ปฏิรูปโลก ประเทศ และการศึกษา "ศาสตราจารย์ ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์"

ปฏิรูปโลก ประเทศ และการศึกษา "ศาสตราจารย์ ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์"

   หนึ่งในประเด็ดสําคัญของสังคมไทยที่ต้องแก้ไขคือเรื่องของการศึกษา ซึ่งเหมือนเป็นสารตั้งต้นรากฐานสําคัญของทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพของประเทศ เป็นที่ทราบกันดีว่าเรื่องของการศึกษาในบ้านเรายังมีปัญหาและข้อบกพร่องอยู่มาก โชคดีที่วันนี้เราได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ หรือ ดร.แดน ผู้เป็นอาจารย์เป็นนักวิชาการอาวุโสชั้นนําของโลกและของประเทศไทย เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหาร เป็นนักคิด นักเขียน และทํางานด้านอื่น ๆ อีกมากมาย เรียกได้ว่าคือมันสมองและทรัพยากรบุคคลคนสําคัญท่านหนึ่งของประเทศไทย ได้มาแสดงทัศนะและมุมมองในฐานะผู้คร่ําหวอดตัวจริงด้านการศึกษาของโลก

จุดเริ่มต้นการศึกษา

   “การศึกษาในยุคมัธยมโรงเรียนของผมลอกระบบมาจากฝรั่งเศส เพราะผู้ก่อตั้งโรงเรียนอัสสัมชัญมาจากฝรั่งเศส ซึ่งถือว่าก้าวหน้าเหมาะกับยุคสมัยแต่เหมาะกับยุคนี้ไหม ผมว่าไม่เหมาะเพราะบริบทสังคม และการศึกษาเปลี่ยนไป การศึกษายุโรปโบราณใช้วิธีท่องจําเยอะ เพราะสมัยก่อนมนุษย์อ่านออกเขียนไม่ค่อยได้ ผู้มีความรู้ส่วนใหญ่จึงเป็นพระเป็นครูทําหน้าที่ให้ธรรมะและสามัญ เราจึงเข้าใจสังคมอดีต

   “ผมเคยอยู่มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดและเคมบริดจ์ ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยเก่าแก่ เริ่มต้นมาจากนักบวชแล้วค่อย ๆ ขยายการศึกษาให้คนทั่วไปจนไม่เหลือร่องรอยเก่า ถามว่าฝรั่งท่องไหม ท่องครับ ประเทศไทยก็เอามาจากฝรั่ง ผมมาจากโรงเรียนแบบนั้นคือท่องอาขยาน ผมไม่ได้ต่อต้านวิธีนี้เพราะมันทําให้เราเก็บสะสมเหมือนไฟล์ในหัว ใครท่องเก่งความจําดีก็ได้เปรียบในการสอบ แต่ปัจจุบันไม่ต้องท่องแล้ว ห้องสมุดก็ไม่ต้องเข้าแล้ว ผมสามารถหาความรู้ด้วยช่องทางดิจิตอล จึงไม่มีความจําเป็นต้องท่องแต่เราควรจําโดยธรรมชาติที่ไม่ต้องท่องใช้ความเข้าใจ ผมบอกกระทรวงศึกษาประจําว่าไม่ควรท่องแล้วให้เอียงไปทางที่คิดเก่งดีกว่า

   “หลังผมเรียนจบปริญญาเอกถึงวันนี้ก็ผ่านมา 42 ปี ถามว่าเราตระหนักรู้หรือยังว่าการศึกษาไม่ควรท่อง ให้มีความเข้าใจด้วยการคิด แต่ยังทําไม่ได้ปัญหาคือทําอย่างไรให้คนคิดได้ แต่จะสอนคนให้คิดได้จะสอนยังไง ผมจึงจําแนกหาทางให้คนคิดเป็น แต่ต้องยอมรับความจริง คนคิดเป็นไม่ค่อยเยอะ ยิ่งในสังคมโลกที่ได้รับการยอมรับมีไม่กี่สิบท่านครับ เมื่อเทียบกับประชากรหมื่นล้านคน

   “ฝรั่งอาจคิดเป็นมากกว่าเรา เนื่องจากโอกาสมีมากกว่า บรรยากาศของประเทศมันเกิดจากคนที่ใครคิดแหลมออกมาจะถูกลงโทษเป็นแกะดํา ปัญหาเกิดคนไม่กล้าคิดเพราะกลัว สังคมนั้นไม่เกิดความคิดใหม่ ๆ ความรู้ นวัตกรรมเทคโนโลยีใหม่ ๆ”

DNA ทางความคิด

   “ถ้าผมพูดถึงมหาวิทยาลัยชั้นนําของโลก อาจมีคนบอกว่าผมเป็นใครที่กล้าวิจารณ์ ซึ่งผมเห็นมาหมดไม่ได้ฉาบฉวยแต่เรียนมา ภาษาอังกฤษเขามีสํานวนที่คนไม่รู้อย่างเช่น เขาจะไม่ถามว่าคุณเรียนมาจากไหน แต่จะถามว่าใครเป็นพ่อแม่คุณทางความรู้ หรือผู้ให้กําเนิด DNA ความรู้ของคุณมา ถ้าเราตอบถูกก็บอกชื่อมหาวิทยาลัย เขาจะเดาทางว่าเราได้รับอิทธิพลจากที่ไหนมา เหมือนเราเป็นลูกใครในบ้านมันไม่ได้มี DNA จากร่างกายอย่างเดียวยังมี DNA ทางความคิด ต่าง ๆ อีกด้วย

   “ส่วนที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ กับมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด เขาจะถามว่าคุณอ่านอะไร ซึ่งหมายถึงวิชาหลักที่อ่านเยอะ ๆ การอ่านหนังสือมันส่งตรงถึง นักปราชญ์ พออ่านเยอะ ๆ จากผู้เขียนที่เป็นอาจารย์ จะมีเวลาสะท้อนความคิดข้างในที่สําคัญ แต่ทุกวันนี้มันเป็นเรื่องของดิจิตอล ที่เปิดปั๊บได้ปับมันไปเรื่อย ๆ ไม่มีเวลาคิดแต่เข้าถึงเร็ว วิธีการของโลกดิจิตอลถ้าใช้เป็นก็เป็นประโยชน์ แต่ถ้าไม่เป็นก็กลายเป็นกระแสที่ใครมากดดันเยอะ ๆ วิ่งตามโดยไม่ต้องคิด ความลึกซึ้งจึงไม่มี การอ่านหนังสือจึงได้เปรียบที่ว่าคนคิดไว หรือคิดช้านั้นเท่าเทียมกัน”

อันดับการศึกษาไทยรั้งท้ายโลก

   “ถ้าพูดจริง ๆ แล้วเอาตัวชี้วัด ซึ่งเป็นตัวประมาณการของสภาพจริงแท้ทางการศึกษา ผมนั่งดูตัวบ่งชี้ นี้มา 30 - 40 ปี ของการจัดสํานักอันดับการศึกษาของมหาวิทยาลัยโลก นั่งดูละเอียดทุกปี ถามว่าตัวชี้วัดเหล่านั้นพอประมาณการได้บ้างไหม ผมตอบว่าได้ เพราะมันไม่ได้ไกลความจริงเสียจนผิดเพี้ยน สํานักจัดการศึกษามหาวิทยาลัยมีประมาณ 10 กว่าสํานัก เอาตัวชี้วัดตัวบ่งชี้มาเรียงกันหมด แล้วก็มานั่งดูจะพบว่าสิงคโปร์อยู่ในอันดับดีในระดับโลก ไทยแลนด์ อยู่ในอันดับไกลมากในระดับโลก ถามว่าต้องยอมรับความจริงไหม ไม่ใช่เรามาอวดอ้างว่า ประเทศไทยเราชาตินิยม ประเทศไทยเราก็ยิ่งใหญ่ ถ้าเราพูดตามตัวชี้วัด บอกเลยว่าแพ้ราบคาบ ถามว่าแพ้ราบคาบนี้เกิดจากอะไร ตอบว่าความมุ่งมั่นของผู้นํา “ประเทศ สิงคโปร์ มหาวิทยาลัยที่ดีเกิดจากลี กวนยู เพราะฉะนั้นเราก็อยากจะพูดความจริงว่าส่วนสําคัญที่ทําให้เขาเป็นอย่างนี้ คือผู้นําเบอร์ 1 และรัฐบาลเห็นคุณค่า ทําไมเห็นคุณค่าเพราะ ลี กวนยู ส่งลูกอย่างนายก ลี เซียนลุง ไปเรียนมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ไปเรียนมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ผมก็เรียนจบเคมบริดจ์ จบฮาร์วาร์ด และที่ฮาร์วาร์ด ลี เซียนลุงจบโปรแกรม เดียวกับผม ดังนั้นผมก็รู้ว่าเขาได้รับอิทธิพลการศึกษา ระนาบสูง ๆ ของโลกมา ทั้งที่ตัวเองจบเคมบริดจ์ ลูกก็จบมหาวิทยาลัยชั้นดีและพูดกันตามจริง ถ้าเขาไม่เห็นคุณค่าเขาจะไม่บังคับขนาดนี้ว่า เป็นกฏที่ไม่ได้เขียนไว้ ใครที่จะเป็นนายกสิงคโปร์ในสายตาลี กวนยู ถ้าไม่จบมหาวิทยาลัยชั้นนําของโลกไม่ได้เป็น เพราะ ลีกวนยูเชื่อว่า การศึกษาเป็นตัวบ่งชี้ที่บอกถึงโอกาส ความสําเร็จในการทําหน้าที่ได้ดีที่สุดจริง ๆ”

ตัวกรองคุณภาพคน

   “ถ้าผมจะจ้างคน และผมอยากจะได้คนเก่งสุดมาทํางาน แต่ผมไม่มีเวลาสัมภาษณ์คนทั้งโลก เพราะค่าใช้จ่ายสัมภาษณ์มันเยอะไม่ไหว คนที่ผมจะเลือกมาทํางานสําคัญ พูดตรง ๆ เลย ผมจะเลือกคนที่จบมหาวิทยาลัยชั้นนําของโลก เพราะอะไร เพราะมหาวิทยาลัยของโลกเขาช่วยกรองให้ผม เหมือนกับเครื่องผ่อนแรง ผมไม่ต้องไปกรองเองเขากรองให้ผมแล้ว เพราะไอ้นี่มันต้องแข่งกับคนมาทั้งโลก เพื่อเข้าไปถูกไหม

   “และการที่เขาดํารงเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนําเบอร์ 1 ของโลกได้ แสดงว่าเขาต้องมีวิธีกรองดีพอประมาณ ข้ามกาลเวลาหลายร้อยปี ถ้าเขาเลือกพลาดบ่อย ๆ เขาก็ทําลายตัวเอง เขาต้องเลือกคนที่ถูกประเภทมาเรียน ซึ่งที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด พูดอย่างนี้ครับถ้าเรารับคุณแสดงว่าคุณจบทุกคนยกเว้นคุณไม่อยากจบเอง แปลว่าเรามั่นใจว่าคุณจบได้ทุกคน ถ้าเรารับคุณแสดงว่าคุณไม่มีตกข้างทาง

   “ยกเว้นเขาไม่อยากจบเอง อย่างบิล เกตส์ หรือมาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก ที่หนีไปทําธุรกิจ แต่พวกเขาสามารถจบได้ เพราะเราเลือกคนเก่ง แปลว่ามหาวิทยาลัยมีความสามารถในการเลือกคน ผมขอยืมจมูกเขาดม ยืมมือเขาในการเลือกคนให้ผม บางคนอาจคิดว่าผมกําลังเหยียดมหาวิทยาลัยอื่นไม่ใช่นะครับผมให้เกียรติทุกคน ผมไม่เคยมองว่าคนจบมหาวิทยาลัยชั้นนําจะดีกว่าคนธรรมดาเสมอไป ไม่จริงครับ ผมก็ยอมรับความจริงและก็คิดอย่างนี้เรื่อยมา

   “แต่ถ้าให้ผมบังคับหมู่มาก บังคับให้ผมต้องเลือกในเวลาสั้น เงินน้อย เวลาน้อย จะให้ผมเลือกคนอย่างไร ผมจะดูเลยว่าคุณจบมหาวิทยาลัยไหน แล้วคุณจบมา GPA ขนาดไหน ถ้ามี GPA หรือถ้าเผื่อจบมาในชั้นคุณเนีย คุณเป็นเปอร์เซ็นต์ไทน์เท่าไหร่ คุณเป็นที่ 1 หรือเปล่า เป็น TOP 1% ไหม ถ้าคุณแบบที่กลางๆ ท้าย ๆ ผมก็จะเลือก ทีหลัง ถ้าผมเหลือตัวเดียวบังคับจริงนะ อาจจะพลาดนะ เลือกเสร็จไอ้นี่มันฉลาด แต่ไม่เฉลียวเลย มันไร้ปัญญา มันมีความรู้แต่เข้ากับคนไม่ได้เลย บริหารคนไม่ได้ อันนี้คนละเรื่องต้องไปดูตัวอื่นด้วยในเรื่องอื่น”

การศึกษาในสถาบันยังสําคัญ

   “บางคนพูดว่า ดูบิล เกตส์สี ดูมาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก สิ เรียนก็ไม่จบ ขอประทานโทษจริงครับแต่จริงไม่หมด การที่จะพูดว่าการศึกษาเป็นทางการไม่สําคัญ คุณต้องตอบได้ว่าถ้าไม่ให้การศึกษาเป็นทางการแก่คน คุณไม่จัดระบบ ประสิทธิภาพจะเกิดไหม ในการถ่ายทอดวิทยาการความรู้ที่พรมแดนให้กับเด็กและเยาวชนในรุ่นต่อไป ถ้าคุณบอกว่าให้ไปเก็บเศษความรู้เอาเอง แบบอับราฮัม ลินคอล์นได้ครับ แต่ยากกว่ามีพระอาจารย์นําไหม แล้วถ้าคุณไม่เรียนอยู่ในระบบ คุณไปเรียนนอกระบบได้ไหม ได้ครับ แต่ยากกว่าไหม เพราะคุณต้องไปจัดระบบตัวเอง ลองผิดลองถูกต่าง ๆ ไปเก็บเศษความรู้ตามที่ต่าง ๆ โดยที่ไม่รู้ว่าอะไรจริง หรือไม่จริงวุ่นไปหมด

   “เบื้องหลังมหาวิทยาลัยคือสายโซ่ทางวิชาการมาไม่รู้จะกี่ร้อยปี ที่ถ่ายทอดมาเป็นชั้น ๆ ถึงอาจารย์เรา และอาจารย์เราที่เขาเลือกมาอย่างดีจึงมาสอนเรา จึงไม่ปลอดภัยกว่าหรอ อย่างผมบอกว่ามหาวิทยาลัยอย่างนี้ คนจะเป็นอาจารย์เป็นได้ง่ายที่ไหน เขาก็ต้องเลือกมา การที่เขาเลือกมานี้คือเขาช่วยเราแล้ว เราไปฝากตัวเป็นลูกศิษย์อาจารย์เก่งที่สุดดีที่สุด ที่เขาเลือกมาอย่างดีแล้วเราได้เปรียบ ฉะนั้นผมพูดตามจริงว่า ถ้าเป็นได้เอามันทุกระบบ ในระบบนอกระบบและตามอัธยาศัย

   “แต่เน้นการศึกษาที่เป็นประสบการณ์เชี่ยวชาญพิเศษ ที่จัดระบบดี คือการศึกษาในระบบย่อมเป็นประโยชน์ ถ้าไม่เป็นประโยชน์ทําไมในพันปี เราจัดการศึกษาเป็นระบบขึ้นมา สมัยก่อนก็เรียนกันพ่อแม่สอนลูกตามมีตามเกิด สมัยโบราณ วิธีการง่าย ๆ ก็ไปอยู่ตามวัด จนในที่สุดก็ต้องแปลงให้มันเป็นระบบ เพราะอะไรที่มันเป็นลูกทุ่งไม่เป็นระบบ ตอนแรกมันก็ดีกว่าไม่มี แต่ในที่สุดก็ต้องมีการจัดระบบ พอจัดระบบแล้วมันดี เราไปเห็นบางตัวไม่ส่งผลลัพธ์ตามที่คาดแล้วเราไปล้มมันทิ้งได้ไหม

   “ผมเอ่ยอ้างถึงบิล เกตส์ ซึ่งอายุเท่าผมนะ เรียนฮาร์วาร์ดแต่เรียนไม่จบ ผมเลยพูดติดตลกว่า พ่อบิล เกตส์คาดหวังว่าบิล เกตส์จะเรียนจบฮาร์วาร์ด แต่ตายไปโดยบิล เกตส์ ลาออกไปเสียก่อน เพื่อไปทําธุรกิจ ซึ่งจําเป็นต้องทําให้ทันเวลาไม่งั้นจะไม่ได้เป็นเศรษฐีโลก แล้วเขาก็เล็งแม่นถามว่าเขามีความสามารถไหม มีแน่ ๆ ไม่งั้นเข้าฮาร์วาร์ดไม่ได้ มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์กก็อีกคน ผมอยู่ที่ฮาร์วาร์ด ผมเป็นรุ่นแรกนะที่ใช้ Facebook ผมเห็นมาร์ค ซัคเคอร์เบิร์กมานั่งฟังผมเลคเชอร์ ผมรู้จักตั้งแต่เป็นเด็ก ฉะนั้นผมก็ดูแล้วว่า คนนี้ท่าทางน่าสนใจ และพวกเราก็ใช้ Facebook กัน จนในที่สุดมาร์ค ซัคเคอร์เบิร์กก็เรียนไม่จบเหมือนเดิม ไม่ใช่ไม่เก่ง แต่ว่าต้องรีบไปทํา Facebook ไม่งั้นไม่ได้เป็นเศรษฐีโลกตั้งแต่อายุ 20 ปี Facebook ก็เกิดมาจากคนจากฮาร์วาร์ดที่ควรเรียนจบได้สบาย ๆ แต่ไม่จบ เนื่องจากต้องทํางานแข่งกับเวลา

   “ผมไม่เชื่อครับว่าระบบปริญญาจะหายไป แต่มันจะถูกปฏิรูปเพื่อให้รองรับสมรรถนะมากขึ้น ยอมรับตามบริบทแห่งยุค ให้ปริญญาสอดคล้องกับคุณภาพคนแห่งยุค ผมว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง แต่ไม่ใช่การล้มปริญญาแน่นอน และผมไม่เชื่อว่ามหาวิทยาลัยจะหายไป มหาวิทยาลัยที่ไม่ดี ไม่ตอบสนองสังคม ล้มหายตายจากได้ถูกควบรวมได้ ถูกยกเลิกได้มหาวิทยาลัยยังต้องอยู่ยงคงกระพัน ในมิติในลักษณะแบบใหม่ที่จะเกิดขึ้นตามยุค ที่ผมเรียกว่าคลื่นลูกที่ 5 ซึ่งกําลังจะเกิด ลูกที่ 3-4 มันกําลังจะหมดไปแล้ว 5 กําลังจะมา 6 กําลังจะมาตามทฤษฎีคลื่น 7 ลูก ของผม มหาวิทยาลัยเป็นมดลูกคลอดประเทศชาติบ้านเมือง มหาวิทยาลัยต้องเปลี่ยนแปลงตัวเอง เพื่อได้ประเทศชาติแบบใหม่ ในยุคใหม่จําเป็นต้องปฏิรูปโลก ปฏิรูปประเทศ เพื่อให้มหาวิทยาลัยปฏิรูปการศึกษา เพื่อที่จะสามารถให้ได้คนที่เหมาะสมกับยุค ผมเชื่อว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง ไม่หยุดนิ่งอยู่กับที่”

โลกต้องเปลี่ยน เปลี่ยนตามโลก

   “การปฏิรูปการศึกษาในโลกผมว่าอยู่ในจุดหักเห ที่สถาบันการศึกษาทั้งโลก ไม่เพียงอนุญาตให้คิดแต่ต้องจัดบริบทให้ได้คิด ไม่ใช่แค่อนุญาต แต่ต้องทําให้ สู้กับกระแสที่มันขัดขืนการคิด สิ่งที่ผมเห็นด้วยและที่เห็นว่าเป็นประโยชน์ยิ่งทําให้ ล้วงข้อมูลได้เร็ว ความรวดเร็วมันทําให้ไม่ได้คิดเหมือนกัน เราต้องจัดบริบทให้เอื้อต่อการคิด ผมว่ามหาวิทยาลัยในโลกที่ผมได้ไปสอนหนังสือมาก็ยังไม่ถึงขั้น พูดแบบนี้เขาจะรู้สึกว่า แหม! นี่หยิ่งมากเลยนะ ไปวิจารณ์เขาขนาดนี้เป็นคนไทย แต่ไปนั่งวิจารณ์ฝรั่ง

   “การศึกษาที่ดีมันต้องมีหลักมีการ และต้องคิดให้เป็น ถ้าไม่เป็นมันไม่มีทางหรอกครับที่จะสร้างคนไปใช้ประโยชน์ได้เพราะโจทย์มันเปลี่ยนทุกวัน แต่ละแบบ ไม่ว่าจะโจทย์ใหญ่โจทย์น้อยเท่าไร ใครจะสามารถให้ผลลัพธ์ความคิดสําเร็จรูปกับคนมันมีทางเดียวคือเอาเครื่องมือความคิดไปให้เขา จนเขาคิดเป็นและเจอโจทย์แล้วสามารถคิดได้เลย และอธิบายได้ว่าทําไมเขาคิดแบบนี้ ผมว่านี่คือการศึกษาที่ต้องปฏิรูปอย่างจริง ๆ ในโลก ถ้าทําไม่ได้ เราจะเป็นเหยื่อ เป็นแมงเม่าบนโลกใบนี้ ที่ปล่อยให้กระแสพาไปหมด ต้องแยกแยะผิดชอบชั่วดี จริงไม่จริง ถูกผิดไม่มีเลย ผมว่าตรงนี้คือเรื่องใหญ่

   “ในจุดหักเหของโลกวันนี้ ในศตวรรษที่ 21 ที่ผมคิดว่ายังทําไม่ถึงขั้นที่น่ากังวลมาก และนี่ไม่ใช่คํากล่าวหาเลื่อนลอยนะ ผมดูไปด้วยหลักฐาน ผมว่าโลกใบนี้ผู้มีภูมิปัญญายังมีอิทธิพลน้อยเกิน ที่จะพาคนไปในทางที่จะเป็นประโยชน์ทางความคิด และจําเป็นต้องปฏิรูป และเมืองไทยทําเลยไม่ต้องไปรอฝรั่ง แต่ไม่ต้องเกรงใจฝรั่งมาก ถ้าเราเห็นอะไรที่มีเหตุมีผลก็ขึ้นําไปเลย ไม่ต้องรู้สึกว่าตัวเล็ก เราเป็นประเทศเล็ก ๆ เราไม่กล้าเอาเลยถ้าเราคิดว่าดี และดูซิว่าความจริงความถูกต้องมันจะนําคนทั้งโลกได้ไหม ประเทศไทยไม่จําเป็นต้องกินน้ําใต้ศอกประเทศอื่น เราไม่ได้มีอะไรต่ําต้อยเรี่ยดินขนาดนั้น ก็เรามีจุดคิดที่ถูกต้อง มีเหตุผล ไม่ใช่ดันทุรังนะ แต่ว่าไม่ใช่กล่าวอ้างเลื่อนลอย หรือไม่มีเหตุมีผล 

   “ถ้ามีความคิดที่ดีก็นําโลกไปซิ นําโลกไปเลย ไม่ต้องกังวลไม่ต้องไปเชื่อเขาหมด ฟังเขาด้วยนะด้วยความเคารพให้เกียรติยอมรับว่าเราทุกคนต้องมีข้อบกพร่องทางความคิด รับฟังทุกคน ก่อนจะปฏิเสธต้องรับฟัง ก่อนที่จะทิ้งทุกอย่างก็ต้องดูว่า มีอะไรดีบ้างไหม ถ้าดีก็เก็บมาผนวก ผมก็เป็นคนสไตล์นี่แหละครับ ให้เกียรติคน ให้เกียรติคนทุกที่ แต่ไม่มองว่าเราต่ำต้อยจนเราไม่มีอะไรดีเลย ก็พยายามจะผนึกประสาน สมาน สิ่งดีทุกที่ ทุกแห่ง ทุกคน ทุกยุค ทุกสมัย มาต่อกันให้เกิดเป็นประโยชน์ ความคิดของผมเชิงการศึกษาการสร้างคนก็มาอาการแบบนี้แหละครับ”

 

ส่องการศึกษากับปัญหาของไทย

   “ปัญหาของการศึกษาไทยผมว่ามีหลายเรื่องนะครับ ตั้งแต่เรื่องของระบบการศึกษา เพราะรัฐบาลเราซึ่งควบคุมมหาวิทยาลัยของรัฐไว้ ทั้งกฎกติกา งบประมาณ และเรื่องต่าง ๆ นานา ยังไม่ถึงกับมุ่งมั่นที่จะเป็น World Class จริง อันนี้ปัญหาพอลงมาถึงในระดับมหาวิทยาลัย ถามว่าทําไมมันถึงไม่ได้พัฒนา ก็มหาวิทยาลัยเล่นการเมืองหนัก พูดตามจริงผมไม่ได้กล่าวหานะ ผมนั่งในสภามหาวิทยาลัยมาจํานวนมาก วันนี้ผมเป็นอุปนายกสภามหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ผมพูดเลยว่า ผมแทบไม่เคยเห็นไม่มีการเมืองมหาวิทยาลัย

   “ปัญหามันเกิดอย่างนี้ครับ สัญชาตญาณมนุษย์มันแย่งอํานาจกัน แล้ววิธีการแย่งอํานาจคือ หาวิธีทําอย่างไรก็ได้ที่ให้กติกาเอื้อต่ออํานาจตน ให้มีคําอธิบายว่าทําไมทํากติกาแบบนี้ แต่ระบบที่วางไว้ท่าน ดูดี ๆ สิครับ มันจะไม่มีโอกาสได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ได้คนที่เหมาะสมที่สุด เพราะถ้าใครมีพวกมากในผู้มีอํานาจ การเลือกอธิการบดีจะชนะถ้าบังเอิญโชคดี ผู้มีอํานาจมากไปเลือกคนที่เข้ามามหาวิทยาลัยนั้นก็ได้โอกาส แต่ถ้าไปเลือกคนที่คุณภาพไม่ถึง มหาวิทยาลัยก็เสียเวลาชีวิตของมหาวิทยาลัยไปถ้าส่วนใหญ่มันเป็นเรื่องของการเกาหลังกัน ซึ่งเกาหลังกันก็คือ ใครได้อํานาจก่อนจะไปกําหนดทิศทางตัวคนที่จะเข้ามานั่ง พอสภาพมหาวิทยาลัยเข้ามาก็เป็นคนไปเลือกอธิการบดี มันก็วนอยู่อย่างนี้ครับ ศูนย์อํานาจมันวนอยู่อย่างนี้ วนกันเปลี่ยนหน้าบ้างนิดหน่อย ส่งต่อให้ทายาท มายั่วกันนั่นแหละ ฮั่วผลประโยชน์ อันนี้พูดอย่างนี้ มหาวิทยาลัยจะโกรธผม แต่ผมไม่ได้ว่ามหาวิทยาลัย ไหน แต่กําลังอธิบายว่าโดยทั่ว ๆ ไป

   “องค์อํานาจการจัดการของมหาวิทยาลัยเป็นแบบนี้ จะทําให้มีผลต่อการศึกษาที่ดีที่สุด มันเป็นไปไม่ได้ มหาวิทยาลัยชั้นนําของโลกเขาไม่ได้ใช้วิธีนี้ เขาไม่ได้เกาหลังกันทางอํานาจแบบนี้ มันได้คนแบบประเภทที่แฟร์ ๆ แบบที่จะมาช่วยทําและพัฒนามหาวิทยาลัยได้ ฉะนั้นเมื่อเป็นเช่นนี้ การศึกษาที่ดีที่ไหนจะเอาระเบียบราชการมาเป็นตัวนํา จับแล้ว มันจะได้ดีที่สุด ไม่Flexible มันไม่ยืดหยุ่น ปัญหามัน ก็เกิด ไม่ได้เป็นประโยชน์ ตอบโจทก์ร่วมสมัย ที่จะสร้างคนคุณภาพ แต่มันเป็นการคํานึ่งกติกา กฎหมาย ราชการจํานวนมากที่มาครอบงํามหาวิทยาลัยอยู่ ซึ่งมันต้องมีบ้างแต่ว่ามันกลายเป็นว่ากฏกติกาไม่ได้มารับใช้การสร้างคุณภาพคน แต่คนที่เราสร้างต้องมารับใช้กฎกติกาที่เป็นข้อจํากัดที่เขียนไว้กติกาก็มีปัญหาโครงสร้างก็มีปัญหา โครงสร้างต่าง ๆ ก็มีปัญหา กระบวนการก็มีปัญหามีปัญหามหาศาล”

บทสรุปอนาคตการศึกษาไทย

   “การศึกษาไทยในอนาคตสําหรับผมมี 3 แบบ แบบที่ 1 ผมเรียกว่าอนาคตที่พึงประสงค์ไม่เกี่ยวกับว่า มีโอกาสมากน้อย อยากให้เป็นแบบไหน แบบที่ 2 อนาคตที่พอเป็นไปได้ แต่โอกาสมากน้อยไม่รู้ เพราะ ตามเงื่อนไขคือสภาพที่เป็นจริง แบบที่ 3 อนาคตที่น่าจะเป็น คือตามสภาพปัจจุบันที่เป็นอยู่ มันจะลงเอยแบบไหน มันมี 3 คํานะ ภาษาการมองอนาคตผมคือ Desirable Future อันแรก Possible Future อันที่ 2 และ Probable future คืออันที่ 3 ผมจะตอบแบบ 3 แบบนี้

   “ในอนาคตการศึกษาไทย Possible Future อันที 2 ก่อนละกัน มีโอกาสเป็นไปได้ไหมที่จะถึงฝั่งฝา ถึงความฝัน เป็นไปได้ มีโอกาสแต่ไม่เยอะ เพราะ เงื่อนไขที่เป็นอยู่มันอีนุงตุงนัง มันเป็นไปได้แต่มัน

ยากมาก และ 3 Probable Future โอกาสเป็นไป - ได้สูงสุดคืออะไร ถ้าเงื่อนไขไม่เปลี่ยนเลย อยู่แบบนี้ ก็ไม่มีเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขอะไรเลย โอกาสที่จะสําเร็จ มีไหม มีแต่น้อยมาก ๆ ดีกว่า Possible Future นิดนึง ถ้าเผื่อว่าเราบอกว่า มันก็มีความพยายามบ้าง ไม่ถึงกับไม่พยายามเลย ถามว่ามีโอกาสไหม มีแต่น้อยมาก ๆ ความสําเร็จเนี่ย ก่อนตายผมก็คงไม่เห็น

   “แต่ถ้าจะไปแบบ 1 DesirableFuture เป็นไปได้ไหม คืออนาคตที่พึงประสงค์การศึกษานี่เป็นไปได้ครับ แต่แปลว่าต้องเหนื่อยเปลี่ยนคานงัดทุกเรื่องต้องมากดคาน งัดใหม่หมด หมายถึงว่าต้องมีอํานาจการร่วมไม้ร่วมมือ จากทุกฝ่าย และต้องสามารถกระซิบคนมีอํานาจได้ว่า เฮ้ย!! ร่วมมือหน่อยนะ กระซิบตั้งแต่นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีกระทรวงที่เกี่ยวข้องทุกกระทรวงลงไปถึงในตัวของมหาวิทยาลัย อาจารย์และสภามหาวิทยาลัยที่เป็น ระดับชั้นคือต้องใช้เทวดาที่ได้รับการยอมรับแล้วพอกระซิบ แล้วคนบอกว่าครับ!! ท่านเทวดาถ้าได้ตามนั้นผมคิดว่าได้ ถ้าเทวดาแบบนั้นต้องเกิด และให้เขาเป็นเทวดา ถ้าเขาช่วยกระซิบแล้วคนเชื่อ แล้วบอกว่า โอ๊ย!! สิ่งศักดิ์สิทธิ์มี จริง เทวดามีจริง เอ่อ เทวดาบันดาลหน่อย พวกผมจะไม่ขัดขืนเลย มีเหตุมีผล เทวดาพูดดี ตั้งใจดี ขอยอมรับ ช่วยร่วมมือ เทวดาบอกอะไรจะทําด้วยกัน ประสานกัน ในเวลาก่อนที่เทวดาจะตายอย่างนี้ผมคิดว่าได้ได้จริงๆ

   “ตอบแบบนี้ไม่ได้ทําให้เราไม่พยายามนะ ขอพูดประโยคสุดท้ายว่า ถึงแม้ว่าโอกาสริบหรี่ ขาดเทวดาหรือ ขาดความร่วมมือกับเทวดา หรือว่าอะไรก็ตาม ถ้าความเป็นคนเรามีคุณค่า ยังไงก็ต้องทุ่มเต็มที่ แม้ริบหรี่แค่ไหน ต้องทํา ทําสุดความสามารถของความเป็นคนของเรา ทุกคนผมก็จะเป็นคนแบบนั้นคือโอกาสน้อยนิดก็ไม่ได้ ทําให้ผมหดหูแต่ขอบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ว่า ผมทําไว้แล้วนะ แล้วถ้าคุณเห็นด้วยอีก 300ปี 500ปี คุณมาอ่าน เจอเข้า คุณทําต่อนะ เพราะมันไม่เสร็จในช่วงชีวิตผม เพราะสังขารไม่เที่ยง

   “ดังนั้นผมก็ไม่เลิกรา ฉะนั้นใจผมนี่ต่างกับคนที่หดหู ท้อถอยเมื่อเห็น ผมมองสมจริงว่าโอกาสน้อยมาก แต่ผมไม่เลิก ผมทําเต็มที่ เหมือนจะพยายามเข้าเส้นชัย เพราะผมเป็นคนที่เชื่อเรื่องความดี ความดีมีจริงความดี มีจริงไม่พอครับ ผมเชื่อด้วยความบริสุทธิ์ใจว่ามีจริง 2. ถ้าทําความดีอย่าดูผลลัพธ์ ทําดีไปไม่ต้องดูผลลัพธ์ ว่าจะได้ผลดีหรือไม่ ทําเต็มที่เพราะทําความดีมันเหมือนเต่า มันเข้าเส้นชัยแน่แต่มันช้า แต่ความชั่ว เหมือนกระต่าย มันไม่ถึงเส้นชัยหรอกครับ

   “ถ้าเราจะถึงฝั่งฝา ทําไปเรื่อยๆ ไม่เสร็จชั่วชีวิตเรา ก็ต้องเสร็จวันหนึ่งในคนรุ่นต่อ ๆ ไป ค่อย ๆ สุกงอม ตกผลึก เห็นด้วย เดี๋ยวมันจะถึง แล้วประวัติศาสตร์ จะจารึกหลายร้อยปีข้างหน้าว่า ไอ้ที่เราฝันไว้มัน จะสําเร็จแต่มันช้าหน่อย แต่ถ้ามันเสร็จในชื่อเรามัน เป็นโบนัสนะ ทําให้เราชื่นใจก่อนตายก่อนหายใจเฮือก สุดท้ายได้เห็นนี้โอ้โห!! ชื่นใจ ทํามาทั้งชีวิตมันสําเร็จ จริง ๆ ก็มีความหวังว่าสิ่งศักดิ์สิทธิ์จะบันดาลให้ได้เห็น ก่อนตาย และถ้าไม่เห็นก็ไม่เป็นไร ถ้าเพื่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เมตตา ขอให้เห็นก่อนตายเถอะ เพราะมันอยากเห็น จริงๆ เพราะมันดีมันถูกต้อง ประเทศจะเจริญ

   “ถ้าเราจะถึงฝั่งฝา ทําไปเรื่อย ๆ ไม่เสร็จชั่วชีวิตเรา ก็ต้องเสร็จวันหนึ่งในคนรุ่นต่อ ๆ ไป ค่อย ๆ สุกงอม ตกผลึก เห็นด้วย เดี๋ยวมันจะถึง แล้วประวัติศาสตร์ จะจารึกหลายร้อยปีข้างหน้าว่า ไอ้ที่เราฝันไว้มัน จะสําเร็จแต่มันช้าหน่อย แต่ถ้ามันเสร็จในชื่อเรามัน เป็นโบนัสนะ ทําให้เราชื่นใจก่อนตาย ก่อนหายใจเฮือก สุดท้ายได้เห็นนี้โอ้โห!! ชื่นใจ ทํามาทั้งชีวิตมันสําเร็จจริง ๆ ก็มีความหวังว่า สิ่งศักดิ์สิทธิ์จะบันดาลให้ได้เห็นก่อนตาย และถ้าไม่เห็นก็ไม่เป็นไร ถ้าเพื่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์เมตตา ขอให้เห็นก่อนตายเถอะ เพราะมันอยากเห็นจริงๆ เพราะมันดีมันถูกต้องประเทศจะเจริญ

   “มหาวิทยาลัยและการศึกษาทุกระดับเป็นมดลูก คลอดประเทศ คุณอยากได้ประเทศดีมดลูกต้อง คุณภาพดี ถ้ามดลูกอ่อนแอ ประเทศนี้ปวกเปียกเลย ฉะนั้นผมก็ถึงมุ่งมั่นอยากไปทําคานงัด จึงทําทุกอย่างที่สถาบันการสร้างชาติ เพื่อสร้างคานงัดนี้แหละ เพื่อที่จะพยายามหว่านล้อมทุกฝ่ายให้บอกว่า โปรดไปด้วยกันเถิด เห็นแก่ประเทศชาติเถิด และประเทศจะได้เดินได้สักที มันจะดีที่สุดอย่าไปแก้ฉาบฉวย อย่าไปแก้วิธีการเกมการเมือง เกมอํานาจ เกมเปลือกกะทิ ไปแก้ ที่แก่น เพื่อที่ให้คนไทยมีคุณภาพ ประเทศจะเดินได้ เพราะคุณภาพที่สําคัญที่สุดคือคน” 

 

Did You know

ศาสตราจารย์ ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์

   สําเร็จการศึกษาจากโรงเรียนอัสสัมชัญ กรุงเทพ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จากโรงเรียนนิวเบอร์ลินรัฐวิสคอนซิน สหรัฐอเมริกาปริญญาตรี ด้วยเกียรตินิยม อันดับหนึ่ง และปริญญาเอกทางเศรษฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัย มอแนช ประเทศ ออสเตรเลีย ปริญญาโทรัฐประศาสนศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ประเทศ สหรัฐอเมริกา ปริญญาโท ด้านการบริหารจาก JUDGE BUSINESS SCHOOL มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ ปริญญาเอกทางการบริหาร (D.PHIL) และศึกษาหลังปริญญาเอก (POST DOCTORAL STUDIES) จากมหาวิทยาลัย ออกซ์ฟอร์ด (UNIVERSITY OF OXFORD) ประเทศอังกฤษ

 

ปฏิรูปโลก ประเทศ และการศึกษา "ศาสตราจารย์ ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์"