ทำไมทำน้ำส้มขายถึงต้องมีใบอนุญาต

ทำไมทำน้ำส้มขายถึงต้องมีใบอนุญาต

จากดราม่าเตือนภัยกรณี "ล่อซื้อน้ำส้ม" ของผู้ใช้เฟสบุ๊ครายหนึ่ง ที่โพสเตือนภัยเเม่ค้าหลังตนได้รับออเดอร์สั่งน้ำส้มคั้น 500 ขวด หลังทำออเดอร์เสร็จกลับมีอีกคนอ้างตัวเป็นพนักงานกรมกรมสรรพสามิต มาถามถึงใบอนุญาตในการขายน้ำส้มทำให้เเม่ค้าเสียค่าปรับไปหลักหมื่น กระเเสสังคมวิพากษ์วิจารณ์เรื่องนี้อย่างกว้างขวางพร้อมตั้งคำถามว่า "หากทำน้ำส้มขายในระดับครัวเรือนต้องมีใบขออนุญาตหรือไม่?" วันนี้ MiX MAGAZINE มีคำตอบค่ะ

กรมสรรพสามิตคืออะไร

กรมสรรพสามิตเป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงการคลัง มีหน้าที่และความรับผิดชอบในการจัดเก็บภาษี สรรพสามิต เพื่อเป็นรายได้ของรัฐและดำเนินการป้องกันและปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมายสรรพสามิต

สินค้าและบริการที่ต้องเสียภาษีสรรพสามิตมีดังต่อไปนี้

1. น้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน

2. เครื่องดื่ม

3. เครื่องไฟฟ้า 

4. แบตเตอรี่

5.แก้วเลดคริสตัล และแก้วคริสตัลอื่น ๆ

6. รถยนต์

7. รถจักรยานยนต์ 

8.เรือยอชต์ และยานพาหนะทางน้ำที่ใช้เพื่อความสำราญ

9.น้ำหอมและหัวน้ำหอม

10. พรมหรือสิ่งทอปูพื้นทำด้วยขนสัตว์

11. หินอ่อนหรือหินแกรนิต

12. สารทำลายชั้นบรรยากาศ ประเภทอนุพันธ์ชนิดฮาโลเจเนเต็ด ของไฮโดรคาร์บอน

13. สุรา

14. ยาสูบหรือยาเส้น

15. ไพ่

16.ไนต์คลับและดิสโก้เธค

17.สถานอาบน้ำหรืออบตัวและนวด

18.สนามแข่งม้า

19.รายรับจากการออกสลากกินแบ่ง

20. สนามกอล์ฟ

21. กิจการโทรคมนาคม

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีสรรพสามิต

1. ผู้ประกอบอุตสาหกรรม

2. ผู้นำเข้า

3. ผู้ประกอบกิจการสถานบริการและผู้อื่นตามที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2560 ยกเว้นผู้ที่ได้รับสิทธิผ่อนผันหรือยกเว้นจากกรมสรรพสามิต

ที่มาของการควบคุมน้ำส้ม

1. เกิดการปลอมแปลงน้ำส้มอย่างแพร่หลาย เช่น โฆษณาว่าเป็นน้ำส้ม 100% แต่เเท้จริงคือการนำน้ำส้มไปผสมส่วนผสมอื่นทำให้ผู้บริโภคไม่ไ่ด้รับสินค้าที่มีคุณภาพ

2. มาตรฐานการผลิตน้ำส้มต้องมีฉลากเพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค โดยฉลากต้องแสดงชื่อสินค้า สถานที่ผลิต ส่วนประกอบ รวมถึงมีเลข 13 หลัก ที่ได้รับอนุญาตจาก อย. 

3. ร้านค้า รถเข็น ที่คั้นน้ำส้มสดเพื่อจำหน่ายทันที ต้องขอมีการอนุญาตในการเปิดร้านจำหน่ายจากท้องที่ก่อน และการดำเนินการต้องถูกสุขลักษณะ

4. หากจำหน่ายตรงกับผู้บริโภค เช่น ทำขนมขายหน้าบ้าน ไม่จำเป็นต้องขออย. เนื่องจากผู้ค้าสามารถให้ข้อมูลสินค้ากับผู้บริโภคได้เลย เเต่หากมีฉลาก หรือต้องนำไปฝากขายที่อื่น เช่น ร้านกาแฟ จำเป็นต้องขออนุญาตก่อนผลิตเสียก่อนเนื่องจากเข่าข่าย พรบ. อาหาร 2522 ที่ระบุว่าผู้ค้าจะต้องได้รับอนุญาตสถานที่ผลิตก่อน ถึงจะได้รับอนุญาตให้ผลิตอาหารได้

5. ภาษีน้ำตาลตาม พรบ. สรรพสามิตปี 2560 โดยกรมสรรพามิตได้เริ่มจัดเก็บภาษีตามปริมาณน้ำตาล ในสินค้าเครื่องดื่ม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 เพื่อส่งเสริมให้ผู้ประกอบอุตสาหกรรมมีการปรับสูตรลดปริมาณน้ำตาลเพื่อส่งเสริมสุขภาพของประชาชน น้ำผลไม้รวมถึงน้ำส้มจึงจัดอยู่ในหมวดนี้ด้วย เเต่อย่างไรก็ตามหากเครื่องดื่มนั้นมีน้ำตาลไม่เกิน 6 กรัมต่อ 100 มิลลิลิตร นั้นได้รับยกเว้นเก็บภาษีจากกรมสรรพสามิต

จากประเด็นข้างต้น ทางกรมสรรพสามิตได้ชี้เเจงความว่า ทางกรมสรรพสามิตได้รับเเจ้งจาก ผู้ประกอบอุตสาหกรรมที่เสียภาษีอย่างถูกต้องถึงบางโรงงานที่ผลิตน้ำไม่ได้มาตรฐาน เเละผู้ใช้เฟสบุ๊คดังกล่าวนั้นผลิตเครื่องดื่มไม่ได้มาตรฐานเเละไม่ได้เสียภาษีสรรพสามิต เจ้าหน้าที่จึงได้เเนะนำให้ปฎิบัติตามระบบเพื่อความถูกต้องเเละไม่ได้มีการเรียกเก็บเงิน 12,000 บาท ตามที่เเม่ค้าได้โพสในเฟสบุ๊คเเต่อย่างใด

ขอขอบคุณข้อมูลจาก: กรมสรรพสามิต

ทำไมทำน้ำส้มขายถึงต้องมีใบอนุญาต