (สีแดงส้ม) นี้คือปัจจัยที่สืบค้นได้ว่าไทยเรานั้นมีการใช้สีฝุ่นผสมยางรักมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยตามหลักฐาน

   “คําว่ากํามะลอ เป็นศัพท์ที่เรียกมาโดยสมเด็จครู สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ท่านเรียกผลงานกิจกรรมแบบเอเชียที่มีลายทองปิดและเขียนสีท่านเรียกว่า “กํามะลอ” หรือปลอม หมายถึงไม่แท้ ไปทางใดทางหนึ่ง เป็นเทคนิคผสม เพราะท่านไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นจิตรกรรม หรือ ลายรดน้ํา เพราะมันมีสีและทองปนกันอยู่

   “ปลอมหรือไม่แท้ไม่ได้หมายถึงการไม่คงทน เพราะได้มีหลักฐานการค้นอายุกว่าพันปี พบกว่าสภาพของงานยังคงเดิมไม่เสื่อมสภาพไปแต่อย่างใด

   “ในนิยามของสมเด็จครูท่านบอกว่า จิตรกรรมกํามะลอ เมื่อมีการเขียนระบายสีเสร็จขัดเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อมาคือการเอาจุสตินสีเหลือง (หินหรดาล) เขียนกันในส่วนที่ไม่ให้ทองติดแล้วเชิตรักปิดทองรดน้ําออกมา ก็จะได้ลายทอง ออกมาบนพื้นสี ส่วนเส้นสีทองเอายางรักใสตัดเส้นขอบรอบนอกของรูปแล้ว โรยผงทองคํา ผลงานทั้งหมดนี้จะมีเส้นนูนคือเส้นของยางรักที่โรยผงทองคํา ที่เหลือจะแบนราบเท่ากันถึงจะเรียกว่า “ลายกํามะลอ” ส่วนอื่น ๆ ที่ไม่ได้ใช้เทคนิคจิตรกรรมลายรดน้ํา จะเรียกว่า “จิตรกรรมรักสี” เพราะฉะนั้นในประเทศไทย มี 2 ชนิด แต่คนไทยจะเรียกรวมคําเดียวว่า “ศิลปะลายกํามะลอ” นั่นเอง”

คุณค่าที่ควรรักษา

   “เมื่อครั้งสมัยผมเป็นนักเรียนช่างศิลป์ ได้พูดคุยกับอาจารย์ที่เป็นช่างรัก ช่างลายรดน้ํา วัสดุที่ท่านอาจารย์ได้ใช้หรือเอ่ยมา ท่านมีตัวอย่างให้ผมดูอย่างเช่น ไม้พายทารักที่ทําจากเขาควาย แปรงที่ทาทําจากเส้นผมคนเคยมีจําหน่ายหาซื้อ ได้ตามสําเพ็ง วงเวียนใหญ่ ในสมัยก่อน ต่อจากนั้นหายไปเพราะเราไปนิยมวัสดุ ทางยุโรป เมื่อช่างทําเป็นแต่ไม่มีวัสดุ ความรู้ต่าง ๆ ก็ค่อยเลือนหาย ลูกศิษย์รุ่นต่อไป ๆ ก็ไม่รู้จะเรียนได้จากอะไรเพราะไม่มีวัสดุให้ฝึก ครูที่มีความรู้ที่ได้ล้มหายตายจากไปไม่มีการจดบันทึก ยิ่งทําให้รุ่นใหม่ไม่ได้ศึกษาต่อ

   “พอวันหนึ่งผมก็ค้นพบวัสดุเหล่านี้ที่ประเทศเพื่อนบ้าน จึงทําให้เราระลึกถึงครั้งสมัยที่ท่านอาจารย์เคยบอกเคยสอน ก็เอามาปะติดปะต่อและเริ่มที่จะให้ความสนใจว่าถ้ามีวัสดุผมจะนําเทคนิคนี้กลับมาได้

   “ในประเทศเวียดนามเขาสืบทอดศิลปะ เรียกว่าศิลปะประเพณีไม่น้อยกว่าพันปี ถึงแม้ว่าประเทศเวียดนามจะมีสงครามอยู่ตลอด แต่เทคนิคงานช่างนี้เขาสามารถสืบทอดได้ไม่สูญหาย วัสดุต่าง ๆ ที่เคยใช้เมื่อพันปีก่อน เดินทางมาจนถึงทุกวันนี้ก็ยังคงสืบทอดอยู่ไม่จางหาย แต่ในทางกลับกันไทยเองนั้นไม่มีสงครามแต่กสับสูญหายไปร้อยกว่าปีเป็นภาพสะท้อนว่า ทําไมวัฒนธรรมการสืบทอดแบบประเพณีของไทย ที่ไม่มีสงครามอยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุขถึงได้ขาดหายตั้งแต่ร.ศ.117 (พ.ศ.2441) จนถึง ปัจจุบันหายไปกว่า 123 ปี ถึงตอนนี้ผมมองว่าผมเป็นผู้รู้คนที่ 1 ของ พ.ศ. นี้

การศึกษากับงานศิลป์

   “ผมคิดว่าการศึกษาในบ้านเรา มีเงื่อนไขว่าวิชาที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัยได้จะต้องมีผู้รู้จบปริญญาโทไม่น้อยกว่า 3 คน ปัจจุบันนี้สาขาจิตรกรรมรักสี เทคนิคลายรดน้ํา เทคนิคหัวโขน หรือเทคนิค ช่างปั้นที่จะเปิดในระดับปริญญาตรีสาขาโดยตรงเฉพาะไม่มีใครจบปริญญาโทเลยแม้แต่น้อย เพราะปริญญาตรียังไม่สามารถเปิดได้ แล้วจะเรียนปริญญาโทได้จากที่ไหน

   “เพราะฉะนั้นผมกล้าพูดว่ามหาวิทยาลัยหรือสถาบันการศึกษาทําลายความรู้ที่เป็นภูมิปัญญาไทยทิ้งทั้งหมดผมพูดในนามราชบัณฑิต สนั้น รัตนะ ตรงกันข้ามกับเวียดนามมหาวิทยาลัยในฮานอย หรือ เว้เอง ก็ตาม เขาได้นําผู้รู้มาสอนเทคนิคที่เป็นภูมิปัญญา มีนักศึกษาเรียนอยู่ครึ่งมหาลัยเพื่อสืบต่อภูมิปัญญาแล้วเทคนิคจิตรกรรมที่เกิดขึ้นหนึ่งพันปีต่อเนื่อง เขานับเป็นจิตรกรรมแบบเวียดนามประเพณีที่เกิดขึ้นใหม่ทุกวันครับ ถามว่าความรู้ที่ผมรู้จะสามารถไปสอนในระดับปริญญาตรีได้ไหม ไม่ได้เพราะผมไม่ได้จบปริญญาโท ความรู้ต่าง ๆ เหล่านี้ถ้าผมไม่บันทึกไว้ ถ้าผมไม่สอนต่อให้มีลูกศิษย์ สุดท้ายก็จะหายไปอีกครั้ง

   “คนไทยนิยมคนที่มียศมีตําแหน่ง ไม่นิยมคนที่ไม่มีความรู้มีทักษะ เยอะนี่คือความบกพร่องของคนไทย ดังนั้นผู้ที่จะมากําหนดทิศทาง การศึกษา คือผู้ที่จบปริญญาเอกจากต่างประเทศ ดังนั้นเขาเรียน วัฒนธรรมมาจากทางฝั่งยุโรปหรือจากมหาวิทยาลัยที่เรียนมาตราบใดที่ ยังลอกฝรั่งมา เราก็ได้แต่ชื่นชมอดีตตามฝาผนังที่มันเริ่มจางหายไป แล้ววันหนึ่งก็สูญไปตามเวลา

   “ในทุก ๆ ครั้งที่ผมสอนลูกศิษย์ผม หรือช่างต่าง ๆ ทุกสาขาอาชีพ ผมจะบอกเสมอว่าทําอะไรขอให้มีการจดบันทึกเทคนิควิธีการของตนเองไว้ ให้เป็นมรดกความรู้ให้แก่ลูกหลานของตนเองก่อนเมื่อใดที่มีการนําความรู้เหล่านี้มาศึกษาสืบสานต่อถึงลูกหลาน ก็จะกลายเป็นมรดกของชาติต่อไป” 

Did You know

การศึกษาและตัวอย่างผลงานบางส่วนของอาจารย์สนั่น รัตนะ

• ประวัติการศึกษา ปมช. (ศิลปศึกษา) วิทยาลัยช่างศิลป กรมศิลปากร (พ.ศ. 2523) กศ.บ. (ศิลปศึกษา) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ(ประสานมิตร) (พ.ศ. 2527)

• ประธานคณะบรรณาธิการจัดทําสารานุกรหัตถศิลป์ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสภา

• กรรมการจัดทําพจนานุกรมศัพท์ลายไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน

• ภาพประกอบหนังสือ พุทธประวัติสําหรับเยาวชน ของสํานักงานเอกลักษณ์ไทย สํานักนายกรัฐมนตรี (พ.ศ.2529)

• ภาพประกอบวรรณกรรม เรื่อง พระอภัยมณี ฉบับแปลเป็นภาษาอังกฤษของกระทรวงวัฒนธรรม - เขียนซ่อม ภาพจิตรกรรมและลวดลายฝาผนัง พระอุโบสถวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ราชวรวิหาร (พ.ศ. 2527)

• เขียนภาพฉากบังเพลิงพระเมรุมาศสมเด็จพระศรีนครินnราบรมราชชนนี (พ.ศ.2539)

 

THAI LACQUER PAINTINGS ศิลปะกํามะลอที่รักจริง "อาจารย์ สนั่น รัตนะ"