อาโอกิงาฮาระ ป่าฆ่าตัวตายแห่งญี่ปุ่น

อาโอกิงาฮาระ ป่าฆ่าตัวตายแห่งญี่ปุ่น

ในโลกของเรานั้นแต่ละปีมีผู้เสียชีวิตจากการฆ่าตัวตายถึง 700,000 คน หรือทุก 40 วินาทีจะมีผู้ฆ่าตัวตายสำเร็จ 1 คน โดยสถิติจากกรมอนามัยโลก 77% ของผู้เสียชีวิตจากการฆ่าตัวตายมักจะมาจากประเทศที่ประชากรมีฐานะปานกลางเเละยากจน วันนี้เราพาทุกท่านมารู้จักป่าอาโอกิงาฮาระ ประเทศญี่ปุ่น ที่เป็นสถานที่ที่ชาวญี่ปุ่นมาฆ่าตัวตายบ่อยครั้ง กล่าวกันว่ามีผู้เสียชีวิต ณ ป่าแห่งนี้มากถึงปีละ 30 ราย

อาโอกิงาฮาระ ตั้งอยู่เชิงภูเขาฟูจิด้านตะวันตกเฉียงเหนือ ในประเทศญี่ปุ่น ผืนป่าเกิดจากลาวาที่เเข็งตัวเเล้วด้วยเเร่ธาตุอุดมสมบูรณ์ทำให้พืชพรรณไม้ต่าง ๆ เจริญเติบโตได้ดี ด้วยจำนวนต้นไม้ที่เเน่นขนัดทำให้เรียกกันว่า "Sea of Trees" นอกจากนี้ยังมีถ้ำจำนวนมากทำให้ผู้คนนิยมเดินทางมาท่องเที่ยวเเละสำรวจทำวิจัย มีตำนานกล่าวไว้ว่า ป่าอาโอกิงาฮาระ นั้นเป็นที่สิงสถิตย์ของ ยูเร (幽霊 ) คือ วิญญาณมนุษย์ที่ตายทั้งที่มีความอาฆาตหรือไม่มีความสงบสุข จนกระทั่งในช่วงปี 1960 ป่านี้ก็ถูกขนานนามว่า "ป่าแห่งการฆ่าตัวตาย"

อาโอกิงาฮาระกลายเป็นสถานที่ที่ผู้คนเดินทางมาเพื่ออัตวินิบาตกรรม คล้ายกับมีเเรงดึงดูดบางอย่างเรียกผู้คนที่หมดหวังกับชีวิตเเล้วให้เดินทางมาฆ่าตัวตายในที่แห่งนี้ ในปี 2003 พบศพผู้เสียชีวิตมากถึง 105 คน หรือในปี 2010 ก็พบผู้เสียชีวิตถึง 200 คน ผู้เสียชีวิตส่วนมากมักแขวนคอตนเองหรือกินยาเกินขนาด ยิ่งมีการรายงานยอดผู้เสียชีวิตเท่าไหร่ ยอดเสียชีวิตในเเต่ละปียิ่งเพิ่มขึ้น ทางการญี่ปุ่นจึงหยุดรายงานยอดผู้เสียชีวิต เเละมีการตั้งกลุ่มอาสาช่วยเหลือเพื่อช่วยชีวิตคนที่พยายามฆ่าตัวตายในป่าแห่งนี้ขึ้น ศพโดยมากมักถูกพบโดยตำรวจ กลุ่มอาสา เเละนักข่าว อย่างไรก็ตามป่าแห่งนี้ก็ยังเป็นเเรงบันดาลใจในนวนิยายสยองขวัญ ที่เชื่อกันว่าเหล่ายูเรนั้นส่งเสียงเรียกผู้คนที่สิ้นหวังมาเพื่อดูดพลังวิญญาณของพวกเขาให้แก่ผืนป่า

ทำไมอาโอกิงาฮาระถึงเป็นที่นิยมในการฆ่าตัวตายของชาวญี่ปุ่น

อันที่จริงเเล้วป่าโอกิงาฮาระไม่ใช่จุดหมายเดียวของผู้ที่อยากจบชีวิตตนเอง เเต่ยังถูกใช้เป็นที่อำพรางศพอีกด้วย ยอดผู้เสียชีวิตในเเต่ละปีอาจรวมไปถึงผู้ที่ถูกจัดฉากฆาตกรรมด้วย ในขณะที่คนพยายามฆ่าตัวตายมีความเชื่อว่า หากหลบไปยังที่ที่ไม่มีใครเข้าถึงเขาจะสามารถฆ่าตัวตายได้สำเร็จ ป่าอาโอกิงาฮาระมีพื้นที่กว่า 35 ตารางกิโลเมตร จึงยากที่จะมีผู้มาขัดขวางขั้นตอนการอัตวินิบาตกรรม เเละด้วยสื่อที่มีการรายการงานเสียชีวิต จนกระทั่งการตั้งชื่อเล่นว่าเป็นป่าแห่งการฆ่าตัวตาย ได้มีผลวิจัยว่า การรับรู้ข่าวการฆ่าตัวตายมีโอกาสชักนำให้ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายเกิดพฤติกรรมฆ่าตัวตายตามมาได้  ดังนั้นสื่อจะจึงมีส่วนอย่างมากที่ทำให้ยอดผู้เสียชีวิตจากการฆ่าตัวตายนั้นเพิ่มขึ้น จึงได้เกิดการปรับตัวของสื่อที่ไม่กล่าวถึงยอดผู้เสียชีวิตของป่าอาโอกิงาฮาระนั่นเอง

ปัญหาการฆ่าตัวตายเเละเเนวทางช่วยเหลือผู้ที่พยายามฆ่าตัวตาย

ปัจจัยในความเสี่ยงของการฆ่าตัวตายพบว่า มีหลายสาเหตุ อาทิเช่น ภาวะซึมเศร้า ภาวะเศรษฐกิจเเละความยากจน การเลียนแบบสื่อ การกดดันจากวัฒนธรรมเช่นประเทศจีนที่ให้ค่าผู้ชายมากกว่าผู้หญิงทำให้อัตราการฆ่าตัวตายของผู้หญิงมีมากกว่าผู้ชาย 

- สัญญาณของการฆ่าตัวตาย

1. รู้สึกไร้ค่า หมดหวัง หม่นหมอง

2. ดื่มจัด

3. เครียด กดดันอย่างหนัก ผ่านการผิดหวังอย่างรุนเเรง

4. มีการวางแผนการฆ่าตัวตาย

5. เจ็บป่วยด้วยโรคร้ายเเรง

6. สมาชิกในครอบครัวนั้นมีประวัติฆ่าตัวตายมาก่อน

- การช่วยเหลือผู้ป่วยที่พยายามฆ่าตัวตาย

1. รับฟังผู้ป่วยโดยสนใจกับสิ่งที่เขาพูดอย่างจริงจัง

2. เกลี่ยกล่อมให้วางอาวุธ

3. อยู่เป็นเพื่อนไม่ให้อยู่คนเดียว

4. ค่อย ๆ เข้าหา ไม่จู่โจมในทันทีทันใด

5. พาไปพบแพทย์

ขอขอบคุณภาพจาก : กรมสุขภาพจิต

 

 

อาโอกิงาฮาระ ป่าฆ่าตัวตายแห่งญี่ปุ่น